แหล่งโบราณคดีโนนหินสีมา (แหล่งใบเสมาวัดป่าฟ้าระงึม)


ละติจูด 16.033532 , ลองจิจูด 102.695507

พิกัด

บ้านโนนงิ้ว หมู่ที่ 2 ตำบลหัวหนอง อำเภออำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น รหัสไปรษณีย์ 40110

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

แหล่งโบราณคดีทั้งที่ขุดค้นแล้ว และยังไม่ได้ขุดค้น โบราณวัตถุ

ความสำคัญ/ลักษณะ

มีลักษณะเป็นเนินดิน ห่างจากบ่อกระถินมาทางทิศตะวันออกประมาณ 400 เมตร และห่างจากแหล่งโบราณคดีโนนฟ้าระงึม (โนนเก่า) มาทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 250 เมตร เป็นแหล่งโบราณคดีที่เคยได้รับการสำรวจในปี 2528, 2554 2559 และ 2564 ซึ่งมีการสำรวจพบกลุ่มใบเสมาหินทราย ภาชนะดินเผาบรรจุกระดูกมนุษย์ เศษภาชนะดินเผา เครื่องประดับสำริดและเศษตะกรัน จากการสำรวจโดยกรมศิลปากรพบว่ามีการปักใบเสมาอย่างไม่เป็นระเบียบจำนวน 9 จุด จุดละ 1 ใบ สันนิษฐานว่า เป็นการปักใบเสมารูปแบบการปักเป็นกลุ่ม รอบเนินดินหรือพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งใบที่ 6 และใบที่ 7 มีการปักซ้อนกันในแนวตะวันออก-ตะวันตก เสมาส่วนใหญ่โผล่พ้นดินเพียงเล็กน้อย  มีการกำหนดลักษณะของเสมาไว้ ดังนี้ ใบที่ 1 ปีกอยู่บริเวณริมถนน ความสูงจากผิวดินประมาณ 20 เชนติเมตร กว้าง 50 เชนติเมตร ใบที่ 2 ความสูงจากผิวตินไม่สามารถวัดได้เนื่องจากใบเสมาหักเสมอพื้นดิน ความกว้างประมาณ 65 เซนติมตร หนา 19 เซนติเมตร อยู่ทางทิศใต้ใบที่ 1 ห่างประมาณ 7 เมตร ใบที่ 3 (ใต้ต้นแจ้ง) ความสูงจากผิวตินประมาณ 55 เซนติเมตร กว้าง 64 เซนติเมตร หนา 13 เชนติเมตร ตำแหน่งทิศใต้ของใบที่ 2 ระยะห่าง 4.55 เมตร ใบที่ 4 (ใต้ต้นมะค่า) ความสูงจากผิวดินประมาณ 45 เชนติเมตร กว้าง 80 เชนติเมตร หนา 16 เซนติเมตร ตำแหน่งทิศตะวันออกของใบที่ 3 ระยะห่าง 11.70 เมตร ใบที่ 5 แตกอกเป็นหลายชิ้น ส่วนที่ยังฝังอยู่ในดินมีลักษณะเป็นแผ่นบาง ๆ รูปทรงไม่ชัดเจน ความสูงจากผิวดินประมาณ 20เชนติเมตร กว้าง 57 เซนติเมตร หนา 12 เชนติเมตร ห่างจากใบที่ 4 ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือระยะ 10.20 เมตร ใบที่ 6 ความสูงจากผิวดินประมาณ 13 เซนติเมตร บริเวณที่โผล่คล้ายส่วนยอดของใบเสมา มีลักษณะเป็นรูปทรงสามเหลี่ยม กว้าง 43 เชนติเมตร หนา 17 เชนติเมตร อยู่ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของใบที่ 5 ระยะ 6.30 เมตร และอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของใบที่ 7 ห่างกัน 2.3 เมตร ใบที่ 7 รูปทรงคล้ายหินธรรมชาติ ความสูงจากผิวดินประมาณ 65 เซนติเมตร กว้าง 67 เชนติเมตร หนา 14 - 17 เช่นติเมตร อยู่ทางด้านทิศตะวันตกของใบที่ 6 ห่างกัน 2.30 เมตร อยู่ทางด้านทิศเหนือของใบที่ 5 ระยะ 5.60 เมตร และห่างจากใบที่ 6 มาทางทิศตะวันตกระยะ 2.30 เมตร ใบที่ 8 โบกปูนชีเมนต์ที่ฐาน ความสูงจากผิวดินประมาณ 44 เซนติเมตร กว้าง 42 เซนติเมตร หนา 11 เชนติเมตร อยู่ทางทิศตะวันออกของใบที่ 1 ห่างประมาณ 13.60 เมตร ใบที่ 9 ความสูงจากผิวดินประมาณ 6 เชนติเมตร กว้าง 50 เซนติเมตร หนา 11 เชนติเมตร ตำแหน่งที่พบอยู่ทางทิศตะวันออกของใบที่ 8 ห่างประมาณ 13.70 เมตร และอยู่ทิศเหนือของใบที่ 7 ห่างประมาณ 7 เมตร

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

ปัจจุบันบริเวณแหล่งโบราณคดีพบเศษภาชนะดินเผา และกลุ่มใบเสมาปักอยู่บนเนินดิน โดยเสมาทั้งหมดยังคงปักอยู่ในตำแหน่งเดิม  บริเวณแหล่งโบราณคดีชาวบ้านได้ร่วมกันบูรณะและประดิษฐานพระพุทธรูปสีวลี พื้นที่โดยรอบมีการใช้งานเป็นแหล่งเกษตรกรรมของชาวบ้าน และที่อยู่อาศัยของชาวบ้าน มีการก่อสร้างอาคารเอนกประสงค์ เพื่อใช้ในการจัดงานบุญของชาวบ้าน โดยเฉพาะในช่วงกรกฎาคมของทุกปี จะมีประเพณี “ทำบุญบ้านนา” ซึ่งจะมีการตั้งขบวนแห่บั้งไฟ ที่วัดป่าฟ้าระงึม แล้วแห่มาทำการจุดขอฝนที่บริเวณโนนหินสีมา และมีการสรงน้ำเสมาเป็นประจำทุกปี

แก้ไขเมื่อ

2024-02-24

ข้อมูลสถิติ
หน่วยอนุรักษ์ฯ
ภาพประจำแหล่งศิลปกรรม
แผนงานและโครงการ
การเสนอแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ รายละเอียด งบประมาณ เอกสาร สถานะ
รายงานผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ งบประมาณ วันที่รายงาน เอกสาร