วัดพระนารายณ์มหาราช/วัดกลาง (วัดพระนารายณ์มหาราชวรวิหาร)/วัดกลางนคร


ละติจูด 14.975251 , ลองจิจูด 102.107212

พิกัด

ตำบลในเมือง อำเภออำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา รหัสไปรษณีย์ 17000

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

วัด วัดร้าง ศาสนสถาน

ความสำคัญ/ลักษณะ

วัดกลาง เป็นวัดที่สร้างมาพร้อมเมืองโคราช สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงโปรดให้สร้างเมืองหน้าด่าน ขึ้นในปี 2205เพื่อป้องกันการรุกรานของเขมร ลาว ญวน และ เป็นหัวเมืองควบคุมเขมรป่าดง ที่ตอนนั้นขึ้นต่อกรุงศรีอยุธยา โดยโปรดให้ช่างชาวฝรั่งเศสออกแบบเมืองที่มีป้อมปราการแบบฝรั่งเศสโปรดเกล้าฯให้พระยายมราช (สังข์) เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้างเมื่อสร้างเสร็จก็ส่งขุนนางเข้ามาประจำ มีชาวบ้านอพยพเข้ามาอยู่มากขึ้นมีการสร้างวัดขึ้นในกำแพงเมือง 6 วัด สามวัดสร้างโดยขุนนาง คือ วัดกลางเมือง(วัดพระนารายณ์มหาราช) , วัดสระแก้ว และ วัดบึงวัดจึงดูสวยงามพิถีพิถันตามแบบขุนนางสร้างสามวัดสร้างโดยคหบดีและชาวบ้าน คือ วัดพายัพ , วัดอิสาน และ ,วัดบูรพ์วัดจึงดูสวยงามแบบชาวบ้านสร้างจึงเป็นที่มาของการเดินสำรวจพระประธานในอุโบสถวัดในกำแพงเมืองโคราชอีกครั้ง ดกลางสร้างขึ้นราว พ.ศ. 2220 ตั้งอยู่กลางเมืองนครราชสีมาเพราะมีศาลพระนารายณ์ และสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นพร้อมกับการสร้างเมืองนครราชสีมาจึงชื่อว่า วัดพระนารายณ์มหาราชจึงเรียกชื่อวัดนี้ว่าวัดพระนารายณ์ เทวรูปยืน ของพระนารายณ์สี่กรสูง 17 นิ้ว สร้างจากหินทรายศิลปะขอม หรือ ลพบุรีปกติท่านจะถือ หอยสังข์ จักร คฑา พระขรรค์ ลูกศร, ธนู ดอกบัวน่าจะมีจักร และหอยสังข์ ใช้เป่าให้สัญญาณกับไพร่พล มีพระอุโบสถตั้งอยู่กลางน้ำ พระประธานเป็นปางมารวิชัย มีซุ้มเรือนแก้ว ศิลปะสุโขทัยแบบพระพุทธชินราชตามแบบพระประธานองค์เดิม ที่พระองค์นี้ครอบไว้ วัดกลางเป็นวัดในกำแพงเมืองวัดเดียวในหกวัดที่มีวิหารวิหารหลังเก่าถูกไฟไหม้เมื่อคราวสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ เสด็จประพาสนครราชสีมาได้ทรงพระราชทานพระทานเงิน 400 บาท เพื่อบูรณะวิหารขึ้นมาใหม่วิหารเดิมเปิดโล่ง นอกจากนี้ ยังมีพระทศพลญาณประทานบารมีเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย มีซุ้มเรือนแก้วศิลปะสุโขทัยแบบพระพุทธชินราชสร้างสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชถือเป็นพระประธานองค์แรกของจังหวัด มีพระพุทธรูปไม้สักสามพี่น้องสร้างพร้อมพระวัดในสมัยพระนารายณ์มหาราชพระทอง พระสุข พระเงิน พระท่านเล่าว่าลุงโฮเคยหนีมาหลบซ่อนที่วัดนี้ ท่านได้เคยบริจาคเงินสร้างซุ้มประตูวัดด้านทิศใต้ และสร้างศาลาไว้ (ปัจจุบันศาลาได้ถูกรื้อสร้างขึ้นใหม่) และเมื่อท่านเสียชีวิตจึงมีชาวเวียดนามที่โคราชทำบุญให้ท่าน

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

หมายเหตุ : พระอุโบสถได้รับการบูรณะส่วนหลังคาและทาสีใหม่ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๔ โดยชาวนครราชสีมา และเมื่อประมาณเดือน เมษายน-พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๙ ทางวัดได้รื้อพระอุโบสถดังกล่าวลง

สภาพปัจจุบัน

          พระอุโบสถกลางน้ำในปัจจุบัน ตัวของพระอุโบสถได้ถูกสร้างขึ้นมาใหม่ ทั้งหมดโดยสร้างทับฐานเดิมของพระอุโบสถเก่า รูปแบบของอาคารยังมีการลอกเลียนแบบมาจากรูปแบบเดิมอยู่บ้าง โดยหลังคาจะเป็นแบบหน้าจั่วลดหลั่นสามชั้น ทางด้านทิศตะวันออกหน้าบันเป็นรูปพระนารายณ์ทรงครุฑ ฝาผนังเป็นรูปพระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญเพียร มีประตูสามบาน ส่วนทางด้านทิศตะวันตกทางเดินจากสะพาน หน้าบันเป็นรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ฝาผนังเป็นรูปเจ้าชายสิทธัตถะทรงออกผนวก มีประตูสองบาน บริเวณรอบๆพระอุโบสถมีใบเสมาที่ล้อมรอบจำนวนแปดใบ ฐานของระอุโบสถเริ่มทรุดเนื่องจากน้ำกัดเซาะ

          ที่บรรจุอัฐิท้าวสุรนารี ก่อด้วยอิฐโบกปูน ในปัจจุบันบริเวณบรรจุอัฐินั้นได้ถูกปรับให้เป็นพื้นที่สำหรับจอดรถด้านหลังกุฏิของพระภิกษุสงฆ์วัดพระนารายณ์

 การเปลี่ยนแปลง

          พระอุโบสถกลางน้ำในสมัยก่อนนั้นทรงเดิมจะเป็นทรงเรือสำเภาแต่หลังจากมีการบูรณะใหม่หลายครั้งก็ไม่แอ่นเหมือนเดิม รวมถึงหลังคาสมัยก่อนจะเป็นแบบหน้าจั่วสองชั้นแต่ปัจจุบันมีการสร้างหลังคายื่นมาข้างหน้าอีกหนึ่งชั้นมีภาพจิตกรรมฝาผนังทั้งด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตก บริเวณรอบๆพระอุโบสถมีใบเสมาล้อมรอบจำนวนแปดใบซึ่งใบเสมาเหล่านี้เป็นการจำลองขึ้นเพราะใบเสมาเดิมผุพังลง มีการตกแต่งพระอุโบสถให้มีความสวยงามมากยิ่งขึ้น

            ที่บรรจุอัฐิคุณหญิงโมก่อด้วยอิฐโบกปูนปัจจุบันเปลี่ยนไปจากเดิมหมดแล้วไม่เหลือที่เก็บอัฐิ สถานที่กลายเป็นพื้นที่สำหรับจอดรถของวัดพระนารายณ์

 

ปัจจัยการเปลี่ยนแปลง

          พระอุโบสถกลางน้ำ

          ๑) เนื่องจากพระอุโบสถกลางน้ำสร้างขึ้นมาตั้งแต่สมัยอยุธยาซึ่งสร้างมาเป็นระยะเวลานานจึงทำให้พระอุโบสถผุพังไปตามกาลเวลา

          ๒) เนื่องจากพระอุโบสถตั้งอยู่กลางน้ำ ทำให้ฐานของพระอุโบสถถูกน้ำกัดเซาะ และส่วนของพระอุโบสถมีลักษณะเอียง

          ๓) พระอุโบสถมีการบูรณะหลายครั้ง ผนวกกับฝีมือของช่างที่มาทำการบูรณะนั้นไม่มีความละเอียดเพียงพอทำให้พระอุโบสถไม่มีความแข็งแรงและรูปแบบของพระอุโบสถได้เปลี่ยนไปจากเดิม

          ที่บรรจุอัฐิท้าวสุรนารีก่อด้วยอิฐโบกปูน

          ๑) การเคลื่อนย้ายอัฐิเดิมของคุณหญิงโมนั้น เกิดขึ้นในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงครามซึ้งในสมัยนั้นเกิดกระแสชาตินิยมเพื่อให้ประชาชนชาวนครราชสีมามีความเป็นปึกแผ่นจึงมีการสถาปนาคุณหญิงโมขึ้นเป็นท้าวสุรนารีและมีการเคลื่อนย้ายอัฐิคุณหญิงโมจากวัดพระนารายณ์ไปไว้ยังอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารีในปัจจุบันเพื่อเพิ่มความศักดิ์สิทธิของสถานที่แห่งนี้และเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตของชาวจังหวัดนครราชสีมา

แก้ไขเมื่อ

2021-08-31

ข้อมูลสถิติ
หน่วยอนุรักษ์ฯ
ภาพประจำแหล่งศิลปกรรม
แผนงานและโครงการ
การเสนอแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ รายละเอียด งบประมาณ เอกสาร สถานะ
รายงานผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ งบประมาณ วันที่รายงาน เอกสาร