กำแพงเมือง-คูเมืองเก่าแพร่


ละติจูด 18.1362523826 , ลองจิจูด 100.139114713

พิกัด

ตำบลในเวียง อำเภออำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

อนุสาวรีย์ อนุสรณ์สถาน สถาน หลักเมือง

ความสำคัญ/ลักษณะ

กำแพงเมือง – คูเมือง ของเมืองเก่าแพร่ได้รับการสร้างตามแบบทวารวดีคล้ายกับที่เมืองลำพูนก่อนการสถาปนาอาณาจักรล้านนา เป็นกำแพงที่สร้างขึ้นเพื่อป้องกันข้าศึกและยังป้องกันน้ำจากแม่น้ำไหลท่วมเข้าตัวเมือง กำแพงเมืองเป็นกำแพงชั้นเดียวสูงประมาณ 7 เมตร กว้าง15 เมตร ตัวกำแพงเป็นดิน ได้รับน้ำจากต้นน้ำแม่สายและห้วยน้ำแคม ที่ไหลลงสู่แอ่งที่ราบเมืองแพร่ก่อนรวมกับแม่น้ำยม ในอดีตมีการจัดการระบบน้ำมาใช้ในเมืองด้วยการทำเหมืองฝาย และบึงหนอง ได้แก่ บึงเหนือและบึงใต้ ในปัจจุบันเมืองเก่าแพร่ยังคงหลงเหลือแนวของกำแพงเมือง – คูเมือง อยู่อย่างชัดเจน แม้ว่าแนวคูเมืองด้านใต้จะสูญหายกลายเป็นโรงเรียนป่าไม้ไปแล้ว กำแพงเมือง – คูเมือง ของเมืองเก่าแพร่ได้ถูกรุกล้ำทำลายลงเรื่อย ๆ จากสิ่งปลูกสร้างและถนนที่เกิดมากขึ้นโดยทั้งภาครัฐและภาคเอกชน โดยส่วนที่ถูกบุกรุกมากที่สุดคือในบริเวณตั้งแต่ประตูมารด้านตะวันตกติดต่อกับบ้านเชตวัน บ้านพระนอน บ้านศรีชุม บ้านหัวข่วง รวมถึงบริเวณหน้าตลาดสดเทศบาลเมืองแพร่จนถึงหน้าศาลเจ้าพ่อขวัญเมือง ส่วนบึงและเหมืองฝายตื้นเขินและถูกบุกรุกด้วยถนนและ สิ่งปลูกสร้าง ป้อม ประตูเมืองมีหลักฐานปรากฏประตูเมือง 4 ประตู ในแต่ละทิศของกำแพงเมือง โดยประตูเมืองทั้งสี่สัมพันธ์กับทิศอันเป็นมงคลของเมือง คือ ประตูชัย อยู่ทางทิศตะวันออกของเมืองซึ่งถือเป็นทิศมงคล สำหรับการออกไปรบและกลับจากการรบ เป็นที่ต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง และเป็นประตูที่เชื่อมต่อกับถนนโบราณซึ่งตัดตรงไปสู่พระธาตุช่อแฮ ประตูศรีชุม อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดกับวัดศรีชุมซึ่งเป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งในเขตกำแพงเมืองแพร่ ประตูนี้เป็นทางออกไปสู่ท่าน้ำในแม่น้ำยม ท่าน้ำในบริเวณนี้จึงมีชื่อว่า “ท่าน้ำศรีชุม” ประตูยั้งม้าหรือประตูเลี้ยงม้า อยู่ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองแถบวัดหัวข่วง ประตูมาร หรือประตูผี ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเมือง ในอดีตเป็นประตูทางผ่านในการนำศพออกไปเผาหรือฝัง (โดยไม่ให้ผ่านหน้าคุ้มเจ้าหลวงหรือจวนผู้ว่าราชการจังหวัด) ทั้งศพเจ้านายและ สามัญชนก็จะเผาที่ประตูมารเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ประตูมารยังใช้เป็นที่ประหารผู้กระทำผิด บริเวณนี้ มีพระพุทธรูปชื่อ “หลวงพ่อพระวิชิตมาร” ซึ่งนักโทษประหารมักจะมากราบไหว้ สำหรับประตูใหม่ซึ่งอยู่ใกล้กับประตูยั้งม้า ไม่นับว่าเป็นประตูเมือง เนื่องจากเพิ่งถูกสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2482 เมื่อมีการขยายเศรษฐกิจของเมืองแพร่ออกไปด้านนอก เพื่อเป็นเส้นทางเชื่อมระหว่างตัวเมืองแพร่กับถนนยันตรกิจโกศล

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

กำแพงเมืองถูกราษฎรบุกรุกเข้าไปตั้งบ้านเรือนหลายจุดเนื่องจาก1.ขอบข่ายของผังเมืองในลัดตกับปัจจุบันอยู่ที่เดียวกัน2.จำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้นการขาดแคลนที่อยู่อาศัย

แก้ไขเมื่อ

2020-12-03

ข้อมูลสถิติ
หน่วยอนุรักษ์ฯ
ภาพประจำแหล่งศิลปกรรม
- ไม่มีรูปภาพ -
แผนงานและโครงการ
- ไม่มีเอกสาร -