ละติจูด 17.3910949686 , ลองจิจูด 98.7922970151
พิกัด
ถนนสุนทรวิจิตร ตำบลในเมือง อำเภออำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม รหัสไปรษณีย์ 17000
ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ
วัด วัดร้าง ศาสนสถาน
ความสำคัญ/ลักษณะ
วัดมหาธาตุเป็นวัดที่ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.1150 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2464 เนื้อที่ 5 ไร่ 2 งาน 79 ตารางวา เดิมชื่อว่า “วัดมิ่งเมือง” ต่อมาชาวบ้านนิยมเรียกกันติดปากว่า “วัดธาตุ” โดยมีสาเหตุดังนี้
ในระยะแรกที่พระยามหาอำมาตย์(ป้อม) สร้างเมืองนครพนม ขึ้นนั้น มีเพียง วัดมหาธาตุ วัดเดียวเท่านั้นจึงขนามนามว่า วัดมิ่งเมือง(คือวัดมหาธาตุในปัจจุบัน) เป็นวัดใหญ่ประจำเมืองเป็นศูนย์กลางการปกครองการศึกษา มีพระมหาเถระ มีครูบาอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิเป็นผู้ปกคองดูแลและอำนวยการศึกษาอยู่เป็นประจำ และเป็นที่ประกอบพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาของข้าราชการใหญ่น้อย ยุคต่อมา วัดมิ่งเมือง ชาวบ้านทั่วไปเรียกกันติดปากว่า วัดธาตุ ทั้งนี้เพราะผู้เฒ่าผู้แก่ได้เล่าสู่ลูกหลานฟังเป็นทอดๆ มาว่าที่วัดมิ่งเมืองนี้ มีพระอรหันต์ สารีริกธาตุ บรรจุอยู่ในธาตุเจดีย์องค์หนึ่งในบริเวณวัดมิ่งเมือง มีเจดีย์ใหญ่บ้าง เล็กบ้าง หลายสิบองค์ เจ้าบ้านผู้ปกครองบ้านเมืองแต่ก่อนนิยมสร้างเจดีย์เป็นที่บรรจุอิฐของบิดามารดาปู่ย่าตายายใว้ในวัด ยิ่งถ้าเป็นผู้ใหญ่บ้านก็นิยมสร้างใว้ในวัดใหญ่ วัดมิ่งบ้านมิ่งเมือง เห็นว่าสมเกียรติ เป็นที่เชิดหน้าชูตามีสง่าราศรี ความนิยมเช่นนี้ก็เลยลุกลามมาถึงประชาชนทั่วไปใครสามารถพอจะทำได้ก็ทำ และตลอดมาจนถึงปัจจุบันนี้ ในวัดจึงเต็มไปด้วยธาตุเจดีย์ สร้างขึ้นมาเพื่อบรรจุอิฐ ซึ่งไม่เป๋นระเบียบเหมือนในปัจจุบัน วัดมิ่งเมืองนี้ จึงเต็มไปด้วยธาตุเจดีย์เป็นจำนวนมาก
ภายหลังเมื่อมีการสร้างพระธาตุขึ้น พระครูพนมนครคณาจารย์ ได้ทำการบันทึกเสนอขอตั้งชื่อวัดเป็น “วัดมหาธาตุ”
ปี พ.ศ. 2462 พระครูพนมคณาจารย์เจ้าอาวาสวัดมหาธาตุและเจ้าคณะจังหวัดนครพนม ได้เชิญผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม คือพระยาพนมครานุรักษ์ (อุ้ย นาครทรรภ) ข้าราชการผู้ใหญ่ ผู้เฒ่าผู้แก่หลักบ้านหลักเมืองและนิมนต์พระสงค์ พระผู้ใหญ่ในวัดเข้าร่วมประชุม โดยได้แถลงต่อที่ประชุมว่าอยากจะรื้อถอนธาตุเจดีย์เก่าแก่ คร่ำคราอันระเกะระกะไม่เป็นระเบียบอยู่ในวัดมากมาย เฉพาะอย่างยิ่งอยู่แถวมุมโบสถ์ด้านเหนือและด้านตะวันออก แล้วสร้างพระธาตุนครขึ้นมาใหม่
ในการสร้างพระธาตุเจดีนี้ ในส่วนที่เป็นลวดลายอันวิจิตรบรรจงตระการตาตลอดจนถึงทรวดทรงขนาดและสัดส่วนนั้น เป็นฝีมือของญาท่าวบุ บ้านหว้านใหญ่ อำเภอมุกดาหาร และญาท่าวม้าว บ้านเสาเล้า อำเภอท่าอุเทน
พระธาตุนคร เป็นพระธาตุทรงสี่เหลี่ยมจตุรัส กว้างด้านละ 4.85 เมตร สูงประมาณ 24 เมตร มีลักษณะตามแบบพระธาตุพนมองค์เดิม รูปทรงตั้งบนฐานใหญ่ 2 ฐาน ต่อลดหลั่นกันตามลำดับ แต่ละฐานมีรูปประตูอยู่ตรงกลางบนประตูเป็นรูปคล้ายบัวบาน มีรูปและลายต่างๆ ข้างประตูทำเป็นเครื่องไม้ดอกไม้ผล รูปพระราชาทรงช้างทรงม้า ต่อจากฐานใหญ่ทั้ง 2 ขึ้นไปแล้วก็มีลักษณะแหลมเรียวขึ้นตามลำดับตอนกลางในด้านทั้ง 4 วิจิตรไปด้วยหมู่ดาวกระจาย(ดอกกระจับ) ทำเป็นมุมเล็กเรียวขึ้นไปอีก แล้วทำเป็นรูปลักษณ์คล้ายกลีบบัวอีก ที่ยอดสูงก็คล้ายดอกบัวตูม ต่อจากนี้จึงเป็นฉัตรทองแดงเหลือง 7 ชั้น ยอดฉัตรนี้มีลูกแก้วเจียรไน 1 ดวง อยู่สูงสุดยอด
ฐานมีกำแพงล้อมรอบทั้ง 4 ด้าน มีซุ้มประตูอยู่ตรงกลางทุกด้าน เนือซุ้มประตูมีรูปปั้นเทพนั่งขัดสมาธิประนมมือ(เทพพนม) ซึ่งเป็นเทพมเหศักดิ์รักษาองค์พระธาตุที่มุมกำแพงมีเสาสูงขึ้นแล้ว ทำเป็นดอกบัวตูมบนยอดเสาภายในกำแพงกว้างด้านละ 13.30 เมตร นอกกำแพงมีธาตุดูกล้อมอีกชั้นหนึ่ง บนธาตุนั้นเป็นที่สำหรับวางดอกไม้ ธูปเทียนนคราวมีงานพิธีต่างๆ
สร้างเมื่อ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2463 โดยพระยามหาอำมาตย์ (ป้อม) แม่ทัพใหญ่ที่มจากเมืองเวียงจันทน์ ประเทศลาว และเสร็จเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2465 (เป็นพระธาตุที่ขุดเอาพระอรหันตธาตุ จากพระธาตุองค์เดิมมาสร้างเป็นองค์นี้) โดยมีการประกอบพิธีฉลองสมโภช และบรรจุอรหันตสารีริกธาตุ วันพุธ ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2465
พระธาตุนคร เป็นพระธาตุสีทอง มีลักษฯะสถาปัตยกรรมแบบพระธาตุพนม คือ มีรูปทรงสัณฐานเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสซ้อนลดหลัานขึ้นไปเป็นชั้นๆ พระธาตุสร้างแล้สเสร็จในปี พ.ศ.๒๔๕๖ ในรัชกาลที่๖ แล้วจึงบรรจุพระอรหันตธาตุ พระพุทะรูปทองคำ และพระพุทธรูปเงินซึ่งบรรจุในผอบไม้จันทน์แดงที่ได้มาจากพระธาตุองค์เดิม ทั้งยังได้เปิดโอกาศให้ประชาชนผู้มีจิตเลื่อมใสได้นำเครื่องลางของขลัง ครุฑ ขอ นอ งา ตระกรุด หรือเพชรนิลจินดาเงินทองตลอดจนพระพุทธรูปเก่าแก่ และของมีค่าอื่นใดที่พระสงฆ์ ฉลองสมโภชซึ่งถือเป็นงานประจำปีในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 ของทุกๆ ปี
สถานการณ์สิ่งแวดล้อม
วัดยังคงเป็นศูนย์กลางของชุมชน จึงได้รับความใส่ใจดูแลจากชุมชนโดยรอบ อยู่ภายใต้การดูแลของวัดและชุมชน ภายในวัดร่มรื่นสวยงาม สงบสะอาด
แก้ไขเมื่อ
2021-08-30
การเสนอแผนงานโครงการ
ปี | แผนงาน | ชื่อโครงการ | รายละเอียด | งบประมาณ | เอกสาร | สถานะ |
---|
รายงานผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
ปี | แผนงาน | ชื่อโครงการ | งบประมาณ | วันที่รายงาน | เอกสาร |
---|