พระพุทธไสยาสน์ บ้านพนอมทุ่ง (พิกัดใกล้กับโรงเรียนบ้านพนอม)


ละติจูด 17.7039360444 , ลองจิจูด 98.4255390069

พิกัด

ตำบลพนอม อำเภออำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

แหล่งโบราณคดีทั้งที่ขุดค้นแล้ว และยังไม่ได้ขุดค้น โบราณวัตถุ

ความสำคัญ/ลักษณะ

ประวัติความเป็นมา""บ้านพนอม"" เพี้ยนมาจากคำว่า ""พระนอน"" ก่อตั้งขึ้นประมาณ พ.ศ. 2327 ในสมัยรัชกาลที่ 1 ขึ้นครองราชย์ใหม่ ๆ เล่าว่ามีชาวกรุงเวียงจันท์ อพยพล่องเรือมาตามลำแม่น้ำโขง ขึ้นฝั่งเทียบท่าที่""ปากห้วยหนองเทา (โรงเรียนบ้านพนอมปัจจุบัน)"" ได้นำพระพุทธรูปสร้างด้วยปูน""ปางไสยาสน์"" พุทธลักษณะนอนตะแคงขวา รูปทรงอยู่ในปางทรมาน มีร่างกายซูบผอมเหลือแต่โครงกระดูก ยาว 1.20 เมตร ติดเรือมาด้วย จึงเรียกชื่อพระองค์นี้ว่า ""พระแจงแห้ง"" คือผู้ที่มีร่างกายผอมแห้งนั่นเอง ต่อมาพระแจงแห้งพลัดตกจากที่สูงจนเศียรหัก ร่ำลือว่าอาจจะเกิดอาเพศเหตุร้าย จึงตกลงนำพระแจงแห้งไปลอยแพในแม่น้ำโขง เพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์ จากนั้นก็ตั้งชื่อหมู่บ้านนี้ ตามรูปทรงของพระปางไสยาสน์ว่า ""บ้านพระนอน"" ภายหลังเพี้ยนมาเป็น""บ้านพนอม ต่อมา พ.ศ. 2382 สมัยรัชกาลที่ 3 บ้านพนอมได้ย้ายวัดและชุมชนจากปากห้วยหนองเทา (โรงเรียนบ้านพนอม) มาตั้งอยู่ที่ ""ปากห้วยไผ่"" บริเวณต้นโพธิ์ใหญ่ ตั้งชื่อว่า ""วัดศรีชมชื่น"" ภายหลังเกิดน้ำโขงกัดเซาะตลิ่งพัง จึงย้ายวัดไปสร้างแห่งใหม่ โดยมีพระพุทธรูปโบราณเป็นองค์ประธานอยู่ภายในอุโบสถ แต่ปี พ.ศ. 2520 มีโจรใจบาปแอบขโมยพระพุทธรูปดังกล่าวไป พ.ศ. 2455 ต้นรัชกาลที่ 6 หมู่บ้านพนอมยกฐานะเป็น""อำเภอพนอม"" มี ""ขุนชัยประชาบาล(แฉ่ง)"" เป็นนายอำเภอคนแรก ในปีเดียวกันนายอำเภอแฉ่งย้ายสลับตำแหน่งไปอยู่ อ.วาริชภูมิ จ.สกลนคร นายอำเภอพนอมคนที่สองชื่อ ""พระบริบาลสุภากิจ (คำสาย ศิริขันธ์)"" แต่เป็นอำเภอได้แค่ปีเดียว พ.ศ. 2456 ก็ยุบไปรวมกับ""เมืองไชยบุรี"" ก่อนจะขึ้นตรงกับ อ.ท่าอุเทน ในปัจจุบัน

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

-

แก้ไขเมื่อ

2020-12-03

ข้อมูลสถิติ
หน่วยอนุรักษ์ฯ
ภาพประจำแหล่งศิลปกรรม
- ไม่มีรูปภาพ -
แผนงานและโครงการ
- ไม่มีเอกสาร -