พระธาตุขามแก่น


ละติจูด 16.563497 , ลองจิจูด 102.951715

พิกัด

วัดเจติยภูมิ หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านขาม อำเภออำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น รหัสไปรษณีย์ 40140

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

วัด วัดร้าง ศาสนสถาน

ความสำคัญ/ลักษณะ

บ้านขามเคยเป็นเมืองมาตั้งแต่สมัยโบราณ เป็นเวลาประมาณ 2,000ปี ตั้งแต่ พ.ศ.500 โดยสร้างขึ้นเมื่อศตวรรษที่ 25 ตามประวัติได้กล่าวว่า โมริยกษัตริย์ เจ้าเมืองโมรัย์ซึ่งเป็นเมืองอยู่ในเขตของประเทศกัมพูชา มีความประสงค์ที่จะนำพระอังคารของพระพุทธเจ้าที่พระองค์ได้ไว้เมื่อครั้งพระพุทธเจ้าปรินิพพานไม่นานมาบรรจุที่องค์พระธาตุพนม จึงโปรดให้พระอรหันต์และพระเถระเจ้าคณะรวม 9 องค์ นำขบวนอัญเชิญพระอังคารมาในครั้งนี้ เมื่อผ่านมาถึงดอนมะขามแห่งหนึ่งซึ่งมีต้นมะขามใหญ่ที่ตายแล้วเหลือแต่แก่น เนื่องจากเป็นเวลาพลบค่ำและบริเวณนี้ภูมิประเทศราบเรียบดีจึงหยุดคณะพักชั่วคราว รุ่งเช้าจึงเดินทางต่อไปจนถึงภูกำพร้าปรากฏว่าพระธาตุพรมได้สร้างเสร็จแล้ว จึงเดินทางกลับและตั้งใจว่าจะนำพระอังคารธาตุกลับไปประดิษฐานไว้ในที่บ้านเมืองของตน แต่เมื่อเดินผ่านดอนมะขามอีกครั้งปรากฏว่าแก่นมะขาม ที่ตายแล้วนั้นกลับยืนต้นแตกกิ่งก้านผลิใบเขียวชอุ่มเป็นที่น่าอัศจรรย์ คณะอัญเชิญพระอังคารธาตุจึงพร้อมใจกันสร้างเจดีย์ครอบต้นมะขามนี้ พร้อมกับนำพร้อมกับนำพระอังคารธาตุและให้นามว่า
"พระธาตุขามแก่น" มาจนทุกวันนี้

          พระธาตุขามแก่น ลักษณะเจดีย์สูงประมาณ 10 เมตร มีฐานเป็นรูปบัวคว่ำ ผังสี่เหลี่ยมสอบขึ้นด้านบนปลายยอดเป็นฉัตรทอง องค์เรือนธาตุเป็นรูปดอกบัวตูมยอดย่อมุมไม้สิบสอง ด้านทิศตะวันออกติดกับองค์พระธาตุมี “สิม” หรือพระอุโบสถเก่า ซึ่งสร้างคู่กับพระธาตุมาแต่โบราณ เป็นสถาปัตยกรรมล้านช้าง มีรูปทรงสวยงามลายฉลุไม้ที่หน้าบัน ช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ และลายรวงผึ้งที่บริเวณซุ้มด้านหน้า ฝีมือประณีตและฝาผนังบริเวณประตูสิมมีภาพวาดฝีมือชาวบ้านรูปตำรวจถือ ปืนยาวเป็นทวารบาล

          องค์พระธาตุขามแก่นได้บูรณะจากกรมศิลปากร มีการปรับปรุงทาสีองค์พระธาตุ ขยายบริเวณกำแพงแก้วทั้ง 4 ด้านและตกแต่งให้มีทัศนียภาพที่สวยงาม พระธาตุขามแก่น ถือว่าเป็นสัญลักษณ์สำคัญของจังหวัดขอนแก่น จากการศึกษาทางสถาปัตยกรรมพบว่าพระธาตุรูปแบบนี้น่าจะสืบทอดรูปทรงมาจากพระธาตุศรีสองรัก ที่อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลยซึ่งสร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ และพระเจ้าไชยเชษฐา เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 22 แต่รูปทรงของเจดีย์องค์นี้ได้เปลี่ยนแปลงไปจากต้นแบบเดิมไปพอสมควร พระธาตุขามแก่นเป็นจุดยึดเหนี่ยวทางจิตใจ และมีความศักดิ์สิทธิ์คู่กับอีสานอีกแห่งหนึ่ง โดยทุกวันเพ็ญเดือน 6 จะมีงานฉลองพระธาตุขามแก่นเป็นประจำทุกปี

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

ปัจจุบันพระธาตุขามแก่นมีการปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณรอบๆ เช่น ปลูกต้นไม้ ทำสวนหย่อมและน้ำตก เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจของนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาสักการะ และนอกจากนั้นกำลังดำเนินการบูรณะสิมหรือพระอุโบสถเก่า ที่ตั้งอยู่ข้างพระธาตุขามแก่นโดยชาวบ้านเชื่อว่าสร้างคู่กับพระธาตุมาตั้งแต่สมัยโบราณ ซึ่งการบูรณะยังคงไว้ซึ่งลักษณะความเป็นสถาปัตยกรรมล้านช้าง
สำรวจ ณ วันที่ 13 มีนาคม 2565

แก้ไขเมื่อ

2022-07-21

ข้อมูลสถิติ
หน่วยอนุรักษ์ฯ
ภาพประจำแหล่งศิลปกรรม
แผนงานและโครงการ
การเสนอแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ รายละเอียด งบประมาณ เอกสาร สถานะ
รายงานผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ งบประมาณ วันที่รายงาน เอกสาร