วัดหน้าพระธาตุ


ละติจูด 14.7228139592 , ลองจิจูด 101.985274018

พิกัด

ตำบลตะคุ อำเภออำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา รหัสไปรษณีย์ 30150

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

วัด วัดร้าง ศาสนสถาน

ความสำคัญ/ลักษณะ

วัดหน้าพระธาตุ ตำบลตะคุ อำเภอปักธงชัย ในเรื่องราวเหล่านี้ยังมีสภาพที่แสดงถึงการดำรงชีวิตประจำวันของชาวบ้านในสมัยนั้นแทรกอยู่ด้วย เช่น การทำนา การหาปลา และยังปรากฏภาพการจองจำนักโทษอยู่ด้วย บนผนังทางทิศตะวันตกซึ่งอยู่เบื้องหลังพระประธานเป็นภาพสักการะพระพุทธบาท เมื่อประมวลประวัติทางด้านท้องถิ่นลักษณะทางสถาปัตยกรรม และจิตรกรรมฝาผนัง พระอุโบสถหลังนี้น่าจะสร้างขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นในราวสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว วัดหน้าพระธาตุเป็นวัดที่ตั้งอยู่ในบริเวณหมู่บ้านตะคุ ตามประวัติท้องถิ่นที่ได้เล่าสู่กันมาได้ความว่า วัดแห่งนี้เคยมีสภาพเป็นวัดร้างมาก่อนเพราะมีซากเจดีย์เก่าอยู่ ภายในวัดมีโบราณสถานที่น่าสนใจ เช่น พระอุโบสถหลังเก่าที่ก่อด้วยอิฐถือปูนรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยหันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีประตูทางเข้าเพียงประตูเดียว หน้าต่างด้านละ 3 ช่อง บริเวณผนังโบสถ์ด้านหน้าข้างนอกและผนังโบสถ์ภายในมีจิตรกรรมฝาผนังสีปูนแห้งโดยตลอด โดยเฉพาะด้านในเขียนเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับทศชาติชาดก เช่น มหาชนก พระเตมีย์ พระมโหสถ เป็นต้น ในเรื่องราวเหล่านี้ยังมีภาพที่แสดงถึงการดำรงชีวิตประจำวันของชาวบ้านในสมัยนั้นสอดแทรก เบื้องหลังพระประธานเป็นภาพสักการะพระพุทธบาท เมื่อประมวลเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติท้องถิ่นลักษณะทางสถาปัตยกรรมและจิตรกรรมฝาผนังพระอุโบสถหลังนี้น่าจะสร้างขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นในราวรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

สภาพปัจจุบัน

ในปัจจุบันวัดหน้าพระธาตุ หรือที่ชาวบ้านมักเรียกว่า วัดตะคุ เป็นกลุ่มของโบราณสถานที่ประกอบด้วยพระธาตุ ๒ องค์ (องค์หนึ่งมีขนาดใหญ่ และอีกองค์หนึ่งมีขนาดเล็กกว่า) ศิลปะแบบลาวล้านช้าง มีการประดับปูนปั้น แต่เสื่อมสภาพไปเกือบหมดแล้ว อีกทั้งพระธาตุดังกล่าวตั้งอยู่เบื้องหน้าพระอุโบสถหลังเดิมที่มีภาพจิตรกรรมฝาผนังทั้งภายในและด้านหน้า หน้าบันเป็นลวดลายการแกะสลัก แต่ผุกร่อนและเสื่อมสภาพ อนึ่งมีการเคลื่อนย้ายโบราณวัตถุ (ชิ้นส่วนสถาปัตยกรรม) จากแหล่งโบราณคดีปราสาทสระหิน ซึ่งอยู่ใกล้เคียงมาเก็นรักษาไว้ด้านหน้าอีกด้วย

นอกจากนี้เบื้องหน้าของพระธาตุ มีหอไตรกลางน้ำ ตั้งอยู่บริเวณสระน้ำเก่าของวัด และในบริเวณของวัดยังเก็บรักษากุฏิของปฐมเจ้าอาวาส ซึ่งเป็นอาคารก่อสร้างด้วยไม้ขนาดใหญ่ไว้เพื่อการศึกษาเรียนรู้อีกด้วย

การเปลี่ยนแปลง

วัดหน้าพระธาตุ ได้นำเอาพระพุทธรูปปางนาคปรกมาประดิษฐานไว้หน้าพระธาตุองค์ใหญ่ เพื่อให้ประชาชนหรือนักท่องเที่ยวกราบไหว้เคารพบูชา และมีการสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ โดยมีการรื้อเอาใบเสมาที่ใช้แสดงอาณาเขตของโบสถ์หลังเก่าด้านทิศตะวันออก จำนวน ๓ ใบออก และได้สร้างใบเสมาใหม่ซึ่งเป็นใบเสมาของพระอุโบสถหลังใหม่ที่กำหนดขอบเขตขันสีมาขึ้นแทนด้วย

อีกทั้งลวดลายประดับปูนปั้นของพระธาตุเสื่อมสภาพไปเกือบหมดแล้ว และภาพจิตรกรรมฝาผนังของพระอุโบสถก็เสื่อมสภาพลงไปมาก

นอกจากนี้หอไตรกลางน้ำก็เสื่อมสภาพ อยู่ในสภาพผุกร่อน

 ปัจจัยการเปลี่ยนแปลง

          ๑) ขาดการดูแลรักษาโบราณสถาน รวมถึงลวดลายประดับปูนปั้นและจิตรกรรมฝาผนัง

          ๒) มีการปรับสภาพพื้นที่โดยรอบให้เหมาะแก่การศึกษาเรียนรู้และการท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์

บทสรุป

วัดหน้าพระธาตุ บ้านตะคุ ตำบลตะคุ อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา มีประวัติความเป็นมายาวนาน มีความสำคัญทางคุณค่าด้านความเชื่อ ความศรัทธาในพระพุทธศาสนา กับการดำรงชีวิตของชาวบ้าน วัดหน้าพระธาตุ เป็นวัดเก่าแก่ที่สร้างขึ้นในช่วงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีสถาปัตยกรรมไทยที่งดงาม อีกทั้งมีศิลปะตามแบบพระราชนิยมในสมัยรัชกาลที่ ๓ ที่มีศิลปะอิทธิพลของจีนผสมผสานกับศิลปะแบบไทยดังเห็นได้ชัดเจนในสถาปัตยกรรมพระอุโบสถหลังเก่า อีกทั้งมีตำนานความเชื่อ ความศรัทธาในพระธาตุ สิ่งศักดิ์สิทธ์คู่บ้านคู่เมืองมาตั้งแต่สมัยสร้างบ้านแปงเมือง

ภายในวัดหน้าพระธาตุ มีโบราณสถาน อาทิ พระอุโบสถหลังเก่า หอไตร องค์พระธาตุ ในปัจจุบันยังคงความงดงามและความสมบูรณ์ทางสถาปัตยกรรม แต่เนื่องด้วยเป็นสถาปัตยกรรมกลางแจ้ง  จึงมีผลต่อการเปลี่ยนแปลง ความทรุดโทรม ที่มีปัจจัยจากอากาศส่งผลให้โบราณสถาน ทรุดโทรมลงตามกาลเวลา

ปัจจุบันมีการปรับสภาพพื้นที่โดยรอบให้เหมาะแก่การศึกษาเรียนรู้และการท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์

แก้ไขเมื่อ

2022-08-08

ข้อมูลสถิติ
หน่วยอนุรักษ์ฯ
ภาพประจำแหล่งศิลปกรรม
แผนงานและโครงการ
การเสนอแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ รายละเอียด งบประมาณ เอกสาร สถานะ
รายงานผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ งบประมาณ วันที่รายงาน เอกสาร