ภาพเขียนสีถ้ำลายมือ 1 (บ้านดอนกอก)


ละติจูด 16.58943355 , ลองจิจูด 102.5771533

พิกัด

ทางทิศตะวันออกของบ้านดอนกอกประมาณ 1.5 กม. ตำบลบ้านผือ อำเภออำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น รหัสไปรษณีย์ 40240

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

แหล่งโบราณคดีทั้งที่ขุดค้นแล้ว และยังไม่ได้ขุดค้น โบราณวัตถุ

ความสำคัญ/ลักษณะ

ถ้ำลายมือ มีลักษณะเป็นเพิงผาหินทรายบนเทือกเขาภูพานคำ หันหน้าไปทางทิศตะวันตก วางตัวยาวตามแนวทิศเหนือ-ใต้ อยู่สูงจากเชิงเขาประมาณ 70 เมตร ส่วนบนของเพิงหินชะโงกยื่นออกไป ภายเขียนสียุคก่อนประวัติศาสตร์ อายุประมาณ 3,000-4,000 ปี ปรากฏอยู่ส่วนล่างและกลางของเพิงผา สูงจากพื้นดินตั้งแต่ 60 เซนติเมตร ถึง 2 เมตร ภายในพื้นที่ขนาดประมาณ 14 ตารางเมตร ด้านทิศใต้หน้าเพิงผาประดิษฐานพระพุทธรูป 1 องค์ ปัจจุบันอยู่ในความดูแลของอุทยานแห่งชาติน้ำพอง จากฐานข้อมูลแหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย พบข้อมูลเพิ่มเติมว่า ภาพเขียนสีถ้ำลายมือ 1 บริเวณที่พบอยู่บนเทือกเขาภูพานคำที่เป็นขอบอ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ สูงจากพื้นราบประมาณ 50 เมตร ห่างจากหมู่บ้านดอนกอกไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 1.5 กม. บริเวณถ้ำลายมือ 1 เป็นหน้าผาหินทรายยาวประมาณ 8 เมตร สูงประมาณ 7 เมตร หันหน้าไปทางทิศตะวันตก ภาพเขียนตามแนวยาวของหน้าผาประมาณ 7 เมตร ภาพเขียนกระจายเต็มผนัง ส่วนมากเป็นภาพลายเส้นรูปร่างต่าง ๆ และภาพระบายสีทึบด้วยสีแดงคล้ำ ขนาดเส้นหนาประมาณ 1 ซม. มีรูปแบบต่าง ๆ กัน มีทั้งเป็นลายเส้นคู่ขนาน เส้นคด รูปสามเหลี่ยมมีเส้นขนานอยู่ภายในรูปตัววี (V) รูปตัววาย (Y) ลายซิกแซก วงกลม สี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม ลายหยักฟันเลื่อย หัวลูกศร นอกจากนี้มีภาพมือ 3 มือ เป็นมือข้างซ้าย 2 มือ ไม่ทราบชนิด 1 ภาพ ทำโดยวิธีทาบมือทาสีบนผนัง (positive - imprint ) 2 มือ และแบบพ่นสีบนหลังมือที่ทาบบนผนัง (negative - stencil) 1 มือ มือแบบพ่นนี้อยู่กึ่งกลางภาพลายเส้นทั้งหมด (ที่มา : http://www.era.su.ac.th/) ลักษณะของแหล่งภาพเขียนสีเป็นหน้าผา หันหน้าไปทางทิศตะวันตก วางตัวยาวตามแนวทิศเหนือ-ใต้ อยู่สูงจากเชิงเขาประมาณ 50 เมตร ส่วนบนของเพิงหินชะโงกยื่นออกไป ภายเขียนสียุคก่อนประวัติศาสตร์ปรากฏอยู่ส่วนล่างและกลางของเพิงผา สูงจากพื้นดินตั้งแต่ 60 เซนติเมตร ถึง 2 เมตร ภายในพื้นที่ขนาดประมาณ 14 ตารางเมตร ผิวดินบริเวณเพิงผามีการปรับพื้นเพื่อความสะดวกสบายในการเดินชม โดยบางส่วนมีการเทเป็นพื้นปูนซีเมนต์ราบเรียบ ด้านทิศใต้หน้าเพิงผาประดิษฐานพระพุทธรูปสมัยปัจจุบันอยู่ 1 องค์ ลักษณะของภาพเขียนสีเป็นภาพเขียนสีแดง มีภาพมือคนแบบพ่น 1 ภาพ (มือซ้าย) (negative - stencil) และแบบทาบ 2 ภาพ (เป็นมือซ้าย 1 ภาพ ส่วนอีก 1 ภาพไม่สามารถระบุได้) (positive imprint) รวมถึงภาพสัญลักษณ์ต่าง ๆ ได้แก่ ภาพเขียนเป็นลายเส้นต่าง ๆ และภาพลวดลายที่ระบายสีทึบ มีลายเส้นคู่ขนาน ลายเส้นคด ลายรูปสามเหลี่ยม ลายเส้นขนานตามแนวขวางภายในมีลายรูปตัวสี (V) ตัววาย (Y) ลายซิกแซ็ก วงกลม สี่เหลี่ยม สามเหลี่ยมทึบ ลายหยักฟันปลา หัวลูกศร รูปคล้ายผีเสื้อ ลายเส้นคู่ขนานผสมกับรูปสามเหลี่ยมและรูปไข่ ลายเส้นรูปครึ่งวงกลมมีรูปสามเหลี่ยมบรรจุอยู่ภายในหลายรูป และลายเส้นรูปสี่เหลี่ยมเปิดฐานบรรจุลายเส้นคู่ขนานในแนวตั้งและแนวเฉียง โดยใช้ลายเส้นรูปต่าง ๆ มาผสมกันเพื่อสร้างภาพขึ้นใหม่ สันนิษฐานว่าด้วยเหตุที่สภาพของแหล่งภาพเขียนเป็นหน้าผาแคบ ไม่มิดชิดพอที่จะป้องกันอันตรายได้ ดังนั้นจึงไม่เหมาะสำหรับการอยู่อาศัยถาวร ดังนั้น ผู้เขียนภาพจึงน่าจะเป็นกลุ่มชนที่อาศัยอยู่บนพื้นที่ราบ เป็นชุมชนในสังคมกสิกรรม อายุประมาณ 4,000-3,000 ปีมาแล้ว (ที่มา : https://sac.or.th/)

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

ปัจจุบันภาพเขียนสีถ้ำลายมือ 1 (บ้านดอนกอก) อยู่ในความดูแลของอุทยานแห่งชาติน้ำพอง 

แก้ไขเมื่อ

2021-09-01

ข้อมูลสถิติ
หน่วยอนุรักษ์ฯ
ภาพประจำแหล่งศิลปกรรม
แผนงานและโครงการ
การเสนอแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ รายละเอียด งบประมาณ เอกสาร สถานะ
รายงานผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ งบประมาณ วันที่รายงาน เอกสาร