อุโบสถเก่า วัดดง


ละติจูด 14.2064456 , ลองจิจูด 101.2247529

พิกัด

เลขที่ ข4-395 ตำบลบ้านใหญ่ อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก 26000 ตำบลนครนายก อำเภออำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก รหัสไปรษณีย์ 26000

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

วัด วัดร้าง ศาสนสถาน

ความสำคัญ/ลักษณะ

อุโบสถหลังเก่า ตั้งอยู่ภายในวัดดง เลขที่ ข4-395 ตำบลบ้านใหญ่ อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย หันหน้าไปทางทิศตะวันออก เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน มีความกว้างประมาณ 8.4 เมตร ยาวประมาณ 14 เมตร ฐานด้านนอกเป็นฐานบัวลูกแก้วอกไก่ โครงสร้างหลังคาเครื่องมุงกระเบื้อง หลังคาซ้อนกัน 2 ชั้น ไม่มีช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ ตรงกลางสันหลังคามีลายปูนปั้นประดับอุโบสถ มีประตูทางเข้าด้านหน้า 1 ประตู พร้อมบันไดทางขึ้น มีความกว้างมากกว่าประตูอุโบสถทั่วไป ด้านข้างของประตู ในระดับกรอบประตูด้านบน เจาะผนังเป็นช่องโค้งแหลม 2 ช่อง มีหน้าต่างด้านข้างด้านละ 3 บาน และประตูด้านข้างด้านละ 1 ประตู พร้อมบันไดทางขึ้น ประตูหน้าต่างทั้งหมดไม่พบการประดับซุ้มประตูหน้าต่าง ที่เสาบันไดทางขึ้นทั้งสองข้างมีลายพุ่มข้าวบิณฑ์ปูนปั้น หน้าบันอุโบสถทั้งด้านหน้าและด้านหลังทำด้วยไม้ แกะสลัดลวดลาย ส่วนลายเป็นลายตาราง ส่วนบนเป็นลายก้านขดกระหนกเปลว และลายพุ่มข้าวบิณฑ์ และมีการประดับกระจกสีที่ตัวลาย ตรงกลางของหน้าบันเป็นกรอบสามเหลี่ยมโค้งหยัก ปลายแหลม

          พระประธานในอุโบสถ (วิหารสามพี่น้อง) พระประธานองค์ที่ 1 มีนามว่า พระพุทธนิมิตสัมฤทธิ์โชค องค์พระพุทธรูปประทับในอิริยาบถนั่งขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย ลงรักปิดทอง ที่พระโอษฐ์ทาสีชาด ขนาดหน้าตักกว้าง 1.59 เมตร สูง 2.19 เมตร จัดอยู่ในกลุ่มพระพุทธรูปศิลปะลาว สกุลช่างเวียงจันทร์ ที่สร้างขึ้นระหว่างปลายพุทธศตวรรษที่ 22 ถึง พุทธศตวรรษที่ 23

พระประธานองค์รอง องค์ที่ 2 พุทธลักษณะประทับในอิริยาบถนั่งขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย ลงรักปิดทอง พระโอษฐ์

ทาสีชาด ขนาดหน้าตักกว้าง 1.29 เมตร สูง 1.49 อยู่ในศิลปะลาว สร้างประมาณ พ.ศ.2369 

พระประธานองค์รอง องค์ที่ 3 พุทธลักษณะประทับในอิริยาบถนั่งขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย ปูนปั้น ขนาดหนังตักกว้าง 29 นิ้ว จากคำบอกเล่า พระประธานองค์นี้ เมื่อประมาณ พ.ศ.2304 ขณะทำการถางป่าอยู่นั้นปรากฏว่าได้พบเศียรพระพุทธรูป (หักอยู่แค่คอ) จึงได้นำเศียรพระพุทธรูปมาไว้ที่วัด จากนั้นชาวบ้านจึงได้ทำการสร้างองค์พระถวาย

          ซุ้มเสมา ซุ้มเสมาก่ออิฐถือปูน จำนวน 8 ซุ้ม ซุ้มเสมาตรงกลางด้านหน้าอุโบสถ (เสมาเอก) สร้างติดกับบันไดทางขึ้นด้านหน้า และซุ้มเสมาตรงกลางด้านหลังสร้างติดกับฐานอุโบสถ ซุ้มเสมาทำเป็นมณฑปยอดปรางค์ กรอบซุ้มย่อมุมแข้งสิงห์เหนือฐานหน้ากระดาน 2 ชั้น ไม่พบใบเสมาในซุ้ม

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

-

แก้ไขเมื่อ

2020-10-08

ข้อมูลสถิติ
หน่วยอนุรักษ์ฯ
ภาพประจำแหล่งศิลปกรรม
แผนงานและโครงการ
การเสนอแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ รายละเอียด งบประมาณ เอกสาร สถานะ
รายงานผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ งบประมาณ วันที่รายงาน เอกสาร