แนวทางการอนุรักษ์


แนวทางการอนุรักษ์

  1. เร่งรัดและกระตุ้นให้หน่วยงานของรัฐและประชาชนเอาใจใส่ ควบคุม ดูแล อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรมอย่างถูกต้องเหมาะสม
  2. แก้ไขปรับปรุงกฎหมายให้เหมาะสมและได้ผลในทางปฏิบัติอย่างแท้จริง
  3. ป้องกันมิให้การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเป็นไปในทางที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมศิลปกรรม
  4. เสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจให้แก่บุคลากรในท้องถิ่นเพื่อทำหน้าที่รับผิดชอบร่วมกันในการคุ้มครองและรักษาสภาพแวดล้อมที่ดีแก่แหล่งศิลปกรรม
  5. ส่งเสริมให้มีการอบรมและสร้างสามัญสำนึกให้ประชาชนเกิดความรู้สึกหวงแหนและเห็นคุณค่าของศิลปกรรมและ สิ่งแวดล้อมที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับแหล่งศิลปกรรม
  6. พัฒนาวิธีการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมให้เกิดประโยชน์สูงสุดทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ตามแผนพัฒนาการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรม

ประโยชน์ที่จะได้รับ

  1. ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรทางวัฒนธรรม
    • ช่วยส่งเสริมคุณค่าและความสำคัญของแหล่งศิลปกรรม ซึ่งถือว่าเป็นทรัพยากรทางวัฒนธรรม (Cultural Resource) ให้เด่นชัดขึ้น
    • ช่วยให้เกิดความภาคภูมิใจในอารยธรรมอันเก่าแก่ของชาติ
    • ช่วยให้เกิดความสามัคคีในการร่วมมือร่วมใจ ดูแล ปกป้องและรักษาแหล่งศิลปกรรมที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ ให้คงอยู่ต่อไป
    • ช่วยเสริมสร้างชื่อเสียงที่ดีงามทางศิลปวัฒนธรรมให้แก่ประเทศชาติ
  2. ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
    • ช่วยเสริมสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีให้แก่ชุมชน
    • ช่วยเสริมสร้างให้ประชาชนในบริเวณนั้นมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
    • ช่วยให้ชุมชนมีแหล่งสันทนาการเพื่อประโยชน์ทางด้านสุขภาพอนามมัยจิตใจ
  3. ด้านการศึกษาและวิจัย
    • ช่วยยกระดับคุณภาพทรัพยากรบุคคลให้มีมาตรฐานสูงขึ้น ทั้งทางด้านวิชาการและทัศนคติ
    • ช่วยให้เยาวชนของชาติมีแหล่งความรู้ทางวิชาการที่จะนำไปสู่การศึกษาและวิจัย ซึ่งจะมีประโยชน์มาสู่ท้องถิ่นในอนาคต