วัดพระบาทเวินปลา


ละติจูด 17.5022569936 , ลองจิจูด 98.7207250374

พิกัด

ทางหลวงหมายเลข 212 (ท่าอุเทน-บ้านแพง) ตำบลเวินพระบาท อำเภออำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม รหัสไปรษณีย์ 48120

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

วัด วัดร้าง ศาสนสถาน

ความสำคัญ/ลักษณะ

รอยพระพุทธบาทเวินปลา รอยพระพุทธบาทเวินปลา ตั้งอยู่ ณ วัดพระบาทเวินปลา บ้านเวินปลา ตำบลเวินพระบาท อำเภอท่าอุเทน ปรากฎอยู่บนโขดหินเล็ก ๆ ในแม่น้ำโขง ห่างจากฝั่งประมาณ100 เมตร ด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ มีเนินดินเล็ก ๆ ที่ชาวบ้านเรียกว่าดอนพระบาท และมีโขดหินเป็นที่ตั้งรอยพระพุทธบาท อยู่ในแนวตั้งเอน มีความยาวประมาณ 2-10 เมตร ด้านบนโขดหินมีลักษณะคล้ายรอยเท้ามนุษย์อยู่สองรอย รอยบนเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดกว้าง 55 เซนติเมตร ยาว 2.05 เมตร รอยล่างเป็นแผ่นแบบเรียบมีรูตรงกลาง มีรอยเหมือนนิ้วห้านิ้ว ปรากฏชัดเจนในช่วงหน้าแล้งของทุกปี ชาวบ้านได้ร่วมใจกันสร้างสะพานไม้ทอดยาวจากฝั่งไปสู่ดอนพระบาทในลำน้ำโขง เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนและนักท่องเที่ยวได้มากราบไว้บูชารอยพระพุทธบาทและชมวิวแม่น้ำโขงอย่างเต็มอิ่ม ประวัติ "รอยพระพุทธบาทเวินปลา"แห่งนี้ มีความสำคัญมาก และถูกบันทึกไว้ในหนังสือใบลานตำนานพระอุรังคธาตุสมัยสร้างพระธาตุพนมรุ่นแรกเมื่อปี พ.ศ. 8 หรือกว่า 2,500 ปีมาแล้ว ครั้งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหลังตรัสรู้เดินทางมาเผยแพร่พระ

ธรรมในชมพูทวีปลุ่มน้ำโขง ล่องมาตามลำแม่น้ำโขง ได้มีเหล่าพญานาคใต้เมืองบาดาล และพญาปลาปากคำที่เลื่อมใสในพระพุทธศาสนาได้แปลงกลายนิมนต์พระองค์ลงไปแสดงธรรมใต้บาดาล และก่อนที่พระองค์จะเสด็จขึ้นมาโลกมนุษย์ เหล่าพญานาคพญาปลาปากคำได้ร้องขอสิ่งศักดิ์สิทธิ์แทนพระองค์ไหว้กราบบูชา พระพุทธเจ้าจึงได้ประทับรอยพระบาทไว้บนโขดหินแห่งนี้ คือ "รอยพระพุทธบาทเวินปลา" มาถึงทุกวันนี้ โดยในช่วงหน้าฝนน้ำโขงขึ้นก็จะจมอยู่ใต้น้ำเป็นที่กราบไหว้ของสิ่งลี้ลับใต้บาดาล พอถึงช่วงหน้าแล้งน้ำโขงลดก็จะโผล่ขึ้นมาพ้นน้ำโขงให้ประชาชนไทย-ลาว กราบไหว้ในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน รอยพระพุทธบาทเวินปลาประดิษฐานอยู่บนโง่นหินกลางลำน้ำโขงซึ่งเป็นวังน้ำวน ชาวบ้านจึงเรียกกันว่า "เวิน" ซึ่งหมายถึงตั้งอยู่ในวังน้ำวน และเนื่องจากเป็นที่อยู่ของพญาปลาปากคำ จึงเรียกว่า"เวินปลา" ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ของทุกปีจะมีงานนมัสการรอยพระพุทธบาทเวินปลา มีการสรงน้ำรอยพระพุทธบาทและประเพณีรดน้ำดำหัว

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

วัดยังคงเป็นศูนย์กลางของชุมชน จึงได้รับความใส่ใจดูแลจากชุมชนโดยรอบ อยู่ภายใต้การดูแลของวัดและชุมชน ภายในวัดร่มรื่นสวยงาม สงบสะอาด

แก้ไขเมื่อ

2021-08-30

ข้อมูลสถิติ
หน่วยอนุรักษ์ฯ
ภาพประจำแหล่งศิลปกรรม
แผนงานและโครงการ
การเสนอแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ รายละเอียด งบประมาณ เอกสาร สถานะ
รายงานผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ งบประมาณ วันที่รายงาน เอกสาร