เมืองเก่าเชียงใหม่


ละติจูด 18.785758 , ลองจิจูด 98.988234

พิกัด

ตำบลพระสิงห์ อำเภออำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ รหัสไปรษณีย์ 50200

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

เมืองเก่า เมืองประวัติศาสตร์

ความสำคัญ/ลักษณะ

เมืองเชียงใหม่เป็นเมืองเก่าสมัยประวัติศาสตร์เดิมชื่อว่านพบุรีศรีนครพิงค์ ความรุ่งเรืองของเชียงใหม่โดยราชวงศ์มังรายสิ้นสุดลงในปี พ.ศ.2101 จากนั้นพม่าได้ยึดครองเป็นเวลากว่า 200 ปี จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ เชียงใหม่จึงเข้ามารวมกับกรุงรัตนโกสินทร์ การสร้างกำแพงและคูเมืองเชียงใหม่นั้นไม่มีหลักฐานแน่นอนว่าสร้างขึ้นในสมัยใด แต่จากเอกสารตำนานและพงศาวดารสันนิษฐานว่าน่าจะสร้างขึ้นในสมัยของพระเจ้ามังราย เมื่อครั้งทรงสร้างเมืองเชียงใหม่ในปี พ.ศ.1839 กำแพงเมืองชั้นในมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้างประมาณ 1.6 กิโลเมตร ยาวประมาณ 1.7 กิโลเมตร กำแพงเมืองประกอบด้วยกำแพงดิน 3 ชั้น และมีประตูเมือง 5 ประตู นอกจากนี้ยังมีกำแพงเมืองชั้นนอกหรือที่ปัจจุบันเรียกว่ากำแพงดินมีลักษณะค่อนข้างเป็นรูปครึ่งวงกลม เริ่มจากมุมกำแพงเมืองชั้นในด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ หรือบริเวณแจ่งศรีภูมิในปัจจุบันโค้งโอบรอบกำแพงเมืองด้านในทางทิศตะวันออก มาจนถึงแนวกำแพงเมืองด้านทิศใต้ จากนั้นจึงหักมุมเป็นเส้นตรงไปบรรจบกับมุมทิศตะวันตกเฉียงใต้ของกำแพงเมืองชั้นใน บริเวณกำแพงดินทางมุมทิศตะวันตกเฉียงใต้ พบหลักฐานเป็นอิฐก่ออยู่ใต้เนินกำแพงดิน สันนิษฐานว่า กำแพงเมืองชั้นนอกบางส่วนน่าจะก่อด้วยอิฐเช่นเดียวกับกำแพงเมืองชั้นในแต่มีขนาดเล็กกว่า ปัจจุบันสภาพกำแพงไม่สมบูรณ์ จะเหลืออยู่เพียงบางส่วนเท่านั้น ส่วนกำแพงเมืองชั้นในมีประตูเมืองมี 5 ประตู ส่วนกำแพงเมืองชั้นนอก (กำแพงดิน) มีประตูเมือง 5 ประตู พื้นที่ภายในแนวกำแพงเมืองที่มีกำแพงและคูเมืองล้อมรอบผังเมืองเกือบเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาด 1,550x1,600 เมตร แนวกำแพงเมืองมีฐานเป็นเนินดิน ส่วนตัวกำแพงก่ออิฐส่วนที่เหลือหลักฐานได้แก่บริเวณประตูเมืองและป้อมมุมกำแพง (แจ่ง) นอกจากนี้ภายในกำแพงเมืองและคูเมืองเมืองเก่าเชียงใหม่ มีวัดและโบราณสถานที่ สำคัญหลายแห่ง ได้แก่ วัดเจดีย์หลวง วัดพระสิงห์ วัดกู่เต้า อนุสาวรีย์ช้างเผือก อนุสาวรีย์สิงห์ เป็นต้น มี โบราณสถานทั้งที่ขึ้นทะเบียนโบราณสถานและไม่ได้ขึ้นทะเบียนโบราณสถานอยู่จำนวนมาก ส่วนใหญ่เป็น วัด วัดร้าง เจดีย์ ศาสนถาน ได้แก่ วัดพระสิงห์ วัดเจดีย์หลวง วัดศรีเกิด วัดพันเตา วัดปราสาท วัดหมื่นเงิน กอง วัดเชียงมั่น วัดอุโมงค์ วัดดวงดี วัดมณเฑียร วัดหัวข่วง วัดควรค่าม้า วัดล่ามช้าง วัดชัยศรีภูมิ วัดดอก คำ วัดสำเภา วัดพันอ้น วัดผ้าขาว วัดหมื่นตูม วัดทรายมูลเมือง วัดชมพู วัดแสนฝาง วัดพันตอง วัดลอย เคราะห์ วัดช่างฆ้อง วัดพวกช้าง วัดเมืองมาง วัดพวกหงส์ วัดพันแหวน วัดพวกแต้ม วัดฟ่อนสร้อย วัดพวก เปีย วัดศรีสุพรรณ วัดดาวดึงษ์ วัดนันทาราม วัดหัวฝาย วัดธาตุคำ วัดเชียงยืน วัดป่าเป้า วัดชัยพระเกียรติ วัดพญาเม็งราย อนุสาวรีย์ ได้แก่ อนุสาวรีย์ช้างเผือก อนุสาวรีย์สิงห์ หรือคุ้มสิงห์ หรือข่วงสิงห์ สถาปัตยกรรมของล้านนามีวิวัฒนาการที่เกิดจากการผสมผสานของช่างศิลปะสกุล ต่าง ๆ เช่น ละว้า มอญ (ทวารวดี) เชียงแสน สุโขทัย พม่า รัตนโกสินทร์ และศิลปะจากยุโรปเกิดเป็นรูปแบบ เฉพาะของงานสถาปัตยกรรมในแต่ละยุค ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ประเพณี ในยุค นั้น ๆ ได้อย่างชัดเจน

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

1. ประกาศเขตพื้นที่เมืองเก่าเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2553

แก้ไขเมื่อ

2018-11-08

ข้อมูลสถิติ
หน่วยอนุรักษ์ฯ
ภาพประจำแหล่งศิลปกรรม
แผนงานและโครงการ
การเสนอแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ รายละเอียด งบประมาณ เอกสาร สถานะ
รายงานผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ งบประมาณ วันที่รายงาน เอกสาร