ปราสาทสระหิน


ละติจูด 14.71938 , ลองจิจูด 101.992942

พิกัด

หมู่บ้าน ตะคุ ตำบลตะคุ อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา ตำบลตะคุ อำเภออำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา รหัสไปรษณีย์ 30150

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

แหล่งโบราณคดีทั้งที่ขุดค้นแล้ว และยังไม่ได้ขุดค้น โบราณวัตถุ

ความสำคัญ/ลักษณะ

ปราสาทสระหิน บ้านตะคุ ตำบลตะคุ อำเภอปักธงชัย ลักษณะเป็นปรางค์เดี่ยวสร้างด้วยอิฐฐานเป็นศิลาแลง กรอบประตูเป็นหินทราย มีสระยาว 2 สระ ขนาบข้าง สร้างประมาณพุทธศตวรรษที่ 17 ปัจจุบันอยู่ในสภาพที่พังทลาย

สภาพปัจจุบัน

          ปราสาทสระหินปัจจุบันถูกขึ้นทะเบียนโดยกรมศิลปากร เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๕ แต่มีการถือครองโฉนดที่ดินร่วมกันกับเจ้าของที่ โดยทางกรมศิลปากรได้ออกโฉนดที่ดินทับซ้อนกัน และให้สิทธิ์  เจ้าของที่ดินแต่เดิมสามารถปลูกพืชได้เพื่อใช้ในการทำมาหากินแต่ห้ามปลูกไม้ยืนต้น สิ่งปลูกสร้างถาวร และห้ามทำลาย เคลื่อนย้าย หรือกระทำการอันที่จะก่อให้เกิดความเสียหายและเปลี่ยนสภาพของปราสาทสระหิน ในปัจจุบันมีการถมดินคั่นกลางแบ่งสระออกเป็น ๖สระจากแต่เดิม จำนวน ๒ สระ เพื่อใช้เป็นคันคูเดินข้ามสระ มีการปลูกพืชสวน เช่น กล้วย มะม่วง ชาวบ้านหรือเจ้าของที่มีส่วนช่วยในการดูแลความสะอาดของพื้นที่บริเวณปราสาทด้วย

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

๒. การเปลี่ยนแปลง

          ๑) การขุดแต่งสระเพิ่มเติมจากแต่เดิม ๒ สระ เป็น ๖ สระ

          ๒) ร่องรอยการปลูกสร้างอาคารซีเมนต์ ปูด้วยกระเบื้อง บริเวณทางด้านทิศตะวันตกของตัวปราสาท

          ๓) การสร้างที่อยู่อาศัยชั่วคราวของเจ้าของที่ ทางทิศตะวันออกของตัวปราสาท

 

๓. ปัจจัยการเปลี่ยนแปลง

          ๑) มีการเข้าไปใช้พื้นที่ทำประโยชน์ด้านที่อยู่อาศัย และการเพาะปลูกเพื่อการเกษตร เช่นการขุดสระเพิ่ม เพื่อประโยชน์ใช้สอย และความสะดวกในการทำการเกษตร

          ๒) ไม่ได้รับการบูรณะและการอนุรักษ์

 

บทสรุป

         ปราสาทสระหิน ตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ของหมู่บ้านตะคุ เป็นโบราณสถานที่มีลักษณะเป็นปรางค์ขอมซึ่งปัจจุบันหลงเหลือแต่เพียงซากสถาปัตยกรรม ฐานเป็นศิลาแลงและก่อเป็นปรางค์ด้วยอิฐมีกรอบประตูหรือโคปุระที่ทำด้วยหินทรายโบราณสถานแห่งนี้มีปรางค์ตรงกลางเป็นแบบปรางค์เดี่ยวสร้างด้วยหินทรายที่มีลวดลายบางชิ้นได้ถูกขนมาทิ้งไว้ที่บริเวณวัดตะคุซึ่งอยู่ใกล้ ในอดีตมีสระน้ำโบราณหรือที่ชาวบ้านเรียกว่า สระบัว ยาว ๒ สระ ที่ขนาบข้างด้านทิศเหนือและทิศใต้วางตัวเป็นแนวที่แสดงเขตของปราสาทสระหิน แต่ในปัจจุบันมีการถมดินคั่นกลางสระแบ่งสระออกเป็น ๖ สระ เพื่อใช้ประโยชน์ในด้านการเกษตร พื้นที่โดยรวมของบริเวณโบราณสถาน ประมาณ ๘ ไร่

แก้ไขเมื่อ

2023-09-11

ข้อมูลสถิติ
หน่วยอนุรักษ์ฯ
ภาพประจำแหล่งศิลปกรรม
แผนงานและโครงการ
การเสนอแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ รายละเอียด งบประมาณ เอกสาร สถานะ
รายงานผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ งบประมาณ วันที่รายงาน เอกสาร