แหล่งโบราณคดีถ้ำเขาเทียมป่า


ละติจูด 7.914705 , ลองจิจูด 99.67632

พิกัด

ตำบลหนองปรือ อำเภออำเภอรัษฎา จังหวัดตรัง รหัสไปรษณีย์ 10540

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

แหล่งโบราณคดีทั้งที่ขุดค้นแล้ว และยังไม่ได้ขุดค้น โบราณวัตถุ

ความสำคัญ/ลักษณะ

จากคำบอกเล่าของชาวบ้าน ทราบชื่อว่า เขาเทียมป่ามีชื่อมาจากภูเขาที่มีความสูงไม่มากเทียบได้กับความสูงของต้นไม้ขนาดใหญ่หรือความสูงของป่าจากหลักฐานทางโบราณคดีพบว่าเป็นหลักฐานของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์สมัยหินใหม่ มีอายุราว 2,000-3,000 ปี โดยหลักฐานที่สำคัญคือหม้อ 3 ขา ซึ่งเริ่มต้นค้นพบในประเทศจีน ที่มณฑลซานสี มณฑลเหอหนาน จัดอยู่ในวัฒนธรรมหินใหม่ของจีน เรียกว่า วัฒนธรรมหยางเชา(Yang Shao) มีอายุประมาณ 7,000 ปีมาแล้ว นิยมทำภาชนะให้มีสีออกแดง เขียนสี และเคลือบผิว และวัฒนธรรมลุงชาน ซึ่งเจริญอยู่ที่แมนจูเรียไปจนถึงมณฑลเหอเป่ย นิยมทำหม้อสามขา สีดำขัดมัน มีลวดลายขูดขีด ซึ่งสัมพันธ์กันกับหม้อสามขาของไทยที่บ้านเก่า กาญจนบุรี และในภาคใต้ เช่นถ้ำกาชี ตำบลบ้านยาง อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฏร์ธานี, เขาแอน ตำบลนบพิตำ อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช, เขาปินะ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง , เขารังเกียรติ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา , เพิงผาหน้าชิง อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ เป็นต้น โดยภาชนะดินเผาแบบหม้อสามขาที่พบที่เขาเทียมป่านี้ ได้พบเป็นจำนวนหลายชิ้นและพบร่วมกับขวานหินขัดและกระดูกสัตว์ เป็นหลักฐานที่แสดงถึงกิจกรรมของมนุษย์สมัยหินใหม่ สังคมเกษตรกรรม อาศัยอยู่ในถ้ำ ประกอบอาชีพเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ และล่าสัตว์เป็นอาหาร หลักฐานโบราณคดีที่สำคัญที่พบจากการสำรวจเขาเทียมป่าได้แก่ ขวานหินขัดแบบไม่มีบ่า ขวานหินขัดแบบมีบ่า เศษภาชนะดินเผาประเภท Earthenware ทั้งผิวเรียบขัดมัน และตกแต่งด้วยลายกดประทับ ลายเซาะร่อง เป็นต้น ฐานภาชนะทรงพาน และขาภาชนะดินเผาแบบหม้อสามขาซึ่งภายในกลวง เจาะรูที่ต้นขา ปลายขาตัดตรง และเศษกระดูกสัตว์หลายชิ้น(ข้อมูลจากเว็บไซต์ศูนย์มนุษยวิทยาสิริธร (องค์กรมหาชน)

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

-

แก้ไขเมื่อ

2021-02-10

ข้อมูลสถิติ
หน่วยอนุรักษ์ฯ
ภาพประจำแหล่งศิลปกรรม
- ไม่มีรูปภาพ -
แผนงานและโครงการ
การเสนอแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ รายละเอียด งบประมาณ เอกสาร สถานะ
รายงานผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ งบประมาณ วันที่รายงาน เอกสาร