หลักเกณฑ์การพิจารณามรดกชาติอันควรอนุรักษ์


เอกสารเผยแพร่ 21-09-2022 13:33:13 บุศราพร ใจมา

หลักเกณฑ์การพิจารณามรดกชาติอันควรอนุรักษ์

๑) หลักเกณฑ์ด้านแหล่งศิลปกรรม

เกณฑ์ข้อที่ ๑  เป็นผลงานชิ้นเอกจากอัจฉริยภาพการสร้างสรรค์ของมนุษย์

เกณฑ์ข้อที่ ๒  เป็นการแสดงถึงความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงคุณค่าของมนุษย์ตามกาลเวลา หรือในวัฒนธรรมด้านใดด้านหนึ่งของโลก ในการพัฒนาด้านสถาปัตยกรรม หรือทางเทคโนโลยี ศิลป สถาปัตยกรรมโบราณ การออกแบบผังเมือง หรือการออกแบบภูมิทัศน์

เกณฑ์ข้อที่ ๓  เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว

เกณฑ์ข้อที่ ๔  เป็นตัวอย่างที่โดดเด่นของประเภทอาคาร สิ่งก่อสร้าง งานสถาปัตยกรรม หรือผลงานทางเทคโนโลยี หรือภูมิทัศน์ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงช่วงเวลาที่สำคัญในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ

เกณฑ์ข้อที่ ๕  เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของวัฒนธรรมมนุษย์ ขนบธรรมเนียมประเพณีแห่งสถาปัตยกรรม วิธีการก่อสร้าง หรือการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม ซึ่งเสื่อมสลายได้ง่ายจากผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมตามกาลเวลา

เกณฑ์ข้อที่ ๖  เป็นผลงานที่มีความสัมพันธ์โดยตรง หรืออย่างเป็นรูปธรรม กับเหตุการณ์หรือประเพณีที่ยังดำรงอยู่  แนวคิด  ความเชื่อ  งานศิลปะ หรือวรรณกรรม ที่มีความสำคัญมาก

(การใช้เกณฑ์ข้อนี้ควรใช้ร่วมกับเกณฑ์ข้ออื่นอีกอย่างน้อย ๑ ข้อ)

 

๒) หลักเกณฑ์ด้านแหล่งธรรมชาติ

เกณฑ์ข้อที่ ๑  เป็นพื้นที่ที่มีปรากฏการณ์สุดยอดทางธรรมชาติ หรือเป็นพื้นที่ที่มีความงามตามธรรมชาติที่โดดเด่นและมีความสำคัญด้านสุนทรียภาพ

เกณฑ์ข้อที่ ๒  เป็นตัวอย่างที่โดดเด่น แสดงให้เห็นถึงขั้นตอนสำคัญในประวัติศาสตร์ของโลก (earth history)  รวมถึงบันทึกของชีวิต (record of life) กระบวนการสำคัญทางธรณีวิทยาที่ยังดำเนินอยู่อย่างต่อเนื่องในพัฒนาการของภูมิลักษณ์ (landforms) หรือ ลักษณะสำคัญทางธรณีสัณฐานหรือภูมิลักษณวรรณา (geomorphic or physiographic features)

เกณฑ์ข้อที่ ๓  เป็นตัวอย่างที่โดดเด่น แสดงให้เห็นถึงกระบวนการทางนิเวศวิทยาและชีววิทยาที่สำคัญในวิวัฒนาการและพัฒนาการของพื้นแผ่นดิน น้ำจืด ระบบนิเวศชายฝั่ง ระบบนิเวศทางทะเล และ ชุมชนของพืชและสัตว์

เกณฑ์ข้อที่ ๔  เป็นถิ่นที่อยู่ตามธรรมชาติที่สำคัญ และมีคุณค่าที่สุดสำหรับการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพในแหล่งที่ตั้ง (in situ conservation) รวมถึงถิ่นที่อยู่ของสิ่งมีชีวิตที่ถูกคุกคาม ซึ่งมีคุณค่าโดดเด่นในแง่ของวิทยาศาสตร์ หรือการอนุรักษ์

เกณฑ์ข้อที่ ๕  เป็นผลงานที่มีความสัมพันธ์โดยตรง หรืออย่างเป็นรูปธรรม กับเหตุการณ์หรือประเพณีที่ยังดำรงอยู่  แนวคิด  ความเชื่อ  งานศิลปะ หรือวรรณกรรม ที่มีความสำคัญมาก

(การใช้เกณฑ์ข้อนี้ควรใช้ร่วมกับเกณฑ์ข้ออื่นอีกอย่างน้อย ๑ ข้อ)

ไฟล์