วัดช่องลม


ละติจูด 13.5427340027 , ลองจิจูด 99.8164449958

พิกัด

ตำบลหน้าเมือง อำเภออำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

วัด วัดร้าง ศาสนสถาน

ความสำคัญ/ลักษณะ

วัดช่องลม เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ตั้งอยู่ที่ถนนวรเดช ในเขตเทศบาลเมืองราชบุรี เป็นวัดเก่าแก่แต่ไม่มีประวัติว่าสร้างขึ้นในสมัยใด เดิมชื่อ วัดช้างล้ม ตั้งอยู่ใจกลางเมืองราชบุรี ในวิหารของวัดเป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อแก่นจันทร์ องค์พระพุทธรูปสร้างด้วยไม้แก่นจันทร์ ปางอุ้มบาตร ศิลปะรัตนโกสินทร์ตอนต้น สูงประมาณ 2.26 เมตร ตามประวัติกล่าวว่าไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อใดและใครเป็นผู้สร้าง มีเรื่องเล่าต่อ ๆ กันมาว่าผู้สร้างได้เดินทางไปในป่ากาญจนบุรีไปเจอเสือจึงหนีเสือขึ้นต้นจัน และบนบานกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ว่าหากรอดชีวิตจากเสือได้ จะสร้างพระพุทธรูปด้วยไม้แก่นจันทร์เป็นพุทธบูชา เมื่อรอดพ้นอันตรายจากเสือแล้วจึงได้สร้างพระพุทธรูป คือ หลวงพ่อแก่นจันทร์ แล้วนำไปประดิษฐานไว้ที่บ้านแก่งหลวง จังหวัดกาญจนบุรี ตามที่บนบานไว้ ต่อมาเกิดอุทกภัยที่บ้านแก่งหลวง น้ำได้พัดพาพระพุทธรูปแก่นจันทร์ลอยมาตามลำน้ำแม่กลองจนถึงหน้าวัดช่องลมหน้าเมืองราชบุรี จึงมีผู้อัญเชิญขึ้นประดิษฐานไว้ที่วัดช่องลมจนถึงปัจจุบัน หลวงพ่อแก่นจันทร์นี้เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวเมืองราชบุรีเคารพนับถือมาก ถือเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองราชบุรี ในสมัยรัชกาลที่ 5 สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ได้เป็นประธานในการจัดงานประจำปีของวัดช่องลม ซึ่งจัดในวันเพ็ญกลางเดือน 12 ของทุกปี โดยมีพิธีแห่พระพุทธรูปแก่นจันทร์ทางน้ำจากวัดช่องลมล่องลงไปตามแม่น้ำแม่กลองจนถึงวัดคุ้งกระถิน แล้วกลับขึ้นมาทางเหนือน้ำถึงบ้านโคกหม้อ เมื่อหมดสมัยสมเด็จพระบรมมหาศรีสุริยวงศ์ พิธีดังกล่าวก็ซบเซาลงไป ต่อมาในราวปี พ.ศ. 2500 นายวิชัย มณีรัตน์ อดีตนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองราชบุรีได้จัดงานทำบุญกลางเมืองขึ้นในวันสงกรานต์เป็นงานประจำปี จึงมีการฟื้นฟูงานแห่พระพุทธรูปแก่นจันทร์ที่เคยทำมาในอดีต โดยเป็นการแห่ทางบกแทน แห่จากวัดช่องลมไปยังกรมการทหารช่างราชบุรี เพื่อให้ประชาชนได้สรงน้ำปิดทอง ซึ่งตรงกับงานนมัสการศาลเจ้าพ่อหลักเมืองประจำปีด้วย หลักฐานของสถาปัตยกรรมสิ่งก่อสร้างส่วนใหญ่ภายในวัดได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ใหม่เกือบทั้งหมด

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

1.ขาดงบประมาณในการซ่อมแซมหอไตร2.ไม่มีข้อมูลรายละเอียดของวัด3.ขาดความเป็นระเบียบ4.รอบๆโบสถ์ เจดีย์ วิหาร ขาดการดูแล5.วัดและชาวบ้าน ไม่เห็นคุณค่าของโบราณสถาน

แก้ไขเมื่อ

2020-12-03

ข้อมูลสถิติ
หน่วยอนุรักษ์ฯ
ภาพประจำแหล่งศิลปกรรม
- ไม่มีรูปภาพ -
แผนงานและโครงการ
- ไม่มีเอกสาร -