พระธาตุยาคู และใบเสมา


ละติจูด 16.3191762 , ลองจิจูด 103.5180786

พิกัด

หมู่ 7 บ้านเสมา ตำบลหนองแปน อำเภออำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ รหัสไปรษณีย์ 46130

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

วัด วัดร้าง ศาสนสถาน

ความสำคัญ/ลักษณะ

              ลักษณะของพระธาตุยาคูจากการขุดแต่งของกรมศิลปากรพบว่า กํอนที่จะเป็นองค์สถูปเจดีย์ ได้พบฐานเดิมซึ่งลึกลงไปจากสถานสถูปเจดีย์ในปัจจุบันอีกชั้นหนึ่ง กํอด้วยอิฐมีผังคล้ายรูปกากบาท แตํมีการยํอมุม ที่ตรงปลายของแตํละด้านที่ยื่นออกไปมีความสูงจากพื้นลํางขึ้นมาประมาณ 1 เมตร เศษ ตํอจากนั้นจึงเป็นฐานที่บูรณะขึ้นใหมํจากลักษณะที่เป็นกองอิฐธรรมดาตามรอยเดิมในลักษณะของฐานเขียง ผังแปดเหลี่ยมซ้อนกันสามชั้น และอีกชั้นที่สี่มีความสูงมากกวําทุกชั้นแตํทําสํวนบนสอบเข้าเล็กน้อย จากนั้นทําตอนบนเหนือขึ้นไปผายออกเล็กน้อย ทําส่วนบนสอบเข้าหาจุดศูนย์กลางโดยการกํออิฐลดหลั่นเป็นขั้นบันไดขึ้นไปตอนบน แล้วจึงเป็นองค์ระฆังแปดเหลี่ยม ทรงอวบอ้วนสอบเข้าตอนปลายเล็กน้อยจากองค์ระฆังขึ้นไปชํารุดแตํถูกบูรณะขึ้นใหม่

            จากการขุดค้นทางโบราณคดี ทำให้กำหนดอายุพระธาตุยาคูไว้ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 12–16 ฐานของเจดีย์ขุดพบใบเสมาสลักเป็นภาพเล่าเรื่องเกี่ยวกับพุทธประวัติปักไว้ที่ฐาน โดยมีเสมาหินทรายแผ่นหนึ่ง พบระหว่างการขุดแต่งองค์พระธาตุห่างไป 11 เมตร ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ โดยอยู่ในลักษณะที่คว่ำหน้าหันส่วยอดของปลายใบเสมาเข้าสู่องค์เจดีย์ ในความลึกจากระดับดินเดิมประมาณ 30 เซนติเมตร จากการศึกษาลักษณะประติมาณวิทยาของภาพสลัก แปลความได้ว่าเป็นภาพสลักเล่าเรื่องมโหสถชาดก กำหนดอายุได้ประมาณพุทธศตวรรษที่ 14–15 เช่นเดียวกับการกำหนดอายุของใบเสมาที่เมืองฟ้าแดดสงยา

              บริเวณพระธาตุยาคูชาวบ้านขุดค้นพบโบราณวัตถุต่างหลายอย่าง เช่น ใบเสมา ภาชนะเครื่องใช้ดินเผา กำไล แหวน กระดูกสัตว์ ลูกปัดแก้ว และเครื่องประดับชนิดต่าง ๆ และพระพิมพ์ดินเผาวางเรียงซ้อนทับกันจำนวนหลายร้อยองค์ เมื่อขุดลึกไปประมาณ 70 เซนติเมตร โดยรอบพระธาตุยาคูมีใบเสมาจำนวนหนึ่งปักไว้ ใบเสมาสลักบางแผ่นสลักภาพเล่าเรื่องชาดกในพุทธศาสนา เช่น ชาดกเรื่องมโหสถชาดก ชาดกเรื่องภูริทัตชาดก เป็นต้น ถัดออกไปทางทิศใต้ประมาณ 25 เมตร มีซากเจดีย์สมัยทวารวดีกระจายตัวอยู่รวมกันห้าองค์ พระพิมพ์มีทั้งสมบูรณ์และแตกหักชำรุด พระพิมพ์ดินเผาในพื้นที่พระธาตุยาคู เรียกว่า กรุฟ้าแดดสงยางสมัยทวารวดี ซึ่งมีหลายพิมพ์ด้วยกันคือ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง พิมพ์เล็กพิมพ์กลีบบัว (หลังกุ้ง) พิมพ์ปกโพธิ์ และพิมพ์พระแผง แต่พระพิมพ์ที่ได้รับความนิยมสูงสุดของพระกรุฟ้าแดดสงยางคือ พิมพ์ใหญ่นิยม องค์พระมีขนาดกว้าง 5 นิ้ว สูง 7 นิ้ว

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

-

แก้ไขเมื่อ

2022-02-21

ข้อมูลสถิติ
หน่วยอนุรักษ์ฯ
ภาพประจำแหล่งศิลปกรรม
แผนงานและโครงการ
การเสนอแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ รายละเอียด งบประมาณ เอกสาร สถานะ
รายงานผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ งบประมาณ วันที่รายงาน เอกสาร