เมืองแขก (ปราสาทหินเมืองแขก)/ปราสาทเมืองแขก


ละติจูด 14.9131050194 , ลองจิจูด 101.83374804

พิกัด

ตำบลโคราช อำเภออำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา รหัสไปรษณีย์ 30170

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

แหล่งโบราณคดีทั้งที่ขุดค้นแล้ว และยังไม่ได้ขุดค้น โบราณวัตถุ

ความสำคัญ/ลักษณะ

ปราสาทเมืองแขกเป็นโบราณสถานร้าง มีขนาดค่อนข้างใหญ่ ก่อด้วยหินทรายและอิฐ แผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หันหน้าไปทางทิศเหนือ สิ่งก่อสร้างสำคัญ ได้แก่ ปราสาทประธาน บรรณาลัย 2 หลัง ระเบียงคด ซุ้มประตูหรือโคปุระ กำแพงแก้ว สระน้ำ และปราสาทก่อด้วยอิฐขนาดเล็ก ลักษณะผังโบราณสถานแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 หรือส่วนในสุด ประกอบด้วยปราสาท 3 หลัง ก่อด้วยหินทรายและอิฐตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน หัวหน้าไปทางทิศเหนือ เฉพาะองค์ปรางค์หรือปราสาทประธานมีมุขหรือมณฑปซึ่งมีลักษณะเป็นห้องต่อออกมาทางด้านหน้า มีบันไดขึ้นทั้งด้านหน้าและด้านข้างทั้ง 2 ข้าง พบฐานประติมากรรมหินทรายที่ครรภคฤหะของปราสาทประธานและปราสาทหลังด้านทิศตะวันออก อาคารทั้งสามหลังเหลือเพียงเฉพาะส่วนฐานและตัวอาคารบางส่วน รวมทั้งที่ปราสาทประธานยังคงหลงเหลือช่องหน้าต่างและลูกมะหวด เสาประดับกรอบประตู กรอบประตูหินทราย และทับหลังสลักภาพนารายณ์บรรทมสินธุ์ที่ด้านบนกรอบประตูหน้าสุดหรือส่วนมณฑปด้านข้างองค์ปรางค์ประธานมีฐานอาคารก่อด้วยอิฐ 2 หลัง อยู่ด้านซ้ายและขวาด้านละ 1 หลัง หันด้านหน้าเข้าสู่ปราสาทประธาน อาจเป็นวิหารหรือบรรณาลัย ในส่วนแรกนี้มีกำแพงแก้วก่อด้วยอิฐล้อมรอบ ทางด้านทิศตะวันออกของกำแพงมีอาคารอิฐผังสี่เหลี่ยมผืนผ้าก่อขนานยาวไปกับกำแพง อาคารหลังนี้มีประตูเข้าออกอยู่ด้านทิศตะวันตกและทิศเหนือ ยังคงหลงเหลือเสาประดับกรอบประตูอยู่ที่ประตูด้านทิศเหนือ มีซุ้มประตูทางเข้าหรือโคปุระชั้นในอยู่ด้านเดียวคือด้านหน้าหรือด้านทิศเหนือ (มีช่องประตู 3 ช่อง) ที่ยังคงหลงเหลือกรอบประตูและเสาประดับกรอบประตูหินทราย นอกจากนี้ยังปรากฏฐานอาคารก่อด้วยอิฐอีก 2 หลังที่มุมกำแพงแก้วด้านหน้าของปราสาทประธาน ข้างโคปุระหรือซุ้มประตูชั้นในด้านหน้าหรือด้านทิศเหนือทั้ง 2 ด้าน ซ้ายและขวา โดยอาคารด้านขวามีทางเดินปูอิฐเชื่อมกับอาคารยาวที่ขนานไปกับกำแพงแก้วด้านทิศตะวันออก ส่วนที่ 2 เป็นกำแพงชั้นนอก ซึ่งขุดเป็นสระเกือบจะล้อมรอบโบราณสถาน เว้นเพียงส่วนกลางด้านหน้า โดยใช้ดินที่ได้จากการขุดสระทำเป็นคันกำแพงล้อมรอบกำแพงแก้วและสระน้ำ ทางด้านทิศเหนือมีทางเดินเชื่อมกับส่วนในหรือส่วนที่หนึ่ง กำแพงชั้นนอกด้านหน้าหรือด้านทิศเหนือมีซุ้มประตูขนาดใหญ่หรือโคปุระชั้นนอกรูปกากบาท ตรงกับโคปุระชั้นใน (มีช่องประตู 3 ช่อง) ยังคงปรากฏช่องหน้าต่างและลูกมะหวดรวมทั้งกรอบประตูหินทราย และส่วนที่ 3 อยู่นอกกำแพงชั้นนอกหรือส่วนที่สองออกมาทางด้านหน้าหรือด้านทิศเหนือ มีฐานอาคารก่อด้วยฐานก่อด้วยศิลาแลง หินทราย และอิฐ 2 หลัง ด้านซ้ายและขวาด้านละ 1 หลัง หันหน้าเข้าหากัน (อาคารหลังด้านขวาหันหน้าไปทางทิศตะวันตก ส่วนอาคารหลังด้านซ้ายหันหน้าไปทางทิศตะวันออก) ส่วนบนอาจจะสร้างด้วยไม้ ฐานอาคารทั้งสองหลังมีผังเป็นสี่เหลี่ยมมีมุขยื่นมาทางด้านหน้า ฐานสูง มีบันไดขึ้นสู่ด้านบนของฐานทั้ง 4 ด้าน มีกำแพงล้อมรอบ มีโคปุระที่ด้านหน้าและหลัง (ด้านหน้ามีขนาดใหญ่กว่า) ภายในห้องประธานของอาคารหลังด้านทิศตะวันตกมีฐานศิวลึงค์และโยนิหินทรายตั้งอยู่กลางห้อง เช่นเดียวกับอาคารหลังด้านทิศตะวันออกที่มีฐานประติมากรรมหินทรายตั้งอยู่กลางห้องประธาน

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

หมายเหตุ : ชื่อหมู่บ้านเปลี่ยนจากบ้านกุดหิน เป็น บ้านกกกอก

สภาพปัจจุบัน

          ปราสาทหินเมืองแขกเป็นปราสาทขอมที่มีขนาดใหญ่ ศิลปะเขมรแบบเกาะแกร์ ซึ่งเป็นยุคสมัยเดียวกับปราสาทโนนกู่ที่ห่างออกไปราว ๕๐๐เมตร ปราสาทหินเมืองแขกก่อด้วยอิฐปนหินทรายแบ่งออกเป็นส่วนต่าง ๆ โดยทางด้านเหนือมีซากอาคาร ๒ หลังตั้งอยู่ทางด้านทิศเหนือของปราสาท สร้างด้วยศิลาแลงและหินทรายสร้างหันหน้าเข้าหากัน เมื่อเข้าสู่ตัวปราสาทมีซุ้มประตูทางเข้าหรือโคปุระ เป็นทางเดินเชื่อมไปยังด้านใน ซึ่งมีซากฐานปราสาท ๓ หลัง ตั้งอยู่บนฐานไพทีเดียวกัน โดยหันหน้าไปทางทิศเหนือ ปัจจุบันปรางค์ประธานอยู่ในสภาพพังทลายเหลือเพียงฐาน นากจากนี้ยังพบบรรณาลัย ก่อด้วยอิฐและหินทราย ตั้งอยู่ห่างจากปรางค์ประธานไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ ๓.๙๐ เมตร อยู่ในสภาพพังทลายเหลือเพียงฐาน

          นอกจากนี้บริเวณโดยรอบปราสาทยังมีคูน้ำซึ่งเป็นบารายล้อมรอบอีกด้วย ส่วนแนวกำแพงชั้นนอกถูกถับถมกลายเป็นคูน้ำคันดิน

การเปลี่ยนแปลง

ปราสาทเมืองแขกได้รับการบูรณะวิธีการอนัสติโรซิส ให้อยู่ในสภาพที่เกือบจะสมบูรณ์ อีกทั้งยังมีการปรับสภาพพื้นที่โดยรอบให้เป็นแหล่งเรียนรู้และเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์

 

 ปัจจัยการเปลี่ยนแปลง

          ๑) กรมศิลปากรได้ทำการบูรณะให้โบราณสถานมีลักษณะที่เกือบจะสมบูรณ์ดังเดิม

          ๒) มีการปรับสภาพพื้นที่โดยรอบให้เหมาะแก่การศึกษาเรียนรู้และการท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์

บทสรุป

          โบราณสถานแห่งนี้มีลักษณะเป็นศาสนสถานขอมที่เหลือเพียงฐานก่อด้วยอิฐ และมีกรอบประตูหินทรายกรอบประตูด้านทิศใต้มีลักษณะที่ผิดกว่าช่องประตูอื่นเนื่องจากไม่เคยมีบานไม้เปิดปิดได้ด้านใต้ของตัวปรางค์เป็นส่วนของห้องที่ยาวยื่นออกไปทางทิศใต้โดยไม่มีบันไดขึ้นลงโบราณสถานแห่งนี้หันหน้าไปทางทิศเหนือ ซึ่งไม่เคยปรากฏอยู่ในแบบแผนของสถาปัตยกรรมที่เป็นศาสนสถานขอม ถัดออกมาเป็นแนวสระน้ำขนาบทั้ง ๒ ข้างปรางค์ประธานโดยมีครกซึ่งมีลักษณะที่ต้องใช้ครกสำริดฝังรองไว้ชั้นหนึ่งก่อนสำหรับฝังเดือยไม้ด้านทิศตะวันตกของปรางค์ประธานมีฐานของอาคารคล้ายศาลาโถงแผนผังปรางค์ประธานโบราณสถานแห่งนี้มีความคล้ายคลึงกันมากกับปรางค์ประธานของปราสาทหินพิมาย จึงใช้อายุของปราสาทหินพิมายเป็นตัวกำหนดอายุได้

          ปัจจุบันนี้หลักฐานทางโบราณคดีที่ได้หลงเหลืออยู่ในโบราณสถานแห่งนี้ ส่วนใหญ่จะเหลือเป็นซากอาคาร ฐานอาคาร เสา กรอบประตู คูน้ำคันดิน โคปุระ กำแพงแก้ว และซากอาคารด้านหน้าปรางค์ประธาน ๒ หลังอยู่ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือและทิศตะวันตกเฉียงเหนือ จาการไปสำรวจครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ ๙ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๘ ซึ่งหลักฐานที่พบส่วนใหญ่ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดิมมากนัก เพราะได้รับการดูแลจากทางหน่วยงานที่รับผิดชอบ

 

แก้ไขเมื่อ

2021-08-31

ข้อมูลสถิติ
หน่วยอนุรักษ์ฯ
ภาพประจำแหล่งศิลปกรรม
แผนงานและโครงการ
การเสนอแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ รายละเอียด งบประมาณ เอกสาร สถานะ
รายงานผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ งบประมาณ วันที่รายงาน เอกสาร