ภาพเขียนสีเขาหน้าวังหมี


ละติจูด 8.163604 , ลองจิจูด 98.883454

พิกัด

ตำบลทับปริก อำเภออำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

แหล่งโบราณคดีทั้งที่ขุดค้นแล้ว และยังไม่ได้ขุดค้น โบราณวัตถุ

ความสำคัญ/ลักษณะ

ภาพเขียนสีเขาหน้าวังหมี ตั้งแต่ พ.ศ. 2549 เป็นต้นมา ได้มีการสำรวจพบหลักฐานทางโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์ กระจายตัวอยู่ตามถ้ำและเพิงผาต่าง ๆ ของเทือกเขาแห่งนี้จำนวนมาก เช่น เศษภาชนะดินเผา เครื่องมือหิน กระดูกสัตว์ และเปลือกหอย กรมศิลปากรได้ขุดค้นแหล่งโบราณคดีแห่งนี้ใน พ.ศ. 2550 เพื่อตรวจสอบหลักฐานในเขตพื้นที่สัมปทานระเบิดและย่อยหิน พบหลักฐานทางโบราณคดีที่สำคัญ ได้แก่ 1.เศษภาชนะดินเผาเนื้อดิน (Earthenware) มีการตกแต่งด้วยลายเชือกทาบ ขัดมัน ทาน้ำดิน แล้วรวมควันที่ผิวอีกครั้งหนึ่ง 2.แกนหินและสะเก็ดหินที่เหลือจากการกะเทาะซ่อมเครื่องมือหิน จากการจำแนกชนิดของหินพบว่าไม่ใช่หินที่พบในบริเวณนั้น 3.เครื่องมือทำจากกระดูกสัตว์ เป็นเครื่องมือปลายแหลม โดยการนำกระดูกชิ้นยาวของสัตว์มาขัดฝนให้ปลายด้านหนึ่งแหลมคม 4.ชิ้นส่วนกระดูกสัตว์ พบชิ้นส่วนกระดูกสัตว์ขนาดเล็กค่อนข้างสมบูรณ์ เช่น ลิง ค่าง ตะกวด เต้า ตะพาบ เม่น งู กระรอก เก้ง กวาง นก สัตว์ฟันแทะขนาดเล็ก เป็นต้น 5.เปลือกหอย พบทั้งเปลือกหอยน้ำจืด หอยทะเล และหอยภูเขา 6.โครงกระดูกมนุษย์ พบ 1 โครง เป็นโครงกระดูกของมนุษย์วัยผู้ใหญ่ สภาพไม่สมบูรณ์ ผุกร่อนและแตกหักมาก พบส่วนกระดูกหน้าแข้งซ้าย ปลายด้านบนของกระดูกหน้าแข้งขวา กระดูกน่องซ้าย-ขวา กระดูกต้นขาขวา กระดูกข้อเท้า กระดูกฝ่าเท้า กระดูกนิ้วเท้า กระดูกแขนท่อนล่างซ้าย-ขวา กระดูกข้อมือและกระดูกมือซ้าย-ขวา และชิ้นส่วนกะโหลก 7.ร่องรอยกองไฟ เป็นต้น ด้วยเหตุนี้จึงได้มีการระงับสัมปทานในเวลาต่อมา ต่อมาในปี พ.ศ.2557 สำนักศิลปากรที่ 15 ภูเก็ต ได้สำรวจเขาหน้าวังหมีอีกครั้ง และขุดค้นแหล่งโบราณคดีเขาหน้าวังหมี 57/1 ซึ่งเป็นเพิงผาหนึ่งทางฝั่งทิศตะวันออกของภูเขา พบโครงกระดูกมนุษย์โบราณจำนวน 1 โครง พร้อมภาชนะดินเผาทรงพานและหม้อก้นกลมอย่างละ 1 ใบ สันนิษฐานว่าพื้นที่แห่งนี้ได้ถูกใช้เป็นสุสานหรือสถานที่ประกอบพิธีกรรมปลงศพยุคก่อนประวัติศาสตร์ สมัยหิน ในขณะที่พื้นที่อื่น ๆ ชองเทือกเขาได้พบเศษภาชนะดินเผา เครื่องมือหิน กระดูกสัตว์ และเปลือกหอย เป็นจำนวนมาก อันเป็นร่องรอยหลักฐานของการอยู่อาศัยหรือดำรงชีพของมนุษย์สมัยโบราณ เช่นที่แหล่งโบราณคดีเพิงผาโต๊ะช่อง ถ้ำและเพิงผาอีกหลายแห่งในเทือกเขาเดียวกันนี้ ตลอดจนภูเขาลูกอื่น ๆ ที่อยู่ใกล้เคียง จากการทำงานด้านโบราณคดีทำพบว่าพื้นที่บริเวณเขาหน้าวังหมีปรากฏร่องรอยการใช้พื้นที่ของคนมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ อายุราว 4,000-2,000 ปีมาแล้ว โดยใช้เป็นพื้นที่พักอาศัยชั่วคราวและพื้นที่สุสาน โดยมีการฝังศพในท่านอนหงายเหยียดยาว (ที่มา : https://sac.or.th/)

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

-

แก้ไขเมื่อ

2020-12-03

ข้อมูลสถิติ
หน่วยอนุรักษ์ฯ
ภาพประจำแหล่งศิลปกรรม
- ไม่มีรูปภาพ -
แผนงานและโครงการ
- ไม่มีเอกสาร -