แหล่งโบราณคดีเขารับร่อ (ถ้ำรับร่อ,ถ้ำอ้ายเตย์,ถ้ำไอ้เต)


ละติจูด 10.62355 , ลองจิจูด 99.113864

พิกัด

ตำบลท่าข้าม อำเภออำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

แหล่งโบราณคดีทั้งที่ขุดค้นแล้ว และยังไม่ได้ขุดค้น โบราณวัตถุ

ความสำคัญ/ลักษณะ

แหล่งโบราณคดีเขารับร่อ เป็นภูเขาปูนวางตัวในแนวเกือบจะตามแกนทิศเหนือ - ทิศใต้ขนาดยาวประมาณ 2 กิโลเมตร กว้างประมาณ 1.25 กิโลเมตร ยอดสูงสุดอยู่ทางตอนใต้ของภูเขาสูงประมาณ 181 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง โบราณสถานตั้งอยู่ในเขตวัดเทพเจริญหรือวัดถ้ำรับร่อ อยู่ทางทิศใต้ของภูเขา ชื่อภูเขารับร่อนี้ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เขาพระ ตามตำนานและนิทานพื้นบ้านเชื่อกันว่าบริเวณรอบ ๆ เขารับร่อเป็นที่ตั้งเมืองโบราณ ชื่อเมืองอุทุมพร ร่วมสมัยกับเมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งจะสร้างโดยพระเจ้าศรีธรรมโศกราช เมืองอุทุมพรเป็นเมืองรักษาด่านทางข้ามคอคอดคาบสมุทรมลายู มีสำเภาจีนมาค้าขาย และได้รับอิทธิพลพุทธศาสนามาจากเมืองนครศรีธรรมราช จึงได้สร้างพระพุทธรูปปูนปั้นองค์ใหญ่ เรียกพระหลักเมืองหรือพระปู่หลักเมือง เป็นพระประธาน ประดิษฐานอยู่กลางถ้ำพระ ถ้ำพระนี้ก็เรียกว่าถ้ำทะเลเซียะตามชื่อคลองทะเลเซียะที่ไหลผ่านหน้าภูเขาทางด้านทิศใต้ ไหลไปรวมกับคลองรับร่อและคลองรับรับร่อไหลไปบรรจบกับคลองท่าแซะ มีเรื่องเล่าว่าเมื่อเสร็จจากการสร้างพระพุทธรูปหลักเมืองแล้ว มีทรัพย์สินเงินทองที่ประชาชนนำมาร่วมกันสร้างเหลืออีกมาก จึงนำมาฝังไว้ที่ถ้ำอีกถ้ำหนึ่ง ซึ่งอยู่ใกล้เคียงกัน แล้วเขียนรูปพระพุทธไสยาสน์ลงสีไว้ที่ผนังถ้ำ ชาวบ้านเล่าลือต่อกันมาว่า ภาพบนผนังสร้างไว้เพื่อเฝ้าสมบัติเรียกกันว่าไอ้เตลบเท่าใดก็ไม่หมด ทำให้มีผู้รู้เท่าไม่ถึงการณ์เอาผ้าชุบน้ำมาทดลองลบสี และยังมีปริศนาลายแทงที่ว่าไอ้เต ไอ้เต เอาลูกใส่เปล เอาตีนคาใน น้ำมันสองขวด ค่อยนวดค่อยไป ผู้ใดคิดได้ อยู่ใต้ไอ้เตมีผู้เชื่อตามลายแทงมาขุดหาสมบัติในถ้ำ แต่ไม่มีผู้ใดได้ไป เพราะเมื่อมาขุดก็จะถูกงูใหญ่ไล่กัดบ้าง ถูกเสียงลึกลับไล่ตะเพิดบ้าง ด้วยเหตุที่ถ้ำรับร่อมีพระพุทธรูปลักเมือง ทำให้นักวิชาการท้องถิ่นสันนิษฐานว่า บริเวณชุมชนโบราณแถบนี้คงจะเป็นที่ตั้งเมืองชุมพรเก่า ร่วมสมัยพระเจ้าศรีธรรมโศกราชแห่งนครศรีธรรมราช ทั้งนี้ตามตำนานเมืองนครศรีธรรมราช ได้กล่าวถึงพระยาศรีธรรมโศกราชสร้างเมือง 12 นักษัตร ปีมะแมมีเมืองชุมพรถือตราแพะ เมืองชุมพรในสมัยนั้นจึงน่าจะเป็นเมืองอุทุมพรที่ท่าแซะ อย่างไรก็ดีเรื่องดังกล่าวนี้ ยังต้องค้นหาหลักฐานทางประวัติศาสตร์ และศึกษากันต่อไป หลักฐานที่เก่าที่สุดในปัจจุบันพบว่าแหล่งโบราณคดีเขารับร่อมีมนุษย์อยู่อาศัย ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ได้พบเครื่องมือขวานหินขัด และเศษภาชนะดินเผาในถ้ำต่าง ๆ ภายในภูเขารับร่อ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าพื้นที่บริเวณนี้มีมนุษย์อยู่อาศัยมาแล้วไม่น้อยกว่า 2,000 ปี เป็นอย่างน้อย โบราณสถานเขารับร่อมีถ้ำสำคัญอยู่ 3 ถ้ำ คือ ถ้ำไทร ถ้ำพระและถ้ำไอ้เต ถ้ำไทรนั้นไม่มีโบราณวัตถุ มีเพียงหินงอกหินย้อยตามธรรมชาติ หลักฐานทางประวัติศาสตร์ โบราณคดีอยู่ที่ถ้ำพระและถ้ำไอ้เต โดยถ้ำพระ 200x200 เซนติเมตร จำนวน 3 องค์ คงสร้างขึ้นสมัยอยุธยาประมาณพุทธศตวรรษที่ 22-23 ภายในถ้ำมีพระพุทธรูปปูนปั้น พระพุทธรูปสำริดสมัยอยุธยา พระพุทธรูปแกะสลักจากไม้ รวมแล้วนับเป็นร้อย ๆ องค์ มีทั้งพระพุทธไสยาสน์พระพุทธรูปปางมารวิชัยฝีมือช่างท้องถิ่น ซึ่งได้รับอิทธิพลทั้งจากศิลปะท้องถิ่นภาคใต้และภาคกลางปะปนกัน พระประธานหรือหลวงพ่อปู่ลักเมืองเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นองค์ใหญ่อยู่กลางถ้ำสูง 4 เมตร หน้าตักกว้างราว 3 เมตร ลักษณะพุทธศิลป์แบบศิลปอยุธยา พระพุทธรูปอื่น ๆ ที่เลียนแบบศิลปะสุโขทัยก็มีในส่วนของถ้ำไอ้เต มีภาพเขียนสีสมัยประวัติศาสตร์เขียนเป็นรูปพระพุทธไสยาสน์อยู่เหนือพื้นถ้ำ ประมาณ 40 เซนติเมตร องค์พระยาว 4.80 เมตร กว้าง 2 เมตร พระเศียรหันสู่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ พระพักตร์หันไปทางทิศตะวันออกตัดเส้นสีแดงดำเป็นโครงร่าง รอบองค์พระลงสีเป็นส่วน ๆ พระเศียรและพระเกศลงสีดำ พระพักตร์และพระกรลงสีขาว พระวรกายครองผ้าลงสีส้มเหลืองแบบเดียวกันกับสีผ้าครองของสงฆ์ ไม่แสดง รายละเอียดของพระเนตร พระนาสิก และพระโอษฐ์บนพระพักตร์ ซึ่งมีรูปค่อนข้างเหลี่ยม มีพระอุษณีษ์นูนสูงต่อด้วยเปลว ซึ่งลงสีขาวตัดเส้นสีดำ ส่วนปลายพระบาทไม่ชัดเจนสำหรับรอยพระพุทธบาทหินทราย ขนาดยาวประมาณ 1 เมตร ประดิษฐานอยู่ที่ศาลาบริเวณเชิงเขา ลักษณะรอยพระพุทธบาทสลักลวดลายคล้ายสัญลักษณ์ของราชวงศ์ปทุมวงศ์ ของพระเจ้าศรีธรรมโศกราชแห่งนครศรีธรรมราช มีรูปแพะซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของเมืองชุมพร ซึ่งตามตำนานเมืองนครศรีธรรมราช มีเมืองชุมพร (ปีมะแม) ถือตราแพะลักษณะรูปแบบศิลปกรรมน่าจะสร้างขึ้นสมัยอยุธยาตอนต้น หรือไม่เก่าไปพุทธศตวรรษที่ 19 (ที่มา : https://www.m-culture.go.th/chumphon)

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

-

แก้ไขเมื่อ

2020-12-03

ข้อมูลสถิติ
หน่วยอนุรักษ์ฯ
ภาพประจำแหล่งศิลปกรรม
- ไม่มีรูปภาพ -
แผนงานและโครงการ
- ไม่มีเอกสาร -