วัดพระธาตุดอยภูเข้า (ภูข้าว ปูเข้า)


ละติจูด 20.3519899647 , ลองจิจูด 100.081490038

พิกัด

ตำบลเวียง อำเภออำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

วัด วัดร้าง ศาสนสถาน

ความสำคัญ/ลักษณะ

ดอยปูเข้าหรือดอยภูเข้าหรือดอยเชียงเมี่ยง ปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีมาตั้งแต่สมัยหินในยุคก่อนประวัติศาสตร์ การสำรวจของนักโบราณคดีที่ผ่านมาพบเครื่องมือหินกะเทาะ 2 หน้า เครื่องมือหินกะเทาะรูปไข่ ขวานหินขัด ลูกปัดดินเผา เศษภาชนะดินเผาเนื้อดินลายขูดขีด ลายกดประทับ และลายเชือกทาบ ส่วนพระธาตุปูเข้าหรือพระธาตุภูข้าว ตั้งอยู่บนดอยภูเข้าหรือดอยเชียงเมี่ยงบริเวณใกล้กับสบรวก สามเหลี่ยมทองคำ พงศาวดารโยนกกล่าวว่า เป็นสถานที่ซึ่งบุตรลาวจกผู้เป็นต้นวงศ์พญามังรายออกมาจับปูกัน ทั้งนี้คำว่า “ปู” คงเพี้ยนเสียงมาจากคำว่า “ภู” ซึ่งหมายความว่าภูเขา และคำว่า “เข้า” หมายถึง “ข้าว” เพราะเมืองเชียงแสนมีบริเวณที่ราบผืนใหญ่ที่สุดในบรรดาที่ราบริมแม่น้ำโขงที่ผ่านมา อันเป็นพื้นที่เหมาะสำหรับการปลูกข้าวที่ราบเชียงแสนจึงเป็นแหล่งผลิตข้าวจำนวนมาก โบราณวัตถุชิ้นสำคัญที่ได้จากการขุดแต่งวัดพระธาตุปูเข้าใน พ.ศ. 2506 ได้แก่ เครื่องมือหินกะเทาะ สถูปทรงระฆังจำลองสำริด ตุ้มหูหิน พระพิมพ์เนื้อชินรูปพระพุทธรูปปางมารวิชัย เป็นต้น ส่วนภาชนะดินเผาที่พบในการขุดค้น พ.ศ. 2545 มีทั้งภาชนะดินเผา จากเตาสันกำแพง เตาพาน เตาลำปาง เตาลำพูน และยังพบเครื่องถ้วยจีน ซึ่งกำหนดอายุไว้ราวพุทธศตวรรษที่ 19-21 ผลการศึกษาที่ผ่านมาทำให้สันนิษฐานได้ว่าบริเวณภูเข้ามีการใช้พื้นที่ของมนุษย์มาตั้งแต่สมัยหิน ยุคก่อนประวัติศาสตร์ จนล่วงเข้าสู่ยุคประวัติศาสตร์พบหลักฐานที่เก่าที่สุดราวพุทธศตวรรษที่ 19-20 (กำหนดอายุจากเครื่องถ้วยสันกำแพง เจดีย์หมายเลข 4 และเจดีย์ประธาน) ก่อนที่จะมีการสร้างเพิ่มเติมในช่วงพุทธศตวรรษที่ 21 (เจดีย์หมายเลข 2) โบราณสถานภายในวัดพระธาตุปูเข้า เป็นโบราณสถานร้างที่ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์และปรับปรุงพื้นที่ ปรับปรุงภูมิทัศน์เพื่อใช้งานเป็นพุทธศาสนสถานในปัจจุบัน ตั้งอยู่บนยอดดอยภูเข้าหรือดอยเชียงเมี่ยง ริมแม่น้ำโขง บริเวณสบรวกหรือสามเหลี่ยมทองคำ ซึ่งเป็นบริเวณที่มีแม่น้ำรวกไหลมาบรรจบกับแม่น้ำโขง

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

-

แก้ไขเมื่อ

2020-12-03

ข้อมูลสถิติ
หน่วยอนุรักษ์ฯ
ภาพประจำแหล่งศิลปกรรม
- ไม่มีรูปภาพ -
แผนงานและโครงการ
- ไม่มีเอกสาร -