วัดพระธาตุดุม


ละติจูด 17.1419437578 , ลองจิจูด 104.167366381

พิกัด

ตำบลงิ้วด่อน อำเภออำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

วัด วัดร้าง ศาสนสถาน

ความสำคัญ/ลักษณะ

สร้างขึ้นในช่วงราวปลายพุทธศตวรรษที่ 16-17 เมื่อปี พ.ศ. 2529-2530 กรมศิลปากรได้ขุดแต่งพบศิลาจารึกอักษรไทยน้อย 3 บรรทัด หลักเขตดิน พระมหาธา ตูเชียงดุมเจ้า สันนิษฐานว่าในสมัยหลังช่วงวัฒนธรรมล้านช้างมีพระภิกษุ นามว่า เชียงดุมเจ้า ที่มีผู้เคารพนับถือมาปักเขตในบริเวณศักดิ์สิทธิ์ ต่อมาจึงได้ตั้งชื่อว่า พระธาตุดุม ตามนามพระภิกษุรูปนั้น ปรางค์อิฐ ขนาดเล็กจำนวน 3 หลัง ตั้งเรียงในแนวเหนือ-ใต้ ส่วนฐานเป็นศิลาแลง ชิ้นส่วนตกแต่งปรางค์เป็นหินทราย ปัจจุบันเหลือเพียงปรางค์หลังกลาง ตัวปรางค์มีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุม ขนาด 5.5 x 5.5 เมตร หันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีประตูเข้าสู่ภายในองค์ปรางค์ทางด้านนี้เพียงด้านเดียว ด้านอื่น ๆก่อทึบ แต่สลักเป็นประตูหลอกเลียนแบบประตูไม้ ยังคงเหลือทับหลังอยู่ชิ้นหนึ่งทางทิศใต้ของปรางค์ สลักเป็นลายหน้ากาลคายท่อนพวงมาลัย มีภาพสิงห์ ช้าง และใบไม้ประกอบ ทำด้วยหินทรายสีแดงเช่นเดียวกับตัวปราสาท ฐานปราสาทก่อเป็นแบบฐานปัทม์ มีเสานางเรียง หรือเสานางจรัล ยอดทรงดอกบัวตูม ตั้งอยู่ตรงทางเข้าพระธาตุ ลวดลายที่ปรากฏเป็นศิลปะเขมรแบบบาปวน – นครวัด ราวกลางพุทธศตวรรษที่ 16-17 สระน้ำโบราณ จำนวน 2 สระ อยู่ทางทิศเหนือและใต้ของปรางค์ทั้ง 3 หลัง เป็นสระน้ำขนาดใหญ่รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เพื่อใช้เป็นขอบเขตและเป็นปริมณฑลในการจำลองสัญลักษณ์ของจักรวาลตามคติทางศาสนาที่นับถือกันในขณะนั้น พระธาตุดุมตั้งอยู่ในวัดพระธาตุดุม มีสระน้ำขนาดใหญ่ขนาบข้างพระธาตุ มีศาลาตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของพระธาตุ และมีกุฏิพระรายล้อมอยู่รอบนอก

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

-

แก้ไขเมื่อ

2020-12-03

ข้อมูลสถิติ
หน่วยอนุรักษ์ฯ
ภาพประจำแหล่งศิลปกรรม
- ไม่มีรูปภาพ -
แผนงานและโครงการ
- ไม่มีเอกสาร -