วัดสบเกี๋ยง (ร้าง)


ละติจูด 20.2869979746 , ลองจิจูด 100.087360986

พิกัด

ตำบลเวียง อำเภออำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

วัด วัดร้าง ศาสนสถาน

ความสำคัญ/ลักษณะ

วัดสบเกี๋ยง ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองเชียงแสนด้านทิศเหนือ วัดนี้ไม่ปรากฏประวัติการก่อสร้าง แต่คงเป็นวัดที่สำคัญแห่งหนึ่งของเมืองเชียงแสน เพราะใน พ.ศ. 2292 ได้มีการราชาภิเษกเจ้าอาวาสวัดสบเกี๋ยงให้ป็นสังฆราชาของเมืองเชียงแสน วัดสบเกี๋ยงยังไม่ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน กรมศิลปากรขุดแต่งและบูรณะโบราณสถานแห่งนี้ใน พ.ศ. 2548-2549 พบสิ่งก่อสร้างของวัดประกอบด้วย อุโบสถ เจดีย์ประธาน เจดีย์ขนาดเล็ก อาคาร 2 หลัง แท่นบูชาและป้อมในแนวคันดินที่ล้อมรอบวัด 2 ป้อม โดยด้านทิศใต้ของอุโบสถมีทางเดินเชื่อมกับศาลาทางทิศใต้ เจดีย์ประธานของวัดสบเกี๋ยงตั้งอยู่บนฐานไพทีเดียวกับอุโบสถซึ่งอยู่ด้านหน้าเจดีย์และหันหน้าไปทางทิศตะวันออก หลักฐานที่บอกถึงรูปแบบทางศิลปกรรมได้คือ เจดีย์ประธานที่เหลือเฉพาะส่วนฐานบัวและบางส่วนของฐานรองรับองค์ระฆังเท่านั้น แต่พอที่จะศึกษารูปแบบและรูปทรงสันนิษฐานได้ว่าเป็นเจดีย์ในกลุ่มเจดีย์ทรงระฆังแบบล้านนาที่ส่วนรองรับองค์ระฆังเป็นชุดฐานบัว 3 ฐานที่อยู่ในผังแปดเหลี่ยม ซึ่งเป็นรูปแบบที่นิยมที่สุดในเมืองเชียงแสนช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 21 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 22 จากการขุดแต่งยังได้พบหลักฐานที่สำคัญคือ เครื่องถ้วยลายครามจีนสมัยราชวงศ์ชิง กำหนดอายุได้ราวพุทธศตวรรษที่ 22-23 พบร่วมกับตาชั่งและลูกชั่ง (ลูกเป้ง) แต่พบอยู่ในฐานอาคารขนาดเล็ก ซึ่งน่าจะเป็นการบรรจุเข้าไปภายหลัง (สัมยรัตนโกสินทร์) นอกจากนี้ยังพบร่องรอยกิจกรรมการหล่อตะกั่วทำเป็นกระสุนปืนในอาคารด้านทิศใต้ของวัด ซึ่งน่าจะเกี่ยวข้องกับการทำสงครามระหว่างล้านนากับพม่า ครั้งเมืองเชียงแสนแตกใน พ.ศ. 2347

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

-

แก้ไขเมื่อ

2020-12-03

ข้อมูลสถิติ
หน่วยอนุรักษ์ฯ
ภาพประจำแหล่งศิลปกรรม
- ไม่มีรูปภาพ -
แผนงานและโครงการ
- ไม่มีเอกสาร -