ภาพเขียนสีเขาจันทร์งาม (พิกัดใกล้วัดเลิศสวัสดิ์)


ละติจูด 14.8149199824 , ลองจิจูด 101.594290994

พิกัด

ตำบลลาดบัวขาว อำเภออำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

แหล่งโบราณคดีทั้งที่ขุดค้นแล้ว และยังไม่ได้ขุดค้น โบราณวัตถุ

ความสำคัญ/ลักษณะ

ภาพเขียนสีเขาจันทร์งามเป็นแหล่งศิลปะถ้ำยุคก่อนประวัติศาสตร์เพียงแห่งเดียวในจังหวัดนครราชสีมาเท่าที่พบในปัจจุบัน มีอายุอยู่ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายภาพเขียนสีเขาจันทร์งามตั้งอยู่ในพื้นที่วัดเลิศสวัสดิ์ (เขาจันทร์งาม) ซึ่งเป็นวัดราษฎร์สังกัดมหานิกาย ก่อตั้งเป็นธุดงคสถานหรือสำนักสงฆ์เขาจันทร์งามเมื่อ พ.ศ. 2520 และได้รับการประกาศให้เป็นวัดเมื่อ พ.ศ. 2538 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. 2548 ปัจจุบันเจ้าอาวาสคือ พระครูบวรสีลวัตรภาพเขียนสีพบอยู่ที่ด้านทิศใต้ของวัด สภาพโดยทั่วไปมีก้อนหินทรายขนาดใหญ่ตั้งเรียงรายกันหลายก้อนเป็นกลุ่มใหญ่ บางก้อนตั้งอยู่ซ้อนกัน ระหว่างก้อนหินแต่ละก้อนมีช่องทางสามารถเดินลัดเลาะผ่านได้บริเวณที่ปรากฏภาพเขียนสีมีก้อนหินทรายขนาดใหญ่หลายก้อนเรียงตัวขนานกันตามแนวตะวันตกเฉียงเหนือ–ตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้เกิดช่องว่างตรงกลางเป็นแนวยาว แต่ช่องว่างระหว่างหิน 2 แนวในจุดที่พบภาพเขียนสีจะมีความกว้างมากที่สุด ภาพเขียนสีปรากฏอยู่ตามหลืบหินและเพิงหินของก้อนหินทราย 4 ก้อน ทั้งฝั่งด้านทิศตะวันออกและตะวันตกพื้นที่ระหว่างก้อนหิน 2 ก้อนที่ปรากฏภาพเขียนสีฝั่งทิศตะวันออกมีการทำเป็นแท่นซีเมนต์สูงจากพื้นดินตลอดแนว สำหรับประดิษฐานพระพุทธรูปและเป็นอาสนะสำหรับสงฆ์ (ห้ามฆราวาสขึ้นไปบนแท่น) ส่วนฝั่งด้านทิศตะวันตกภาพเขียนสีปรากฏบนผนังก้อนหิน 2 ก้อนที่ตั้งซ้อนกันอยู่ ข้างก้อนหินมีบันไดซีเมนต์สำหรับเป็นทางขึ้นสู่พื้นที่ด้านบนภาพเขียนสีทั้งหมดเขียนด้วยสีแดง อยู่สูงจากพื้นดินประมาณ 2-4 เมตร การศึกษาที่ผ่านมาของกรมศิลปากรและมหาวิทยาลัยศิลปากรได้จัดแบ่งภาพเขียนสีที่พบเป็น 12 กลุ่มตามตำแหน่งที่พบ โดยรวมแล้วมีภาพทั้งหมด 44 ภาพ เป็นภาพคน 32 ภาพ ภาพสัตว์ 5 ภาพ (สุนัข นกหรือไก่ ตะกวด? เม่น? เสือ?) คันธนูและลูกศร 1 ภาพ และไม่ทราบว่าเป็นภาพชนิดใด 5 ภาพ เทคนิคการเขียนภาพมี 2 แบบ คือ ภาพเงาทึบและลายเส้นโครงร่างภายนอก ภาพคนส่วนใหญ่มีส่วนน่องโต มีผ้านุ่ง ไม่สวมเสื้อ ผู้หญิงจะมีหางนกห้อยมาจากกระเบนเหน็บและพู่ประทับบนหัว

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

-

แก้ไขเมื่อ

2020-12-03

ข้อมูลสถิติ
หน่วยอนุรักษ์ฯ
ภาพประจำแหล่งศิลปกรรม
- ไม่มีรูปภาพ -
แผนงานและโครงการ
- ไม่มีเอกสาร -