กู่ช้าง-กู่ม้า


ละติจูด 18.586782 , ลองจิจูด 99.017877

พิกัด

ตำบลในเมือง อำเภออำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน รหัสไปรษณีย์ 51000

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

วัด วัดร้าง ศาสนสถาน

ความสำคัญ/ลักษณะ

กู่ช้างเป็นสถาปัตยกรรมที่เล่าสืบต่อกันมาว่าเป็นสถูปที่บรรจุบรรจุซากของพญาคชสาร ช้างปู้ (ผู้) ก่ำงาเขียว ซึ่งเป็นช้างคู่บารมีของพระเจ้ามหันตยศและพระเจ้าอนันตยศ พระราชโอรสของพระนางจามเทวี  กู่ช้างมีรูปแบบศิลปกรรมแบบสถูปบอบอจีที่เมืองสุธรรมวดี (สะเทิม) ซึ่งเป็นถิ่นของชาวมอญในประเทศพม่า ในพื้นที่เดียวกันนี้ ยังมีสถูปทรงระฆังที่มีสัณฐานค่อนข้างป้านอีก 1 องค์ เรียกว่า "กู่ม้า" ชาวบ้านเชื่อกันว่าเป็นสถูปที่บรรจุซากพญาอาชาคู่บารมีพระราชโอรสของพระนางจามเทวี 

กู่ช้าง - กู่ม้า เป็นโบราณสถานที่ตั้งอยู่บนที่ราบริมฝั่งแม่น้ำกวง  ลักษณะทางสถาปัตยกรรม ฐานเป็นฐานหน้ากระดานกลมห้าชั้น ก่อด้วยอิฐสอดิน ชั้นนอกสอปูน ฐานชั้นที่ห้าเป็นฐานบัวคว่ำ รองรับองค์เจดีย์ทรงกระบอก ปลายสอบเข้าหากัน ก่อด้วยอิฐธรรมดาขนาดเล็ก แกนในหล่อด้วยอิฐ สอดิน ผสมกับบางส่วนที่สอปูน ผิวนอกสุดฉาบปูน องค์เจดีย์ส่วนเหนือฐานบัวคว่ำถึงปลายยอดสุด ๘.๕๐ เมตร ความสูงจากหน้ากระดาน ชั้นที่ ๑ ถึงยอดสูงสุด ๑๓ เมตร เจดีย์กู่ช้างมีลักษณะรูปทรงแบบเดียวกับเจดีย์ บอ บอ คยี ของพม่า คือ มีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอก ตั้งอยู่บนฐานกลมห้าชั้น มีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๓ เจดีย์กู่ม้าตั้งอยู่ทางด้านทิศเหนือของเจดีย์กู่ช้าง เป็นเจดีย์ก่ออิฐสอดิน และฉาบปูนด้านนอกเหมือนเจดีย์กู่ช้าง ลักษณะทางสถาปัตยกรรมเป็นเจดีย์ทรงกลม หรือทรงระฆัง ด้านบนเป็นบัลลังก์ ส่วนยอดหักหายไปแล้ว เจดีย์กู่ช้าง - กู่ม้า ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๓

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

1. ขึ้นทะเบียนโบราณสถานเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2523

2. ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกจังหวัดลำพูน เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

แก้ไขเมื่อ

2021-05-12

ข้อมูลสถิติ
หน่วยอนุรักษ์ฯ
ภาพประจำแหล่งศิลปกรรม
- ไม่มีรูปภาพ -
แผนงานและโครงการ
การเสนอแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ รายละเอียด งบประมาณ เอกสาร สถานะ
รายงานผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ งบประมาณ วันที่รายงาน เอกสาร