วัดปรางค์ (วัดกลาง) หรือ วัดปรางค์ทอง


ละติจูด 15.033642 , ลองจิจูด 102.04409

พิกัด

หมู่บ้าน พุทรา ตำบลพุดซา อำเภออำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา รหัสไปรษณีย์ 30000

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

วัด วัดร้าง ศาสนสถาน

ความสำคัญ/ลักษณะ

ปราสาทวัดปรางค์ทอง หรือปรางค์พุดซา ตั้งอยู่ที่บ้านพุดซา ตำบลพุดซา อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา เป็นปราสาทอิฐขนาดเล็กองค์เดียว แม้ว่าจะถูกปฏิสังขรณ์จนเปลี่ยนรูปทรงไปมากแล้ว แต่ยังมีที่น่าสนใจ ได้แก่ ทับหลังทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือทางเข้าสู่ครรภหะ ซึ่งเป็นทับหลังศิลปะบันทายสรี อายุราวครึ่งแรกของพุทธศตวรรษที่ 16 สันนิษฐานว่าตัวปราสาทน่าจะสร้างขึ้นในระยะเวลานี้ด้วย ส่วนของโบราณสถานแยกออกเป็นสองกลุ่มคือ กลุ่มของศาสนสถานแบบขอม ซึ่งประกอบด้วย ปรางค์ก่อด้วยอิฐ มีทับหลังทำด้วยหินทรายสลักลายเป็นรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ อยู่ที่ซุ้มประตูทางด้านทิศตะวันออก ซึ่งเป็นด้านหน้า นักวิชาการวิเคราะห์ว่าทับหลังชิ้นนี้เป็นทับหลังศิลปะขอบแบบบันทายศรี ซึ่งพบน้อยมากในประเทศไทย องค์ปรางค์มีประตูหลอกอีก 3 ด้าน กรอบประตูทำด้วยหินทราย ส่วนบนเหนือเรือนฐานเหลือชั้นหลังคาของเดิม 1 ชั้น เหนือขึ้นไปเป็นส่วนที่ทำยอดใหม่โดยทำเป็นรูปกรวยสี่เหลี่ยมแบบเจดีย์ของลาวล้านช้างสมัยภายหลัง ภายในเรือนธาตุเจาะเป็นคูหาหรือห้องสี่เหลี่ยม บนผนังภายใน 3 ด้าน ยังมีภาพจิตรกรรมฝาผนังที่เขียนขึ้นสมัยหลังซึ่งเลือนรางมาก ทางด้านทิศตะวันออกของปรางค์มีเนินดิน ซึ่งควรจะเป็นซากอาคารโบราณสถาน จากตำแหน่งของเนินดินทำให้ทราบว่า โบราณสถานแห่งนี้ไม่ใช่ปรางค์องค์เดี่ยวโดด ๆน่าจะเป็นปรางค์ 3 หรือ 5 องค์มีแนวแกนตะวันออก-ตะวันตก ตรงกับซากมูลดินของซากอาคารด้านหน้า ปรางค์ที่ปรากฏน่าจะเป็นปรางค์ที่อยู่ด้านข้างขององค์ประธาน เมื่อกรมศิลปากรได้ทำการขุดแต่งดูรากฐาน จึงพบว่ามีรากฐานของปรางค์ซึ่งทำด้วนหินทรายอีก 2 องค์ รวมเป็นกลุ่มปรางค์ 3 องค์ รวมเป็นกลุ่มปรางค์ 3 องค์เรียงจากทิศเหนือใต้ องค์ที่ยังเหลือให้เห็นอยู่นี้ คือองค์ด้านทิศใต้ และส่วนที่ 2 คือพระอุโบสถของวัดที่สร้างขึ้นใหม่ แต่ได้รวบร่วมเอาทับหลัง ศิลาฤกษ์ฯลฯ ศิลามีลายจำหลัก ซึ่งเป็นส่วนประกอบต่าง ๆของศาสนสถานขอมที่พบในเขตโบราณสถานบริเวณปรางค์ทองและปราสาทวัดบนซึ่งอยู่ไปทางทิศตะวันตกของวัดโบราณสถานแห่งนี้สามารถกำหนดอายุได้ค่อนข้างชัดเจน เนื่องจากทับลายบนทับหลัง รูปประติมากรรมหลายชิ้น และการเข้ากรอบประตูหิน ซึ่งคงจะสร้างขึ้นเมื่อต้นราวพุทธศตวรรษที่ 16 นอกจากนี้ บริเวณบ้านพุดซาซึ่งเป็นที่ตั้งของวัดปรางค์ทองปัจจุบัน สันนิษฐานว่าอดีตเคยเป็นปราสาทของพระเจ้าหรรษวรมันที่ 1 ซึ่งเป็นโอรสของพระเจ้ายโสวรมัน แห่งอาณาจักรขอม เมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 15

 

 

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

หมายเหตุ : เปลี่ยนชื่อตำบลพุทรา เป็น ตำบลพุดซา

๑. สภาพปัจจุบัน

          องค์ปรางค์และสภาพแวดล้อมรอบองค์ปรางค์ทองได้มีการขุดลอกเนินดินบริเวณรอบด้านไปถมสระน้ำข้างวัด ทำให้เนินดินที่เคยขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานหายไป เหลือเพียงตัวปรางค์เพียงองค์เดียว และยังมีการปรับภูมิทัศน์โดยรอบองค์ปรางค์ เพื่อให้มีความสวยงามเหมาะแก่การท่องเที่ยวและสถานที่ศึกษาความด้านโบราณคดี

 

๒. การเปลี่ยนแปลง

          ๑) องค์ปรางค์มีลักษณะเอียงค่อนข้างมาก  เมื่อเปรียบเทียบจากภาพถ่ายเก่าที่มีการถ่ายไว้เมื่อปี ๒๔๗๙

          ๒) การขุดลอกเนินดินบริเวณรอบองค์ปรางค์ไปถมสระน้ำข้างวัด ทำให้เนินดินที่เคยขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานหายไป

          ๓) อุโบสถอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์และมีการอนุรักษ์อย่างดี และยังเป็นสถานที่เก็บรักษาโบราณวัตถุ (ทับหลัง) บางชิ้นไว้

          ๔) โบราณวัตถุที่พบบริเวณองค์ปรางค์ และโบราณสถานในบริเวณใกล้เคียง ถูกนำมาเก็บรักษาไว้ภายในศาลาการเปรียญของวัด

 

๓. ปัจจัยการเปลี่ยนแปลง

          ๑) องค์ปรางค์ปัจจุบันได้ทรุดโทรมมากขึ้น อันเกิดการการทรุดตัวของดิน

          ๒) พระอุโบสถยังมีสภาพสมบูรณ์ เห็นได้จากการที่เปิดให้พุทธศาสนิกชนเข้าไปประกอบพิธีกรรมทางศาสนา 

          ๓) การปรับสภาพเนินดินบริเวณโดยรอบองค์ปรางค์ เพื่อวัตถุประสงค์ในการท่องเที่ยว และเพื่อนำดินไปถมสระน้ำเพื่องานสาธารณประโยชน์

 

 

บทสรุป

          วัดปรางค์ทอง  เป็นพระปรางค์เก่าแบบเขมร หรือ ขอม  ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองนครราชสีมาประมาณ ๑๐ กิโลเมตร  โดยตัวปรางค์นั้นอยู่ในลักษณะค่อนข้างเอียงทำให้เสี่ยงต่อการพังลงมา ปัจจุบันวัดปรางค์ทองใช้เป็นที่ศึกษาความรู้องชุมชนและโรงเรียนเพื่อใช้เป็นสถานศึกษาศิลปะแบบเขมร  และบริเวณโดยรอบขององค์ปรางค์ได้มีการปรับภูมิทัศน์  เพื่อให้มีความสวยงามและสะดวกแก่การศึกษา  โบราณสถานแห่งนี้จึงควรที่จะอนุรักษ์ไว้เพื่อให้เยาวชนรุ่นหลังได้ศึกษาประวัติความเป็นมาของศิลปะเขมรที่อยู่ในชุมชนของตนเองและเห็นคุณค่าของการศึกษาศิลปะแบบเขมรในประเทศไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

แก้ไขเมื่อ

2022-08-05

ข้อมูลสถิติ
หน่วยอนุรักษ์ฯ
ภาพประจำแหล่งศิลปกรรม
แผนงานและโครงการ
การเสนอแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ รายละเอียด งบประมาณ เอกสาร สถานะ
รายงานผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ งบประมาณ วันที่รายงาน เอกสาร