วัดอาทิต้นแก้ว (ร้าง)


ละติจูด 20.280283041 , ลองจิจูด 100.085862036

พิกัด

ตำบลเวียง อำเภออำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

วัด วัดร้าง ศาสนสถาน

ความสำคัญ/ลักษณะ

วัดอาทิต้นแก้ว สร้างโดยพระเมืองแก้วเจ้าเมืองเชียงใหม่ ครั้งเสด็จยังเมืองเชียงแสนเมื่อ พ.ศ. 2049 (หรือ พ.ศ. 2058) ซึ่งตรงกับสมัยของหมื่นมณีครองเมืองเชียงแสน และเป็นวัดที่พระเมืองแก้วใช้เป็นที่ประชุมภิกษุสงฆ์ 3 ฝ่าย ใน พ.ศ. 2058 เพื่อลดความขัดแย้งและประนีประนอมระหว่างสงฆ์สำนักต่าง ๆ และเป็นองค์ประธานในการบวชกุลบุตรเชียงแสนในสำนักสงฆ์เหล่านั้นสามารถทำพิธีกรรมร่วมกันได้ โบราณสถานสำคัญของวัด ได้แก่ อุโบสถ วิหารตั้งอยู่ทางด้านหน้าหรือทางทิศตะวันออกของเจดีย์ ทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ก่ออิฐถือปูน ผนังสูง หลังคาเครื่องไม้ มุงกระเบื้องดินเผา หันหน้าไปทางทิศตะวันออก บนฐานชุกชีประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นประทับนั่ง วิหารหลังนี้สร้างทับวิหารหลังเดิม มีบันไดตัวเหงาอยู่ทางทิศใต้ เชื่อมต่อกับทางเดินไปอุโบสถขนาดเล็กที่ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเจดีย์ และเจดีย์ เป็นเจดีย์ก่ออิฐ พบว่ามีการก่อซ้อนกัน 2 องค์ โดยองค์นอกสร้างทับองค์ในไว้ กรมศิลปากรได้นำชิ้นส่วนเจดีย์องค์นอกออกบางส่วน เพื่อแสดงให้เห็นเจดีย์องค์ใน สำหรับรูปแบบเจดีย์องค์นอกเป็นทรงระฆังแบบล้านนาที่มีส่วนรองรับองค์ระฆังเป็นชุดฐานบัวสูง 3 ฐาน ประดับลูกแก้ว 2 รองรับองค์ระฆังอยู่ในฐาน 8 เหลี่ยม ส่วนรูปแบบเจดีย์องค์ใน เป็นเจดีย์ยอดดอกบัวตูม ที่มีฐานสูง (สำหรับฐานที่สูงนั้น อาจมีลักษณะเป็นเรือนธาตุ คล้ายเจดีย์องค์ในของวัดพระบวช ที่ปรากฏเรือนธาตุอยู่ต่ำเกือบติดพื้น โดยมีฐานเตี้ย ๆ รองรับก็ได้) คล้ายกับเจดีย์ทรงปราสาทยอดแบบสุโขทัย แต่มีการปรับแบบไม่ให้มีเรือนธาตุ จึงสันนิษฐานว่าเจดีย์องค์ในนี้ได้รับอิทธิพลศิลปะสุทัยในระยะแรก ๆ โดยที่ล้านนาได้รับอิทธิพลสุโขทัยอย่างมากในสมัยพระเจ้ากือนา จึงคาดว่าเจดีย์องค์ในคงสร้างในสมัยพระเจ้ากือนาในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 20 เหตุผลในการก่อครอบเจดีย์วัดอาทิต้นแก้วนั้น เชื่อว่ากระทำขึ้นเพื่อเป็นการสืบต่อพระพุทธศาสนา หรืออาจมีผลมาจากการขัดแย้งระหว่างนิกายทางศาสนา คือ นิกายฝ่ายสวนดอกกับนิกายฝ่ายป่าแดงหลวง สำหรับโบราณวัตถุที่ขุดพบเมื่อ พ.ศ. 2538 ส่วนใหญ่มีอายุในช่วงพุทธศตวรรษที่ 21-22 ร่วมสมัยกับเจดีย์องค์นอก เช่น พระพุทธรูปสำริดปางมารวิชัยที่ได้รับอิทธิพลสุโขทัยแล้ว เศียรพระพุทธรูปสำริด และเศียรพระพุทธรูปหินทราย เป็นต้น

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

-

แก้ไขเมื่อ

2020-12-03

ข้อมูลสถิติ
หน่วยอนุรักษ์ฯ
ภาพประจำแหล่งศิลปกรรม
- ไม่มีรูปภาพ -
แผนงานและโครงการ
- ไม่มีเอกสาร -