ภาพเขียนสีถ้ำผาคันธง


ละติจูด 16.843056 , ลองจิจูด 102.016667

พิกัด

ตำบลนาหนองทุ่ม อำเภออำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

แหล่งโบราณคดีทั้งที่ขุดค้นแล้ว และยังไม่ได้ขุดค้น โบราณวัตถุ

ความสำคัญ/ลักษณะ

ภาพเขียนสีถ้ำผาคันธง บริเวณที่พบเป็นเป็นถ้ำหินปูนอยู่บนภูผาคันธง ในเขตป่าสงวนดงลาน พื้นที่โดยรอบภูผาคันธงเป็นที่ราบ โดยพบภาพเขียนสี 2 บริเวณ คือ 1) บริเวณผาคันธง 1 พบบริเวณถ้ำหินปูนที่มีความลึกประมาณ 10 เมตร หน้าถ้ำเป็นหน้าผาสูงชัน ประมาณ 20 เมตร หันหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ภาพเขียนสีปรากฎอยู่บนหน้าผาหน้าปากถ้ำ ภาพเขียนแบ่งได้เป็นกลุ่ม ๆ 6 กลุ่ม เขียนด้วยสีแดงคล้ำและสีขาว ประกอบด้วยภาพ 3 ชนิดภาพลายเส้นเขียนด้วยสีขาวชัดเจน เป็นรูปวงกลมขนาดเล็กซ้อนอยู่ในวงกลมขนาดใหญ่ 9 วง เรียงแถวขนานกัน 2 แนว และลายรูปประแจจีน เขียนในแนวตั้งลากต่อกับเส้นโค้ง 3 เส้นและเส้นขนานสั้น ๆ ติดกับวงกลมที่เขียนซ้อนกัน 3 วง เรียงกัน 3 แถว ๆละ 3 วง นอกจากนั้นก็เป็นลายเส้นและลายจุดที่เขียนด้วยสีแดงคล้ำ ภาพคนมีเพียง 1 ภาพเท่านั้นที่ชัดเจน เห็นแขนข้างเดียว เขียนแบบระบายเงาทึบด้วยสีแดงคล้ำภาพมือปรากฎอยู่ 7 มือ มีทั้งมือซ้ายและมือขวา เป็นภาพมือที่สมบูรณ์ เขียนด้วยสีขาว 4 มือ ทำโดยวิธีพ่น (stencil) 3 มือ และวิธีทาบมือที่ทาสีบนผนัง (imprint) แล้วเขียนสีเติมให้เต็มถึงข้อมือ 1 มือ และอีก 2 มือ ซ้ายและขวาใช้วิธีทาบแล้วเติมส่วนที่หายไป เขียนด้วยสีแดงคล้ำที่ผาคันธง 1 นี้ ภาพมืออยู่ร่วมกับภาพลายเส้นรูปวงกลมซ้อนกัน สีขาว เส้นคมชัดมากและมีลักษณะภาพเขียนเฉพาะต่างไปจากแหล่งอื่น ๆในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากการสังเกตลักษณะของการเขียนภาพกลุ่มภาพต่าง ๆที่ปรากฎที่ผาคันธงนี้ น่าจะเป็นภาพที่เขียนขึ้นในระยะเวลาที่แตกต่างกันและอาจเป็นคนละกลุ่มชนกันก็ได้ 2) บริเวณผาคันธง 2อยู่ห่างจากผาคันธง 1 ไปทางทิศเหนือประมาณ 60 กม. มีลักษณะเป็นหน้าผาหินปูนสูงชันเช่นเดียวกับผาคันธง 1 สูงจากพื้นราบประมาณ 30 เมตร ภาพปรากฎอยู่บนเพิงผาหน้าถ้ำหันหน้าไปทางทิศเหนือภาพทั้งหมดเขียนด้วยสีแดงคล้ำ แบ่งได้เป็นกลุ่ม ๆ มีอยู่ด้วยกัน 4 ประเภท ภาพคนเขียนแบบระบายเงาทึบ 7 ภาพ แสดงอาการเคลื่อนไหวและยืนเฉย ๆภาพสัตว์4 ภาพ อาจเป็นสุนัข 1 ตัว ระบายสีเงาทึบเช่นกัน ภาพวัตถุ อาจเป็นอาวุธประเภท หอก หรือ ไม้ยาว ๆ โดยมีคนจับถืออยู่ และภาพลายเส้น มีทั้งเป็นเส้นตรง เส้นโค้ง วงกลม จุดไข่ปลาภาพเขียนที่ผาคันธง 2 นี้น่าจะมีความสัมพันธ์กันเป็นกลุ่ม ๆ เพราะภาพคนอยู่ร่วมกับภาพสัตว์หรือร่วมกับภาพวัตถุ และภาพลายเส้น อาจเป็นการเขียนเพื่อเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการล่าสัตว์โดยการนำสุนัขที่เลี้ยงไว้ติดตามไปด้วย เป็นการใช้ประโยชน์จากสัตว์เลี้ยง ภาพคนอาจมีทั้งเด็กและผู้ใหญ่ซึ่งอาจเป็นการแสดงวิธีการล่าสัตว์ให้เด็กดู และอาจเป็นภาพคนถือวัตถุไม้ด้ามยาวสอยผลไม้ก็ได้ อย่างไรก็ตามภาพเหล่านี้ย่อมมีความสัมพันธ์กันอย่างแน่นอน (ที่มา : http://www.era.su.ac.th/)

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

-

แก้ไขเมื่อ

2020-12-03

ข้อมูลสถิติ
หน่วยอนุรักษ์ฯ
ภาพประจำแหล่งศิลปกรรม
- ไม่มีรูปภาพ -
แผนงานและโครงการ
- ไม่มีเอกสาร -