วัดดอนสะท้อน


ละติจูด 10.247776 , ลองจิจูด 99.115348

พิกัด

ตำบลปากแพรก อำเภออำเภอสวี จังหวัดชุมพร

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

วัด วัดร้าง ศาสนสถาน

ความสำคัญ/ลักษณะ

วัดดอนสะท้อน เป็นวัดโบราณมาแต่เดิม ได้รับการบูรณะครั้งใหญ่ สมัยหลวงพ่อทองพุทธะสะวัณโณ เป็นเจ้าอาวาส เมื่อปี พ.ศ. 2466 โดยได้สร้างกุฏิครึ่งตึกครึ่งไม้สองชั้นขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2486 ได้บูรณะวิหารปี พ.ศ. 2482 สร้างอุโบสถหลังใหม่ในตำแหน่งของอุโบสถหลังเดิม วัดนี้ได้รับการประกาศเขตวิสุงคามสีมา ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 69 ตอนที่ 52 หน้า 993 ลงวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2495 ปัจจุบันหลังคากุฏิได้เปลี่ยนแปลง กระเบื้องหลังคาดินเผาเป็นกระเบื้องลอนคู่สีแดง ส่วนสถาปัตยกรรมอื่น ๆ ยังคงเดิม สิ่งสำคัญภายในวัด ได้แก่ 1. กุฏิหลวงพ่อทอง พุทธะสะวัณโณ ตัวอาคารชั้นล่างก่ออิฐถือปูน เสาก่ออิฐถือปูนเป็นแบบย่อมุมไม้สิบสองมีลวด บัวหัวเสารับปูนปั้นบัวแปดกลีบ ราวลูกกรงลวดบัวบน ล่าง ลูกมะหวดปูนขนาด 4 นิ้ว เสาลูกกรงย่อมุมไม้สิบสองมีหัวเม็ดกลม ลักษณะฝังลายกลีบบัว ช่องวงกบประตู ช่องวงกบหน้าต่างส่วนบนโค้งครึ่งวงกลม บานประตู วงกบหน้าต่างเป็นแผ่นไม้ฉลุลาย พื้นชั้นล่างเป็นซีเมนต์ขัดมัน บันไดทางขึ้นชั้นบนก่ออิฐฉาบปูน ตัวอาคารชั้นบนเป็นไม้ทั้งหมด พื้นไม้กระดาน 7X8 นิ้ว ฝาไม้ 3/4 x 6 นิ้ว ตีซ้อนเกล็ดแนวนอน ระเบียงด้านหน้ามีลูกกรงไม้กลึงโดยรอบ ประตูหน้าต่างลูกฟักไม้ ประกอบลวดบัวช่องลมโดยรอบอาคารทั้งหมดเป็นแผ่นไม้ฉลุลาย หัวเสาระเบียงด้านหน้ามีไม้ฉลุลายประดับหลังคาทรงปั้นหยาโครงสร้างไม้เนื้อแข็ง เพดานแผ่นไม้ 1/2 x 6 นิ้ว หลังคามุงกระเบื้องลอนคู่ ซึ่งเดิมมุงด้วยกระเบื้องดินเผา 2. วิหาร พื้นซีเมนต์ขัดมันฐานอาคารก่ออิฐฉาบปูนไม่มีบัวฐาน มีเส้นลวดประดับทางขึ้นด้านหน้า ด้านซ้ายเป็นสิงห์ ด้านขวาเป็นเสือลายพาดกลอน เสาอาคารฉาบปูนประดับบัวหัวเสา ราวลูกกรงลวดบัวลูกมะหวดแบน เสารางลูกกรงมีหัวเม็ด หลังคาทรงไทย โครงสร้างไม้เนื้อแข็ง มุงด้วยกระเบื้องลอนคู่ ประดับด้วยช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ หัวนาค สันหลังคาชุด ล่างประดับใบระกาและปูนปั้นรูปครุฑ ผ้าไขราไม้ ฝ้าเพดานช่องในไม้ 1x8 นิ้ว (ที่มา : https://www.m-culture.go.th/chumphon)

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

-

แก้ไขเมื่อ

2020-12-03

ข้อมูลสถิติ
หน่วยอนุรักษ์ฯ
ภาพประจำแหล่งศิลปกรรม
- ไม่มีรูปภาพ -
แผนงานและโครงการ
- ไม่มีเอกสาร -