วัดพระงาม


ละติจูด 7.56279 , ลองจิจูด 99.63888

พิกัด

ตำบลทับเที่ยง อำเภออำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง รหัสไปรษณีย์ 92000

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

วัด วัดร้าง ศาสนสถาน

ความสำคัญ/ลักษณะ

       ประวัติ พระพุทธรูปพระงาม วัดพระงาม จ.ตรัง วัดพระงาม ตั้งอยู่ริมถนนสายตรัง-พัทลุง หมู่ที่ 7 ต.บ้านโพธิ์ อ.เมือง จ.ตรัง ปัจจุบันมีที่ดินตั้งวัด เนื้อที่ 7 ไร่ 1 งาน 8 ตารางวา ซึ่งในหนังสือ 'พระกัลปนาวัดหัวเมืองพัทลุง' ระบุว่า มี 'พระมหาเถรสวรรค์' เป็นเจ้าอธิการวัด และ 'หมื่นศรีศาสนา' เป็นนายประเพณี มีข้าพระ 5 หัวงาน นางแมะหัวงาน 1 นางดำหัวงาน 1 นางคำทองหัวงาน 1 นางหงส์หัวงาน 1 นางแก้วหัวงาน 1 วัด แห่งนี้เคยเป็นวัดร้างมาหลายครั้งแล้ว มีคลองนางน้อยไหลผ่านทางทิศตะวันออก แต่เดิมคลองไหลผ่านทางทิศใต้ของวัด ต่อมาได้มีการขุดคลองลัด จึงทำให้คลองสายเดิมตื้นเขินหมดภายในศาลาการเปรียญวัดพระงาม ประดิษฐานพระพุทธรูปประธานปูนปั้น ปางมารวิชัย 3 องค์ องค์กลางชาวบ้านเรียกขานนามว่า 'พระงาม' มีหน้าตักกว้าง 140 เซนติเมตร แต่ได้ถูกซ่อมแซมมาแล้วหลายครั้ง โดยฝีมือของช่างท้องถิ่น อาจารย์ ชัยวุฒิ พิยะกูล นักวิชาการสถาบันทักษิณคดีศึกษา ได้ศึกษาจากสมุดข่อยโบราณพบว่า พระนางเลือดขาว เป็นผู้สร้างวัดพระงาม ในพุทธศตวรรษที่ 15 (พ.ศ.1493) ยุคสุโขทัย แต่หลักฐานที่ค้นพบจาก โบราณสถานและโบราณวัตถุ เช่น พระมหา ธาตุเจดีย์ วัดเขียนบางแก้ว จ.พัทลุง กลับระบุว่า อยู่ในพุทธศตวรรษที่ 19-20 (พ.ศ.1800) ยุคอยุธยาตอนต้น ขณะที่กรมการศาสนา ระบุว่า วัดแห่งนี้สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2224ทั้ง นี้ เมื่อเจ้าพระยากุมารกับ พระนางเลือดขาว ได้ทราบข่าวว่า พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช เจ้าเมืองนครศรีธรรมราช จะส่งทูตไปสืบค้นพระบรมสารีริกธาตุ ที่เกาะลังกา จึงได้ขี่ช้างเดินทางจากอำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง เพื่อจะไปยังปากแม่น้ำกันตัง จังหวัดตรัง ระหว่างทางได้สร้างวัดขึ้นจำนวนหลายแห่ง รวมทั้ง วัดพระงาม ในพื้นที่อำเภอเมืองตรังด้วย ขณะที่บันทึกของ พระอธิการบุญชู อดีตเจ้าอาวาส ระบุว่า พระนางเลือดขาว ได้โปรดให้สร้างพระงาม โดยทองคำที่เหลือจากการสร้างพระธาตุ จังหวัดนครศรีธรรมราช แต่ต่อมาได้มีการก่อปูนหุ้มองค์พระเอาไว้ จนกระทั่งสมัยโจรใต้เรืองอิทธิพล รุ่นขุนโจรรุ่ง ดอนทราย กับขุนโจรดำ หัวแพร จากจังหวัดพัทลุง และขุนโจรชู พันทอง จากจังหวัดตรัง ได้ปะปนเข้ามากับกลุ่มประสกและสีกาภายในวัดดย ขณะนั้น วัดกำลังจัดงานชักพระหรือลากพระ หรือแย่งพระ อันเป็นประเพณีโบราณเก่าแก่ที่อยู่คู่กับชาวเมืองตรังผู้มีจิตศรัทธา และได้ปฏิบัติสืบทอดกันมาอย่างยาวนานแล้ว โดยเฉพาะในวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 และมีจำเพาะในพื้นที่ตรังทุ่ง-ตรังนา ด้วยการลากเรือพระ ที่มีพระพุทธรูปประดิษฐานไว้บริเวณด้านบน ออกไปกลางทุ่งนา จากนั้นจะให้พุทธบริษัทรวมกลุ่มกันเพื่อแย่งเรือพระ คล้ายกับการชักเย่อ อย่าง ไรก็ตาม เมื่อปี พ.ศ.2468 สามขุนโจรชื่อดัง ได้เข้ามาร่วมกันแย่งพระด้วย และสามารถนำพระงาม ไปทุบตีประหนึ่งกับการแล่เนื้อ เพื่อหาทองคำตามที่มีตำนานบันทึกเอาไว้ ก่อนที่จะทิ้งองค์พระเอาไว้กลางทุ่งนาหน้าวัดในสภาพเสื่อมโทรม เนื่องจากนิ้วพระหัตถ์เบื้องซ้ายหายไป 1 นิ้ว ส่วนอังสา (ไหล่) ศอ (คอ) ปฤษฎางค์ (ส่วนหลัง) และทั่วทั้งพระองค์ ก็มีแต่รอยแตกร้าว รอยแหว่ง หรือรอยแตกหักกระทั่งปี พ.ศ.2469 พุทธศาสนิกชนชาวตรังได้ร่วมกันฟื้นฟูวัดพระงามขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง ตามหลักฐาน คือ นายรุ่น หวานขัน, นายเริ่ม พิรมภ์ และนางทองกิ้ม ไม่ทราบนามสกุล พร้อมญาติ โดยได้ร่วมกันบูรณปฏิสังขรณ์องค์พระทั้ง 3 องค์ในอุโบสถ เป็นศิลปะรัตนโกสินทร์ และให้ชื่อว่า 'พระพุทธาศุภมาศ ราษฎร์บูรณะ' ต่อจากนั้น กลุ่มโจรได้ถูกปราบปรามจนราบคาบหมดสิ้น ในขณะที่งานแย่งพระได้เปลี่ยนไปจัดที่วัดควนขันแทน ล่าสุดเมื่อปี พ.ศ.2553 วัดพระงาม ถูกลอบวางเพลิงถึง 2 ครั้ง แต่ โชคดีที่พระงาม มิได้เกิดความเสียหายแต่อย่างใด ยังคงอยู่คู่กับพุทธศาสนิกชนชาวตรังสืบมา

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

-

แก้ไขเมื่อ

2021-10-04

ข้อมูลสถิติ
หน่วยอนุรักษ์ฯ
ภาพประจำแหล่งศิลปกรรม
แผนงานและโครงการ
การเสนอแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ รายละเอียด งบประมาณ เอกสาร สถานะ
รายงานผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ งบประมาณ วันที่รายงาน เอกสาร