ละติจูด 17.1646 , ลองจิจูด 104.1533
พิกัด
ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภออำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร รหัสไปรษณีย์ 47000
ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ
วัด วัดร้าง ศาสนสถาน
ความสำคัญ/ลักษณะ
พระธาตุ ปัจจุบันได้มีการสร้างเจดีย์ลักษณะศิลปกรรมแบบล้านช้างครอบปราสาทหินแบบเขมรเอาไว้ภายใน ลักษณะพระธาตุก่ออิฐถือปูนทาสีขาว สูง 23.50 เมตรมีแผนผังรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างด้านละ 8.50 เมตร ประกอบด้วยฐานหน้ากระดานซ้อนลดหลั่นขึ้นไปหลายชั้น ชั้นล่างสุดทำเป็นซุ้มประตู องค์ระฆังรูปทรงสี่เหลี่ยมคั่นด้วยบัลลังก์รูปสี่เหลี่ยม ส่วนยอดทำเป็นทรงกรวยเหลี่ยม ลักษณะศิลปกรรมแบบล้านช้างประมาณพุทธศตวรรษที่ 22 ลงมา หรือในสมัยอยุธยาตอนปลาย ลักษณะปราสาทหินด้านในก่อด้วยศิลาแลง ส่วนกรอบประตู ทับหลัง และหน้าบันเป็นหินทราย มีแผนผังรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีศิลาจารึกสลักติดอยู่ที่กรอบประตูทางเข้าองค์ปราสาทด้านขวา จารึกมีขนาดกว้าง 49 เซนติเมตร สูง 52 เซนติเมตร จารึกด้วยอักษรขอมโบราณ ภาษาเขมร มีเนื้อหาเกี่ยวกับการอุทิศที่ดินและสิ่งต่าง ๆแก่เทวสถาน จากหลักฐานและการศึกษาเปรียบเทียบอายุสมัยของปราสาทหินอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 16-17 วิหาร ตั้งทางด้านทิศตะวันออกติดกับองค์พระธาตุเชิงชุมเป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ด้านหน้ากว้าง 12 เมตร ยาว 28 เมตร อาคารทรงจัตุรมุข ลักษณะหลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้องเคลือบสีเขียวและสีส้ม ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปประธาน เรียกว่า หลวงพ่อพระองค์แสน เป็นพระพุทธรูปก่ออิฐถือปูน ปางมารวิชัย ศิลปะล้านช้าง ขนาดสูง 3.2 เมตร หน้าตักกว้าง 2 เมตร สิมเก่า ตั้งอยู่ทางใต้ของพระธาตุเชิงชุมเป็นอาคารทรงตึกรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด 3 ห้อง กว้าง 5.9 เมตร ยาว 8 เมตร หันหน้าไปทางทิศใต้ มีประตูทางเข้าด้านหน้าซึ่งทำเป็นมุขต่อยื่นออกมา ผนังด้านล่างทำเป็นลูกกรงเตี้ย ๆ ส่วนตอนบนเจาะช่องทำเป็นซุ้มโค้งแสดงถึงอิทธิพลของสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกที่ส่งผ่านช่างชาวญวน หลังคาทรงจั่วชั้นเดียวมุงด้วยกระเบื้องไม้ บริเวณจั่วด้านหน้าเขียนภาพจิตรกรรมรูปดอกไม้ โดยมีรูปบุคคลหรือเทวดายืนบนดอกบัวและบริวารอยู่ในท่าอัญชลี ตอนบนเขียนเป็นลายหน้ากาล ศิลปะจีนผสมญวน บ่อน้ำโบราณ ด้านนอกกำแพงแก้วทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของพระธาตุเชิงชุม เรียกว่าภูน้ำลอด เป็นบ่อน้ำรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้างประมาณ 1.6 เมตร ยาวประมาณ 2 เมตร ขอบบ่อก่อด้วยศิลาแลง และหอไตร 1 หลัง เป็นหอไตรสร้างจากไม้ สูง 2 ชั้น ลักษณะเป็นศิลปกรรรมท้องถิ่น
สถานการณ์สิ่งแวดล้อม
-
แก้ไขเมื่อ
2023-12-08