สถานีรถไฟหัวหินและพลับพลาที่ประทับ


ละติจูด 12.5669662222 , ลองจิจูด 99.956415804

พิกัด

ตำบลหัวหิน อำเภออำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ รหัสไปรษณีย์ 46170

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

พิพิธภัณฑ์ สถาปัตยกรรม พระราชวัง

ความสำคัญ/ลักษณะ

สถานีรถไฟหัวหิน ตั้งอยู่ที่อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2454 โดยรัชกาลที่ 6 ได้เสด็จพระราชดำเนินมาในพิธีเปิดการเดินรถระหว่างสถานีรถไฟชะอำถึงสถานีรถไฟหัวหินในวันที่ 25 พ.ย. 2454 หลังจากนั้น สถานีรถไฟหัวหินกลายเป็นสถานีสำคัญสำหรับการท่องเที่ยวชายทะเลเรื่อยมาจนถึงทุกวันนี้ สำหรับอาคารสถานีรถไฟหัวหินหลังแรกนั้นเป็นอาคารไม้ขนาดเล็ก ต่อมาในปี พ.ศ. 2469 กรมรถไฟได้สร้างอาคารสถานีรถไฟหลังปัจจุบันโดยใช้ศาลาที่สร้างขึ้นในคราวเตรียมการจัดงานฉลองสยามรัฐพิพิธภัณฑ์ที่สวนลุมพินีในปี พ.ศ. 2468 แต่ยังไม่ได้ทันใช้งานก็สิ้นรัชกาลที่ 6 เสียก่อน ดังนั้นในปี พ.ศ. 2469 ศาลาหลังนี้จึงถูกถอดลงแล้วนำไปประกอบใหม่เป็นอาคารสถานีรถไฟหัวหิน ปัจจุบัน สถานีรถไฟหัวหินเป็นสถานีชั้น 1 ภายในย่านสถานีรถไฟหัวหินมีอาคารและสิ่งปลูกสร้างที่มีคุณค่าทางสถาปัตยกรรม และประวัติศาสตร์หลายหลัง ได้แก่ อาคารสถานีรถไฟ พลับพลาพระมงกุฎเกล้า หอสัญญาณประแจกล อาคารที่ทำการต่าง ๆ และบ้านพักพนักงานการรถไฟ นอกจากนี้ บริเวณด้านหน้าสถานีรถไฟมีห้องสมุดการรถไฟฯ หัวหินตั้งอยู่ โดยห้องสมุดนี้สร้างขึ้นด้วยการดัดแปลงตู้รถไฟเก่า 2 ตู้ มาเชื่อมต่อกันด้วยอาคารทางเข้าชั้นเดียวยกพื้นสูง และบริเวณด้านหลังสถานีรถไฟติดกับสนามกอล์ฟมีหัวรถจักรไอน้ำมิกาโด หมายเลข 305 ตั้งแสดงอยู่ อาคารสถานีรถไฟหัวหินเป็นอาคารไม้ชั้นเดียว ลักษณะทางสถาปัตยกรรมเป็นการผสมผสานระหว่างรูปแบบอาคารไม้แบบบังกะโลและศิลปะตะวันตก ผังพื้นสถานีเป็นรูปตัวอี (E) วางขนานไปกับทางรถไฟ ผังอาคารแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนสถานี และส่วนชานชาลา แต่ละส่วนมีหลังคาคลุมของตนเอง โดยส่วนสถานีแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนด้านหน้าติดกับถนนทางเข้า ตรงกลางของส่วนนี้เป็นห้องรับรอง มุขปลายทั้ง 2 ด้านเป็นโถงโล่งเชื่อมต่อกันด้วยทางเดินยาวตลอดแนวอาคาร ส่วนด้านหลังติดกับส่วนชานชาลาเป็นเป็นห้องต่าง ๆ เรียงต่อกันโดยห้องซ้ายสุดเป็นห้องขายตั๋ว ถัดมาเป็นโถงพักคอย ห้องทำ งานนายสถานีห้องปฏิบัติการเดินรถ ห้องรับส่งสินค้า และห้องขวาสุดเป็นห้องประชุม ระหว่างห้องรับรอง ห้องทำงานนายสถานี ห้องปฏิบัติการเดินรถ และโถงโล่งปลายอาคารทั้ง 2 ด้าน มีห้องโถงแจกขนาดเล็กทำหน้าที่เชื่อมต่อห้องต่าง ๆ เหล่านี้เข้าด้วยกันหลังคาส่วนสถานีเป็นหลังคาปั้นหยา ด้านหน้าอาคารมีมุขยื่น 3 มุข หลังคาลดชั้นมีจั่วขนาดเล็กด้านบน หน้าบันใต้จั่วมีลายฉลุตกแต่งสวยงาม ส่วนชานชาลาเป็นโครงสร้างไม้เซาะร่อง หลังคาจั่วหัวตัดบริเวณตรงกลาง และด้านข้างทั้งสองด้านหน้าบันใต้จั่วมีลายฉลุตกแต่ง หลังคาอาคารทั้งหมดมุงด้วยกระเบื้องซีเมนต์รูปว่าว

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

-

แก้ไขเมื่อ

2020-12-17

ข้อมูลสถิติ
หน่วยอนุรักษ์ฯ
ภาพประจำแหล่งศิลปกรรม
แผนงานและโครงการ
การเสนอแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ รายละเอียด งบประมาณ เอกสาร สถานะ
รายงานผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ งบประมาณ วันที่รายงาน เอกสาร