ที่ว่าการอำเภอเขาพลอยแหวน โรงเรียนปริยัติธรรม วัดเขาพลอยแหวน (อาทรวิทยา)


ละติจูด 12.60677 , ลองจิจูด 102.038807

พิกัด

วัดเขาพลอยแหวน อำเภอท่าใหม่ จันทบุรี 22120 ตำบลพลอยแหวน อำเภออำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี รหัสไปรษณีย์ 22120

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

พิพิธภัณฑ์ สถาปัตยกรรม พระราชวัง

ความสำคัญ/ลักษณะ

ที่ว่าการอำเภอเขาพลอยแหวน โรงเรียนปริยัติธรรม วัดเขาพลอยแหวน (อาทรวิทยา)

โรงเรียนพระปริยัติธรรม วัดเขาพลอยแหวน อาคารที่ว่าการอำเภอพลอยแหวนหลังเก่า ตั้งอยู่ในบริเวณวัดเขาพลอยแหวน "วัดเขาพลอยแหวน" จ.จันทบุรี อ.ท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี เป็นอาคารเรือนไม้ชั้นเดียว ยกพื้นสูงบนเสาคอนกรีตด้านยาวจำนวน ๑๐ ช่วงเสา ด้านข้าง ๕ ช่วงเสา คาดคะเนด้วยสายตา ๑ ช่วงเสาประมาณ ๒ เมตร อาคารหลังนี้มีขนาดกว้าง ๑๐ เมตร ยาว ๒๐ เมตร ปลูกสร้างบนผังอาคารรูปตัวที (T) หันหน้าไปทางทิศตะวันตก มีบันไดก่อด้วยคอนกรีตขนาบ ๒ ข้างของขาตัวที ซึ่งยื่นเป็นมุขออกมา ๑ ห้อง ตัวมุขสร้างบนผังสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดฐานกว้าง ๒ ช่วงเสา ยาว ๓ ช่วงเสา หลังคาทรงจั่ว (Gable Roof) ผนังกรุด้วยไม้ฝาแนวนอน พื้นเป็นไม้แผ่นหน้ากว้าง มีช่องแสงเป็นไม้ระแนงตั้งและช่องลมหน้าจั่วตีด้วยไม้ขวางแนวนอน ถัดลงมาติดป้ายไม้กระดานระบุข้อความไว้ ๒ บรรทัดว่า บรรดทัดแรก 'โรงเรียนปริยัติธรรม' บรรทัดที่สอง 'วัดเขาพลอยแหวน (อาทรวิทยา)' ตัวอาคารด้านหัวตัวที (T) เป็นอาคารไม้สร้างบนผังสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดฐานกว้าง ๓ ช่วงเสา ยาว ๑๐ ช่วงเสา หลังคาทรงปั้นหยา (Hip Roof) ครอบคลุมตลอดตัวอาคาร ภายในอาคารประกอบด้วยห้องโถง ๓ ห้อง กั้นด้วยฝาไม้แนวตั้งมีช่องลมด้านบนใต้ฝ้าเพดาน ด้านนอกหน้าห้องมีโถงทางเดินยาวตลอด กั้นด้วยระเบียงไม้ระแนง และไม้กันสาดฉลุลายประดับใต้หลังคาด้านหน้า และช่องแสงไม้ระแนงแนวตั้งเหนือห้องทั้ง ๓ ห้อง จากการสำรวจและสันนิษฐานไว้เบื้องต้น อาคารนี้น่าจะมีการต่อเติมในภายหลัง โดยแรกเริ่มสร้างเป็นอาคารผังสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดกว้าง ๓ ช่วงเสา ยาว ๑๐ ช่วงเสา หลังคาทรงปั้นหยา ประกอบด้วยพื้นที่ใช้งานแบ่งออกเป็น ๓ ห้องโถง พื้นอาจจะยกสูงมาแต่เดิมมีบันไดขึ้นเป็นไม้ตรงกลางด้านเดียว เนื่องจากอาคารมีถังบรรจุน้ำสร้างด้วยคอนกรีตขนาบอยู่ทั้ง ๒ ด้านซ้าย - ขวาหน้าอาคาร ต่อมาเมื่อเกิดมีความต้องการใช้พื้นที่มากขึ้นเนื่องจากเป็นโรงเรียนศูนย์กลางสอนพระปริยัติธรรมของอำเภอ จึงต้องมีการขยายพื้นที่ห้องเรียนเพิ่มเติม โดยต่อห้องเรียนด้านหน้าและสร้างบันไดเป็นคอนกรีตขนาบมุขที่ยื่นออกมาทั้ง ๒ ข้างข้อสันนิษฐานนี้สังเกตจาก ๑. ตัวมุขด้านหน้ามีการสร้างขึ้นบนผังสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดกว้าง ๒ ช่วงเสา ยาว ๓ ช่วงเสา โดยที่ฝีมือของการประดับช่องแสงและช่องระบายลมบนจั่วนั้นเป็นงานหยาบกว่าอาคารบนผังสี่เหลี่ยมผืนผ้าใหญ่ ๒. ตัวไม้กันสาดฉลุลายใต้อาคารแต่เดิมน่าจะประดับยาวตลอดแนวเหนือ-ใต้อาคารบนผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า แต่เมื่อมีการต่อมุขเพิ่มขึ้นได้มีการถอดไม้กันสาดฉลุลายในส่วนที่มุขมาสร้างทับออกและนำไปประดับแทรกไว้เพียงบางส่วนที่ช่องแสงเหนือห้องเรียนทั้ง ๒ ด้านเหนือ-ใต้๓. ทรงหลังคาอาคารบนผังสี่เหลี่ยมผืนผ้าใหญ่เป็นทรงปั้นหยา แต่อาคารมุขบนผังสี่เหลี่ยมผืนผ้าเล็กเป็นทรงจั่ว ซึ่งเป็นการผสมกันเรียกว่า ทรงปั้นหยายกจั่วหรือทรงมะนิลา (Manila Roof)๔. บันไดคอนกรีตทั้ง ๒ ด้านที่ขนาบมุขนั้นไม่เข้ากับรูปแบบสถาปัตยกรรมเดิมของอาคารบนผังสี่เหลี่ยมผืนผ้าใหญ่เท่าใดนัก (ตามที่สันนิษฐานไว้ว่าบันไดเดิมน่าจะเป็นบันไดไม้และมีบันไดเดียวอยู่ด้านหน้าตรงตำแหน่งมุขที่สร้างขึ้นทดแทน)๕. จากการสำรวจดูสภาพไม้ที่ทำคานรองรับอาคารและไม้ตง (Joists) พบว่ามีการต่อไม้ตงช่วงหัวทุกตัวจากช่วงเสาบนผังสี่เหลี่ยมผืนผ้าใหญ่ เพื่อเชื่อมต่อให้ยาวไปบนผังสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่เป็นมุขด้านหน้าสภาพอาคารในปัจจุบันถูกทิ้งร้างไว้อยู่ในสภาพทรุดโทรม มีปลวกขึ้นโดยทั่วไป

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

โรงเรียนพระปริยัติธรรม วัดเขาพลอยแหวน อาคารเรือนไม้ เป็นแหล่งศิลปกรรมที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้น (ประเภท อาคารเก่า) สถานการณ์ปัจจุบัน ยังไม่ได้รับการขึ้นทะเบียน ความสมบูรณ์ของลักษณะทางศิลปกรรมท้องถิ่นอยู่ในระดับปานกลางปราศจากภัยคุกคาม ตัวอาคารเรือนไม้มีสภาพทรุดโทรมและถูกทิ้งร้าง เนื่องจากขาดการดูแลรักษา

แก้ไขเมื่อ

2024-01-18

ข้อมูลสถิติ
หน่วยอนุรักษ์ฯ
ภาพประจำแหล่งศิลปกรรม
แผนงานและโครงการ
การเสนอแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ รายละเอียด งบประมาณ เอกสาร สถานะ
รายงานผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ งบประมาณ วันที่รายงาน เอกสาร