แหล่งโบราณคดีเวียงท่าวังทอง


ละติจูด 19.168849 , ลองจิจูด 99.915143

พิกัด

ตำบลท่าวังทอง อำเภออำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา รหัสไปรษณีย์ 56000

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

แหล่งโบราณคดีทั้งที่ขุดค้นแล้ว และยังไม่ได้ขุดค้น โบราณวัตถุ

ความสำคัญ/ลักษณะ

เวียงท่าวังทองหรือเวียงประตูชัย เริ่มมีการอยู่อาศัยในพุทธศตวรรษที่ ๒๐ และเจริญรุ่งเรืองในพุทธศตวรรษที่ ๒๑ พบหลักฐานสำคัญที่แสดงว่าเวียงนี้น่าจะเป็นตัวเมืองหรือเป็นศูนย์กลางการปกครองของเมืองพะเยาคือมีแนวคันดินเป็นเส้นทางคมนาคมหลายสายตัดออกไปติดต่อกับเวียงอื่น ๆ หลายแห่งตามพันนาต่างๆ จึงสันนิษฐานว่าท่าวังทองและเวียงพะเยาเป็นชุมชนเดียวกัน เวียงท่าวังทองมีรูปร่างคล้ายผลน้ำเต้า วางตัวในแนวตะวันออก-ตะวันตก โดยส่วนหัวขั้วของผลน้ำเต้าจะอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ กว้างประมาณ ๕๐๐ เมตร จากนั้นแนวคูเมืองจะผายออกไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ และตะวันตกเฉียงใต้เป็นส่วนลำตัวของผลน้ำเต้า มีความกว้างประมาณ ๑,๐๐๐ เมตร ส่วนความยาวที่สุดจากขั้วน้ำเต้าทางตะวันออกเฉียงเหนือ ถึงแนวคูเวียงด้านตะวันตกประมาณ ๑,๕๐๐ เมตร ลักษณะคูน้ำมีเพียงชั้นเดียว มีคันดินเตี้ย ๆ ขนาบอยู่ทั้ง ๒ ฝั่งคูน้ำ แต่ละส่วนมีความกว้างและลึกไม่เท่ากัน ทางด้านเหนือกว้างประมาณ ๒๑ เมตร ทางด้านตะวันออกกว้างประมาณ๑๖ เมตร ส่วนที่ผ่านที่ลุ่มคูจะไม่ลึกมาก เฉลี่ยประมาณ ๕ เมตร ส่วนที่ตัดผ่านที่เนินสูง คูจะลึกกว่าปกติ คันดินมีขนาดเล็กมาก สภาพของคูน้ำคันดินของเวียงปัจจุบันเหลือเฉพาะด้านเหนือและตะวันออกบางส่วนเท่านั้น ส่วนทางใต้และตะวันตกถูกไถทำลาย เพื่อสร้างถนนและบ้านเรือน วัดที่ยังคงสภาพอยู่ในปัจจุบันคือวัดสิบสองห้องหรือวัดศรีจอมเรืองและวัดลี ซึ่งมีเจดีย์แบบล้านนาอยู่ ๑ องค์ ได้ซ่อมแซมบูรณะในสมัยหลังจนดูผิดส่วนไป แต่จากร่องรอยลายปูนปั้นในบริเวณส่วนฐานบัว สามารถกำหนดอายุได้ว่าอยู่ในประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๑ โบราณวัตถุจำนวนมากที่พบในเวียงนี้ ได้รวบรวมไว้ที่วัดลี ส่วนใหญ่เป็นประติมากรรมหินทราย ได้แก่ พระพุทธรูป สถูปจำลอง รูปสัตว์ ฐานส้วม ครกหิน มีหลักฐานสำคัญคือศิลาจารึก ๔ หลัก ที่พบในเขตเวียงนี้ ได้แก่ จารึกวัดลี (พ.ศ. ๒๐๓๘) จารึกวัดพระเกิด (พ.ศ.๒๐๕๖) นอกจากนี้ หลักฐานจากการขุดค้นทางโบราณคดีภายในเวียงนี้พบว่ามีชั้นดินอยู่อาศัยต่อ เนื่องกันมาเพียงชั้นเดียว โดยพบหลักฐานเศษภาชนะดินเผา คล้ายคลึงกับที่ทำการสำรวจบนผิวดิน และได้พบเศษเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์หมิงและชิงตอนต้น

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

-

แก้ไขเมื่อ

2019-01-16

ข้อมูลสถิติ
หน่วยอนุรักษ์ฯ
ภาพประจำแหล่งศิลปกรรม
แผนงานและโครงการ
การเสนอแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ รายละเอียด งบประมาณ เอกสาร สถานะ
รายงานผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ งบประมาณ วันที่รายงาน เอกสาร