วัดพระบรมธาตุวรวิหาร


ละติจูด 15.159198 , ลองจิจูด 100.152332

พิกัด

ตำบลชัยนาท อำเภออำเภอเมืองชัยนาท จังหวัดชัยนาท

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

วัด วัดร้าง ศาสนสถาน

ความสำคัญ/ลักษณะ

วัดพระบรมธาตุวรวิหาร เดิมชื่อวัดพระธาตุ และมีนามเรียกอีกนามหนึ่งว่าวัดหัวเมือง สร้างขึ้นมาตั้งแต่สมัยขอมเรืองอำนาจอยู่แถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา โดยมีพระบรมสารีริกธาตุบรรจุอยู่ในองค์พระเจดีย์ วัดพระบรมธาตุวรวิหาร เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์สำหรับประกอบพิธีพุทธาภิเษกของพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ น้ำหน้าวัดพระบรมธาตุถือว่าเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์นำไปใช้ในพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาอีกแห่งหนึ่ง วัดพระบรมธาตุวรวิหารมีโบราณสถานและปูชนียวัตถุที่สำคัญ ดังนี้เจดีย์พระบรมธาตุ องค์พระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ไม่ปรากฏหลักฐานว่าใครสร้างมีแต่ตำนานกล่าวกันต่อ ๆ มาว่าองค์พระเจดีย์สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าศรีธรรมาโศกราชกษัตริย์แห่งอินเดีย ได้ให้พระสงฆ์มาเผยแผ่พระศาสนายังประเทศต่าง ๆ รวมทั้งประเทศไทยด้วย โดยได้ผ่านมาทางสุวรรณภูมิ พระวิหารเก้าห้อง สันนิษฐานว่าสร้างพร้อมกับเจดีย์พระบรมธาตุ ภายในวิหารมีบ่อน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์มีน้ำออกมาตามธรรมชาติ อายุ 700 กว่าปีพระอุโบสถ ภายในอุโบสถมีพระประธานเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่ลงรักปิดทองปางมารวิชัยหลวงพ่อเพชรจำลอง (องค์เดิมพระมหาธรรมราชาลิไท สร้างไถ่เมืองชัยนาทคืนจากพระเจ้าอู่ทอง ขณะนี้กรมศิลปากรนำเก็บรักษาไว้) พระพุทธรูปปางนาคปรก ทำด้วยศิลาทรายพบบริเวณพระบรมธาตุเจดีย์ วัดพระบรมธาตุวรวิหาร พระพุทธรูปปางนาคปรกเป็นคติความเชี่อพุทธศาสนาลัทธิมหายานที่เรียกว่ารัตนไตรมหายาน ซึ่งสลักเป็นพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร และพระทางปรัชญาปารมิตาขนาบข้างพระพุทธรูปปางนาคปรกซึ่งเป็นศิลปะเขมตรแบบบายน มีอายุในราวพุทธศตวรรษที่ 18 อาจจะพอสรุปได้ว่าเดิมองค์พระบรมธาตุเจดีย์ ณ วัดพระบรมธาตุวรวิหารนี้เป็นศิลปกรรมเขมรมาก่อน โดยเมืองชัยนาทเคยตกอยู่ใต้อทธิพลอารยธรรมเขมร ซึ่งน่าครอบคลุมถึงเมืองสรรคบุรีด้วย ในราวพุทธศตวรรษที่ 16-18 (ที่มา : http://www.chainat.go.th/)

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

-

แก้ไขเมื่อ

2020-12-03

ข้อมูลสถิติ
หน่วยอนุรักษ์ฯ
ภาพประจำแหล่งศิลปกรรม
- ไม่มีรูปภาพ -
แผนงานและโครงการ
- ไม่มีเอกสาร -