กำแพงเมืองกำแพงเพชร


ละติจูด 16.4907919882 , ลองจิจูด 99.5167570386

พิกัด

ตำบลในเมือง อำเภออำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร รหัสไปรษณีย์ 62000

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

ชุมชนโบราณ เมืองโบราณ อุทยานประวัติศาสตร์

ความสำคัญ/ลักษณะ

เมืองกำแพงเพชรตั้งอยู่บนฝั่งซ้ายของแม่น้ำปิงตรงข้ามกับเมืองนครชุม ลักษณะผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมู วางแนวยาวตามทิศตะวันตกเฉียงเหนือถึงตะวันออกเฉียงใต้ ขนานไปกับแม่น้ำปิง ความยาวของกำแพงด้านเหนือประมาณ ๒,๒๐๐ เมตร ความยาวด้านใต้ประมาณ ๒,๐๐๐ เมตร ความกว้างด้านสกัดทางทิศตะวันออกประมาณ ๕๐๐ เมตร และด้านที่สำคัญทางทิศตะวันตกประมาณ ๒๕๐ เมตร แนวกำแพงด้านใต้ถูกรื้อทำลายไปประมาณ ๔๗๕ เมตร กำแพงเมืองกำแพงเพชร เดิมมีลักษณะเป็นกำแพงแบบมีคูน้ำคันดินสามชั้น ต่อมาได้มีการพัฒนากำแพงเมืองชั้นในเป็นกำแพงศิลาแลง มีการสร้างเชิงเทิน ใบเสมา และป้อมประตูรอบ กำแพงเมือง ที่เป็นคันดินชั้นกลางและชั้นนอก ยังคงเห็นร่องรอยอยู่บ้างบริเวณด้านทิศเหนือ ลักษณะการก่อสร้างกำแพงเมืองด้วยศิลาแลง แกนในเป็นดินที่ขุดจากคูเมืองขึ้นมาถมเป็นคันดิน จากนั้นจึงก่อศิลาแลงหุ้มแกนดินขึ้นไปจนถึงชั้นเชิงเทินและใบเสมา กำแพงเมืองโดยรอบมีป้อมประตูเข้าออกรวม ๑๐ ประตู ได้แก่ ประตูน้ำอ้อย ประตูบ้านโนน ประตูดั้น ประตูเจ้าอินทร์ ประตูหัวเมือง ประตูผี หรือประตูผีออก ประตูสุพานโคม ประตูวัดช้าง ประตูเตาอิฐ และประตูท้ายเมืองนอกจากประตูเข้า - ออก ทุกด้านของกำแพงเมืองแล้ว ยังมีป้อมปราการทั้งในแนวกำแพงเมือง และป้อมหน้าประตูเมือง ปัจจุบันเหลืออยู่เพียง ๙ ป้อม ได้แก่ ป้อมมุมเมือง ๓ ป้อม ป้อมเจ้าจันทร์ ป้อมเจ้าอินทร ป้อมเพชร ป้อมประตูวัดช้าง ป้อมประตูเผาอิฐ และป้อมประตูบ้านโนน ถัดจากกำแพงเมืองศิลาแลงเป็นคูเมืองกว้างประมาณ ๓๐ เมตร พบหลักฐานว่ามีระบบน้ำจากแม่น้ำปิงเข้ามาหล่อเลี้ยงคูเมืองทั้งสามชั้น โดยการสร้างคลองไขน้ำเข้าสู่คูเมืองบริเวณมุมเมืองด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ เมื่อน้ำเข้าสู่คูเมืองเต็มที่เแล้ว ก็จะมีการระบายน้ำออกทางมุมเมืองด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ น้ำที่ระบายออกจะไหลไปรวมกับคลองแม่น้ำเก่าที่ไหลไปยังหมู่บ้านลำมะโกรกรูปทรงและโครงสร้างของเมืองกำแพงเพชร จะเห็นได้ว่าเป็นเมืองที่ได้รับอิทธิพลรูปแบบวัฒนธรรมสุโขทัย โดยสืบเนื่องมาจากเมืองนครชุม และมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องมาถึงสมัยอยุธยา มีการสร้างศาสนสถานขนาดใหญ่อยู่กลางเมืองเรียกว่า วัดหลวง และในบริเวณเดียวกันนั้นเป็นเขตวังเจ้าเมืองหรือวังหลวง จากนั้นมีการสร้างวัดอยู่นอกเมืองเรียกว่า เขตอรัญญิก ซึ่งแบบแผนการสร้างวัดเช่นนี้มีมาแล้วในสมัยสุโขทัย สร้างด้วยศิลาแลง เป็นกำแพงชั้นเดียว นอกกำแพงมีคูกว้างและลึก มีอยู่ 8 ป้อมด้วยกัน สร้างติดกับกำแพงเมือง 7 ป้อม อีกป้อมหนึ่งอยู่ใกล้สะพานกำแพงเมือง สร้างเป็นเชิงเทินมี 2 ตอน ตอนล่างเป็นมูลดินสูงขึ้นไป 3-4 เมตร ตอนบนก่อด้วยศิลาแลง เป็นเชิงเทินมีใบเสมาบนสันกำแพงมีทางเดินกว้างพอให้ทหารเดินสวนกันได้ ใต้ใบเสมาของกำแพงมีช่องรูปสี่เหลี่ยมสำหรับใช้ยิงปืนออกมา และไว้สำหรับมองข้าศึก ประตูเมืองมีอยู่ 8 ประตู

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

-

แก้ไขเมื่อ

2019-02-27

ข้อมูลสถิติ
หน่วยอนุรักษ์ฯ
ภาพประจำแหล่งศิลปกรรม
- ไม่มีรูปภาพ -
แผนงานและโครงการ
การเสนอแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ รายละเอียด งบประมาณ เอกสาร สถานะ
รายงานผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ งบประมาณ วันที่รายงาน เอกสาร