ภาพเขียนสีถ้ำเซ่งเม่ง


ละติจูด 16.584206 , ลองจิจูด 104.147194

พิกัด

ตำบลหนองห้าง อำเภออำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

แหล่งโบราณคดีทั้งที่ขุดค้นแล้ว และยังไม่ได้ขุดค้น โบราณวัตถุ

ความสำคัญ/ลักษณะ

ภาพเขียนสีถ้ำเซ่งเม่ง บริเวณที่พบเป็นเพิงหินที่เกิดจากการซ้อนกันของก้อนหิน ขนาดใหญ่ ยาวประมาณ 13 เมตร สูงประมาณ 1.8 เมตร ตั้งอยู่บนลานหินบนภูหัวนา ภูเขาหินทรายบนเทือกเขาภูพาน ห่างหมู่บ้านห้วยม่วงไปทางทิศตะวันออกประมาณ 1.5 กม. ห่างถ้ำลายมือไปทางเหนือประมาณ 4 กม. ภาพเขียนสีเพิงหินหันหน้าไปทางทิศใต้ ภาพปรากฎอยู่บนเพดานของหลืบหิน เขียนด้วยสีแดงคล้ำ เป็นภาพมือและลายเส้นสัญลักษณ์ ภาพมือมีทั้งหมด 31 ภาพ มือผู้ใหญ่และมือเด็กทั้งมือซ้ายและมือขวา ทำโดยแบบทาบมือทาสีบนผนัง และแบบทาบโดยเขียนลายก้านขดบนฝ่ามือ แล้วทาบมือบนผนัง ภาพสัญลักษณ์เป็นลายเส้นลากต่อกันเป็นรูปตารางผสมกับเส้นโค้งต่อกันเป็นแนวยาว ภาพลายเส้นนี้เขียนอยู่กลางเพดาน ล้อมรอบด้วยภาพมือ (ที่มา : http://www.era.su.ac.th/)ถ้ำเซ่งเม่ง มีลักษณะเป็นเพิงหินที่เกิดจากการซ้อนกันของก้อนหินขนาดใหญ่บนภูหัวนา หนึ่งในภูเขาหินทรายในเขตเทือกเขาภูพาน เพิงผาหันหน้าไปทางทิศตะวันตก ห่างจากถ้ำลายมือมาทางทิศใต้ประมาณ 4 กิโลเมตรลักษณะของแหล่งเป็นก้อนหินที่มีขนาดกว้าง 8 เมตร ยาว 13 เมตร สูงหรือหนาประมาณ 1.8 เมตร ตั้งอยู่ตรงกลางลานหินที่มีขนาดกว้าง 70x70 เมตร ภาพที่พบอยู่บริเวณใต้เพิงผาหรือบริเวณเพดานหินเตี้ย ๆ ซึ่งจะต้องสอดตัวเข้าไปนอนดูภาพที่มีอยู่เกือบเต็มผนัง ผู้สำรวจและศึกษาระบุว่าระยะสายตาไม่อาจคุมภาพได้ทั้งหมด ต้องค่อย ๆ ขยับตัวในขณะที่ยังนอนหงายดูทีละจุด เพราะว่าเพดานกับพื้นห่างกันประมาณ 50 เซนติเมตร บางช่วงแค่ 30 เซนติเมตร จากระยะสายตาเท่านั้น ระยะที่ใกล้เกินไปนี้ผู้เขียนภาพจะต้องกำหนดของเขตและวางภาพไว้ก่อน มิฉะนั้นจะไม่สามารถคุมตำแหน่งภาพได้ตามต้องการ ภาพที่พบมีด้วยกัน 2 ชนิด คือ ภาพมือคนและภาพสัญลักษณ์ (พเยาว์ เข็มนาค 2539 : 104-105) ภาพมือมีทั้งสิ้น 31 ภาพ และที่นับไม่ได้อีกจำนวนหนึ่ง ทั้ง 31 ภาพนี้มีทั้งมือขนาดเล็ก (เท่าขนาดมือเด็ก) มือขนาดกลาง และมือขนาดเท่าผู้ใหญ่ มีทั้งมือซ้ายและขวา ภาพมือเด็กมี 3 ภาพ มือข้างซ้าย 1 ภาพ ข้างขวา 2 ภาพ ภาพมือผู้ใหญ่ 28 ภาพ มือข้างซ้าย 2 ภาพ ข้างขวา 14 ภาพ ไม่สามารถแยกได้ว่าเป็นข้างใดอีก 12 ภาพ เทคนิคทำภาพมือมี 2 วิธีด้วยกัน คือ 1. ใช้สีทามือแล้วทาบลงบนผนัง เรียกว่าการทาบมือพบ 29 ภาพ เป็นมือเด็ก 2 ภาพ ทั้งซ้ายและขวา ส่วนมือผู้ใหญ่ 16 ภาพ มือข้างซ้าย 2 ภาพ ข้างขวา 14 ภาพ ไม่สามารถแยกได้อีก 11 ภาพ 2. ใช้สีทามือแล้วขูดสีบางส่วนจากอุ้งมือออก เรียกว่ามือทาบแบบประดิษฐ์ทำเป็นลายคล้ายก้นหอย แล้วทาบลงบนผนังหิน มี 2 ภาพ เป็นมือขวาของเด็ก 1 ภาพ มือผู้ใหญ่ไม่สามารถแยกได้ว่าซ้ายหรือขวา 1 ภาพ ภาพสัญลักษณ์ลักษณะเป็นลายเส้นเขียนปะปนไปกับภาพมือ ส่วนใหญ่เป็นการนำเส้นตรงมาสร้างภาพ ใช้เส้นโค้งน้อยกว่า โดยทำเป็นรูปสี่เหลี่ยมหลายขนาดนำมาต่อกันเป็นภาพ แทรกอยู่กับภาพมือ บางภาพทับอยู่กับภาพมือ เห็นไม่ชัดว่าภาพอะไรทับอะไร (ที่มา : https://sac.or.th/)

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

-

แก้ไขเมื่อ

2020-12-03

ข้อมูลสถิติ
หน่วยอนุรักษ์ฯ
ภาพประจำแหล่งศิลปกรรม
- ไม่มีรูปภาพ -
แผนงานและโครงการ
- ไม่มีเอกสาร -