สบคำ


ละติจูด 20.2502900286 , ลองจิจูด 100.106122018

พิกัด

ตำบลเวียง อำเภออำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

แหล่งโบราณคดีทั้งที่ขุดค้นแล้ว และยังไม่ได้ขุดค้น โบราณวัตถุ

ความสำคัญ/ลักษณะ

บริเวณเมืองเชียงแสนและพื้นที่โดยรอบนับตั้งแต่สบรวกทางทิศเหนือ (สามเหลี่ยมทองคำ) ลงไปจนถึงสบกกทางทิศใต้ ระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร ปรากฏโบราณวัตถุสมัยก่อนประวัติศาสตร์ประเภทเครื่องมือหินแบบต่าง ๆกระจายอยู่ในพื้นที่จำนวนมาก พื้นที่หนึ่งที่สำคัญคือบริเวณแหล่งโบราณคดีสบคำ เป็นแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ บริเวณที่ลาดตีนดอยคำ ริมถนนลูกรัง ซึ่งตัดจากตัวเมืองเชียงแสนไปสู่หมู่บ้านสบรวก ห่างจากตัวเมืองเชียงแสนใต้ไปตามลำน้ำประมาณ 2.5 กิโลเมตร บริเวณลำน้ำคำ วีรพันธุ์ มาไลย์พันธุ์ อาจารย์คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร เดินสำรวจในปี พ.ศ. 2513-2514 พบหลักฐานชี้ให้เห็นว่าบริเวณนี้เคยมีมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์อาศัยอยู่เมื่อราว 15,000 – 3,000 ปีมาแล้ว ได้แก่ พบเครื่องมือหินกรวดขนาดใหญ่ (Pebble tool) และมีน้ำหนักมาก ส่วนใหญ่เป็นเครื่องมือใช้คมขูดและสับ (Choppers) บางชิ้นเป็นเครื่องมือคล้ายขวานกำปั้นแต่กะเทาะเพียงหน้าเดียว (proto-handaxes) และบางชิ้นเป็นเครื่องมือปลายแหลมสำหรับใช้ขุดอาหารหรือเป็นอาวุธด้วย (picks) เมื่อตรวจดูเนื้อหินด้วยวิธีตัดฝนจนบางใส (Thin section analysis) ทำให้ทราบว่าเป็นหินไรโอไรท์ (Rhyorite) การพบหลักฐานทางโบราณคดีตามที่ราบลุ่มแม่น้ำ สามารถสันนิษฐานได้ว่าดินแดนที่บริเวณนี้ซึ่งใกล้เคียงเมืองเชียงแสน มีมนุษย์อยู่อาศัยมาตั้งแต่สมัยสังคมล่าสัตว์จนพัฒนาเป็นสังคมที่รู้จักการทำเกษตรกรรม ตั้งถิ่นฐานถาวรอยู่ใกล้แหล่งน้ำ ซึ่งผลการวิเคราะห์รูปแบบเครื่องมือหิน สรุปว่ากลุ่มคนบริเวณริมแม่น้ำโขง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย มีการผลิตเครื่องมือหินที่เป็นเครื่องมือแบบเดียวกัน ซึ่งถึงแม้ว่าการไม่พบหลักฐานแวดล้อมอื่น ๆจะทำให้ยังไม่สามารถตีความเรื่องชุมชนหรือสังคมเจ้าของวัฒนธรรมที่ผลิตเครื่องมือหินเหล่านี้ได้ ประกอบกับปัจจุบันยังไม่พบหลักฐานแน่ชัดเกี่ยวกับโลหกรรมสมัยก่อนประวัติศาสตร์ หรือระยะสังคมเกษตรกรรมที่ใช้โลหะในพื้นที่เมืองเชียงแสน แต่ก็เชื่อกันว่าในระยะนั้นน่าจะมีคนอยู่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้ ต่อเนื่องมาจนพุทธศตวรรษที่ 18 เพียงแต่หลักฐานทางโบราณคดีอาจเกิดความเสียหายเนื่องจากภัยธรรมชาติที่มักเกิดขึ้นในบริเวณนี้คือ น้ำท่วมโดยพื้นฐานสังคมดั้งเดิมนี้เองที่เป็นพื้นฐานสำคัญทำให้มีการพัฒนาสู่ความเป็นชุมชนขนาดใหญ่และกลายเป็นเมืองเชียงแสนที่มีบทบาทสำคัญในช่วงพุทธศตวรรษที่ 19-20

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

-

แก้ไขเมื่อ

2020-12-03

ข้อมูลสถิติ
หน่วยอนุรักษ์ฯ
ภาพประจำแหล่งศิลปกรรม
- ไม่มีรูปภาพ -
แผนงานและโครงการ
- ไม่มีเอกสาร -