วัดโคกศรีสะเกษ


ละติจูด 14.679761 , ลองจิจูด 102.046244

พิกัด

73 หมู่ 4 วัดโคกศรีสะเกษ บ้านสระน้อย ต.นกออก อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา ตำบลนกออก อำเภออำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา รหัสไปรษณีย์ 30150

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

วัด วัดร้าง ศาสนสถาน

ความสำคัญ/ลักษณะ

วัดโคกศรีษะเกษ (โคกสระน้อย) อยู่ที่บ้านโคกสระน้อย ตำบลนกออก ห่างจากที่ว่าการอำเภอปักธงชัยประมาณ 7 กิโลเมตร ภายในบริเวณวัดมีโรงธรรมเก่าแก่ที่สร้างด้วยไม้ ซึ่งมีภาพเขียนสีที่เขียนบนแผ่นไม้ที่เพดาน ภาพเขียนยังสมบูรณ์ แต่ตัวอาคารถูกบดบังด้วยศาลาหลังใหม่ มีใบเสมาศิลปะแบบเขมรภายในบริเวณวัดจัดเป็นอุทยานทางการศึกษาที่แวดล้อมไปด้วยต้นไม้อันร่มรื่นโรงธรรมวัดโคกศรีษะเกษ ตำบลนกออก ภาพเขียนสีเพดาน ที่โรงธรรมวัดโคกศรีษะเกษ ใบเสมาศิลปะแบบขอม วัดโคกศรีษะเกษ

ประวัติความเป็นมา

         สังกัดมหานิกาย ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2432 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. 2433 ในปัจจุบันยังไม่พบประวัติวัดโคกศรีสะเกษ มีเพียงคำบอกเล่าเกี่ยวกับวัดว่า พื้นที่บริเวณที่ตั้งวัดมาจากเณรซึ่งมีสถานะเป็นนักบวช ผู้ปฏิบัติธรรม เป็นผู้นำชุมชนในการสร้างบ้านเรือนของชุมชนบ้านโคกสระน้อย และศาลปู่เณรพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ ที่กลายมาเป็นวัดประจำชุมชน

        เรื่องเล่าเกี่ยวกับสถานที่ตั้งวัด ในอดีตมีเณรอยู่รูปหนึ่งอาศัยอยู่วัดหงส์ (ปัจจุบันคือ วัดหงส์ธรรมรักษ์จิตาราม) ได้แอบกินขนุนที่มีญาติโยมนำมาถวายหลวงพ่อจนหมดโดยไม่ขออนุญาต หลวงพ่อจึงได้ตำหนิและดุด่า เณรโกรธจึงได้หนีออกจากวัดและได้มาอาศัยที่แห่งหนึ่งซึ่งมีพื้นที่เป็นดอน หรือชาวบ้านเรียกว่า โคก ที่มีสภาพอุดมสมบูรณ์ จึงจับจองทำเป็นสวนผลไม้ หนึ่งในผลไม้ที่เณรปลูก มีต้นขนุนรวมอยู่ด้วย ซึ่งปกติแล้วขนุนจะต้องปลูก 6 ปี จึงจะติดผล แต่ขนุนที่ปลูกกลับติดผลเร็วกว่าปกติ เมื่อขนุนออกผลและสุกงอมได้ที่ เณรจึงนำขนุนไปถวายหลวงพ่อ โดยกล่าวกับหลวงพ่อว่า ตนได้นำขนุนมาคืนหลวงพ่อแล้ว ต่อมาภายหลังได้มีชาวบ้านคนอื่น ๆ มาจับจองที่ดินทำกินเช่นกัน เมื่อมีผู้คนมาอาศัยรวมกันเป็นจำนวนมากสถานที่แห่งนี้จึงกลายเป็นหมู่บ้าน เรียกว่า "บ้านโคก" ซึ่งชาวบ้านที่นี่รู้จักเณรรูปนี้ดี เนื่องจากเป็นคนมีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และมักนำผลไม้ในสวนของตนไปแจกจ่ายชาวบ้าน เมื่อมีงานบุญก็จะนำผลไม้ไปถวายพระสงฆ์ที่วัด นอกจากนี้ยังมีพ่อค้าแม่ค้ามารับซื้อเพื่อไปจำหน่าย

        ต่อมาเริ่มมีเสียงร่ำลือว่า เณรมีเงินที่ได้จากการขายผลไม้มากมาย ว่ากันว่าประมาณ 1 บาตรพระ ทำให้มีโจรผู้ที่คิดจะมาปล้นเงินจำนวนดังกล่าว โดยการเข้าปล้นและขู่บังคับให้บอกที่ซ่อนเงิน แต่เณรไม่มีให้ จึงได้ทำร้ายจนเสียชีวิต จากนั้นจึงรื้อข้าวของเพื่อหาเงินตามคำร่ำลือ ก็ไม่พบแต่อย่างใด พบเพียงเงิน 1 บาท ที่เณรมีติดตัว เมื่อเป็นเช่นนั้น โจรอาจเกิดความเสียใจที่เข้าใจผิดและทำร้ายเณรจนเสียชีวิต จึงได้ทิ้งเงิน 1 บาท ดังกล่าวไว้ ไม่นำติดตัวไป จนกระทั่งมีชาวบ้านมาพบศพ สร้างความเศร้าสลดใจเป็นอย่างมาก ชาวบ้านต่างก็พากันสาปแช่งโจรใจบาปผู้นั้น และนำศพของเณรมาบำเพ็ญกุศลและฌาปนกิจ เมื่อเสร็จจากงานศพชาวบ้านจึงได้สร้างศาลขึ้นในพื้นที่ดังกล่าว ปัจจุบันสถานแห่งนั้นมีชื่อว่า ศาลปู่เณร ซึ่งถือได้ว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธ์ ที่ชาวบ้านพากันเคารพนับถือ ต่อมาชาวบ้านเห็นว่าสถานแห่งนี้เคยเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมของนักบวช จึงได้สร้างขึ้นเป็นวัด โดยนิมนต์พระสงฆ์มาจำพรรษา แต่ไม่มีหลักฐานยืนยันชัดเจนว่าเป็นพระรูปใด

การบริหารและการปกครอง มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนาม คือ

1. พระครูพิพัฒน์อิสรคุณ เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน

สิมโบราณ อายุ 226 ปี เป็นสิมทึบขนาดใหญ่ ลักษณะก่ออิฐถือปูนหลังคามุงด้วยกระเบื้องเผา มีประตูทางเข้า - ออก ทั้งด้านหน้าและด้านหลังฝั่งละ 2 ประตู ตรงบริเวณซุ้มประตูทั้ง 4 ซุ้ม ประดับด้วยถ้วยชามจีนและปั้นลวดลายปูนไว้รอบๆ มีบางจุดถ้วยชามจีนได้หลุดออกไป บานประตูและหน้าต่างทำด้วยไม้ มีช่องหน้าต่างฝั่งละ 5 ช่อง โครงสร้างหลังคาทำด้วยไม้ ด้านในสิมมีเสาไม้ค้ำหลังคา เพดานปูไม้เขียนลวดลายประดับสวยงาม ปัจจุบันได้หลุดร่อนไปเกือบจะหมดแล้ว เหลือเค้าโครงให้เห็นได้บ้าง ด้านนอกพบหลักเสมาขนาดใหญ่ 8 หลัก หลักกลางด้านหน้า แกะสลักเป็นรูปฤาษีที่เราคุ้นตาจากปราสาทขอม อโรคยาศาล

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

-

แก้ไขเมื่อ

2023-09-11

ข้อมูลสถิติ
หน่วยอนุรักษ์ฯ
ภาพประจำแหล่งศิลปกรรม
แผนงานและโครงการ
การเสนอแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ รายละเอียด งบประมาณ เอกสาร สถานะ
รายงานผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ งบประมาณ วันที่รายงาน เอกสาร