วัดมุจลินทราราม (พระธาตุมุจลินทร์)


ละติจูด 10.1163819639 , ลองจิจูด 99.0701258551

พิกัด

ตำบลทุ่งตะไคร อำเภออำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

วัด วัดร้าง ศาสนสถาน

ความสำคัญ/ลักษณะ

วัดมุจลินทาราม เดิมชื่อวัดหนองจิก เนื่องจากเดิมในบริเวณวัดเคยมีหนองน้ำและต้นจิกใหญ่ขึ้นอยู่ริมหนอง ต่อมาเมื่อสร้างวัดจึงตั้งชื่อวัดว่า มุจลินทร์ ซึ่งแปลว่าต้นจิกในภาษาบาลี และเติมอารามที่แปลว่าวัดไว้ด้านหลัง ชื่อว่า วัดมุจลินทรารามในหนังสือประวัติวัดทั่วราชอาณาจักรเล่ม 23 กล่าวว่าวัดมุจลินทรารามก่อสร้างขึ้นในปี พ.ศ.2340 ในบริเวณ ต.ทุ่งตะไคร ต่อมาในปี พ.ศ.2496 จึงได้ย้ายวัดไปอยู่ที่หมู่ 1 ต.ช่องไม้แก้ว ห่างจากบริเวณเดิมไป 700 เมตร ส่วนที่ตั้งวัดเดิมเหลือเพียงพระธาตุมุจลินทร์ ซึ่งชาวบ้านเรียก พ่อท่านในกุฎิและกลายเป็นที่ตั้งของโรงเรียนวัดมุจลินทรารามในปัจจุบัน ลักษณะทางสถาปัตยกรรมของพระธาตุมุจลินทร์เป็นเจดีย์ทรงระฆังย่อมุมไม้ 12 โดยมีชุดฐานเป็นฐานเขียงสองชั้นขนาด 2.2 x 2.2 เมตร ต่อด้วยฐานสิงห์รองรับฐานย่อมุมไม้ 16 เรือนธาตุมีการย่อมุมไม้ 16 มีประตูหลอกทุกด้าน ที่ซุ้มประตูซ้าย-ขวาประดับด้วยปูนปั้นยักษ์รูปทวารบาลในอิริยาบถยืนและนั่ง หน้าบันซุ้มประตูประดับปูนปั้นรูปหน้ากาล ถัดขึ้นไปเป็นบัวชุดปากระฆังในผังสี่เหลี่ยมและองค์ระฆังย่อมุมไม้ 12 บัลลังก์ย่อมุมและส่วนยอดเจดีย์เป็นกลุ่มบัวเถาอย่างน้อย 5 ชั้น จากประวัติของวัด การขุดค้นทางโบราณคดี และประวัติศาสตร์ศิลปะ ทำให้สันนิษฐานได้ว่าพระธาตุมุจลินทร์มีการใช้งานทั้งสิ้น 4 สมัย คือ สมัยที่1คือสมัยที่สร้างเจดีย์กำหนดรูปแบบตามศิลปะให้อยู่ในช่วงรัชกาลที่ 3 (พ.ศ.2367-2394) สมัยที่2พบหลักฐานการต่อเติมตัวพระธาตุสันนิษฐานว่าไม่น่าจะห่างจากการก่อสร้างตัวพระธาตุไม่นานนัก สมัยที่3มีการซ่อมแซมครั้งใหญ่สันนิษฐานว่าในช่วงรัชกาลที่ 6-7 มีการเพิ่มความสูงขององค์ระฆัง องค์ประกอบเจดีย์ถูกฉาบด้วยปูนซีเมนต์ สมัยที่4พบหลักฐานการบูรณะปรับปรุงครั้งสุดท้ายราว พ.ศ.2530 นอกจากนี้ ในการขุดตรวจยังพบโบราณวัตถุชนิดอื่น ๆ เช่น ภาชนะดินเผาบรรจุกระดูกเขียนลายดอกไม้สีน้ำเงินบนพื้นนวลเคลือบใสสมัยราชวงศ์หมิงกำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ 22-23, เศษภาชนะดินเผาเครื่องถ้วยแบบพื้นเมือง, ชิ้นส่วนทางสถาปัตยกรรมปล้องไฉน, ประติมากรรมปูนปั้นและแผ่นอิฐดินเผา เป็นต้น โดยกระปุกบรรจุกระดูกน่าจะถูกเคลื่อนย้ายมาพร้อมกับการถมทรายบริเวณฐานเจดีย์ในการปรับปรุงเจดีย์สมัยที่ 3 ชาวบ้านเชื่อว่าในพระธาตุมุจลินทร์บรรจุกระดูกบุคคลสำคัญ โดยชาวบ้านนิยมเรียกพระธาตุองค์นี้ว่า พ่อท่านในกุฏิปัจจุบัน พระธาตุมุจลินทร์ถือเป็นสถานที่สำคัญและเป็นที่เคารพนับถือของคนในชุมชน โดยในวันที่ 15 เมษายน ของทุกปีจะมีประเพณีสรงน้ำพ่อท่านในกุฏิในทุกปี (ที่มา : เว็บไซต์ศูนย์มนุษยวิทยาสิริรนธร (องค์กรมหาชน http://sac.or.th/)

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

-

แก้ไขเมื่อ

2020-12-03

ข้อมูลสถิติ
หน่วยอนุรักษ์ฯ
ภาพประจำแหล่งศิลปกรรม
- ไม่มีรูปภาพ -
แผนงานและโครงการ
- ไม่มีเอกสาร -