เมืองเก่าพิมาย


ละติจูด 15.220057 , ลองจิจูด 102.493849

พิกัด

ตำบลในเมือง อำเภออำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา รหัสไปรษณีย์ 30110

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

เมืองเก่า เมืองประวัติศาสตร์

ความสำคัญ/ลักษณะ

 

เมืองเก่าพิมายมีประวัติการตั้งชุมชนสืบเนื่องกันมายาวนานนับพันปี ปรากฏหลักฐานการตั้งถิ่นฐานการอยู่อาศัยของมนุษย์มาตั้งแต่สมัยเกษตรกรรมช่วงก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายและมีการพัฒนาชุมชนมาเป็นลำดับ จนกระทั่งช่วงพุทธศตวรรษที่ 16 เมืองพิมายได้รับการพัฒนาโดยรับวัฒนธรรมขอมเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสรรค์การวางผังเมืองและงานสถาปัตยกรรมเป็นจำนวนมากดังปรากฏในปัจจุบัน เป็นเมืองที่มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีคูเมือง กำแพงเมืองล้อมรอบ มีซุ้มประตูทางเข้า-ออกเมืองขนาดใหญ่ ก่อด้วยศิลาแลงทั้ง 4 ด้าน แต่ที่พิเศษกว่าเมืองทั่วไปคือ เมืองพิมายจะหันหน้าไปทางทิศตะวันตกเพื่อรับกับแนวถนนโบราณจากเมืองพระนครของอาณาจักรขอมโบราณ บริเวณกลางเมืองเป็นที่ตั้งปราสาทหินพิมายซึ่งเป็นพุทธสถานในศาสนาพุทธลัทธิมหายาน เป็นปราสาทหินที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย สร้างด้วยหินทรายสีขาว ตามแบบศิลปะขอมราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 และรูปแบบปรางค์ประธานยังเป็นต้นเค้าของปราสาทนครวัด ภายในเมืองเก่าพิมายมีโบราณสถานที่สำคัญ ได้แก่ ปราสาทหินพิมาย ประตูทั้ง 4 ทิศ (ประตูชัย ประตูผี ประตูทิศตะวันออก และประตูหิน) เมรุพรหมทัตซึ่งเป็นเจดีย์ขนาดใหญ่สมัยอยุธยาตอนปลาย กุฏิฤาษี บารายใหญ่และวัดโคก ท่านางสระผม ตลอดจนสระน้ำโบราณอันเก่าแก่อีกหลายแห่ง เช่น สระขวัญ สระแก้ว สระพลุ่ง สระโบสถ์ สระเพลง และสระช่องแมว

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

 1. ประกาศเขตพื้นที่เมืองเก่าพิมาย เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2553

แก้ไขเมื่อ

2022-08-08

ข้อมูลสถิติ
หน่วยอนุรักษ์ฯ
ภาพประจำแหล่งศิลปกรรม
แผนงานและโครงการ
การเสนอแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ รายละเอียด งบประมาณ เอกสาร สถานะ
รายงานผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ งบประมาณ วันที่รายงาน เอกสาร