พระธาตุนารายณ์เจงเวง


ละติจูด 17.186856 , ลองจิจูด 104.095789

พิกัด

ตำบลธาตุนาเวง อำเภออำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร รหัสไปรษณีย์ 47000

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

วัด วัดร้าง ศาสนสถาน

ความสำคัญ/ลักษณะ

ปราสาทนารายณ์เจงเวง ถือเป็นเทวสถานที่ค่อนข้างมีรูปทรงที่สมบูรณ์ที่สุดแห่งเดียวของสกลนคร แผนผังโดยรวมประกอบด้วย ปราสาทขอมขนาดเล็ก ก่อด้วยหินทรายทั้งองค์ ตั้งบนฐานศิลาแลงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด3 x 7 เมตร องค์ปราสาทในส่วนที่เป็นเรือนธาตุ ซึ่งภายในเป็นห้องครรภคฤหะขนาดประมาณ 4 x 4 หันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีบันไดทางขึ้นด้านทิศตะวันออกเพียงด้านเดียว มีมุขขนาด 2.5 x 3 เมตรต่อยื่นเป็นประตูทางเข้าด้านทิศตะวันออก ด้านอื่นๆทำเป็นประตูหลอกภายในห้องครรภคฤหะปูด้วยหินทราย โดยเว้นช่องว่างตรงกลางเป็นรูปสี่เหลี่ยมเพื่อให้น้ำมนต์ไหลออกไปสู่รางโสมสูตรที่ทำเป็นรูปเศียรมกร ซึ่งอยู่ด้านนอกเรือนธาตุทางทิศเหนือ องค์ปรางค์เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุม หลังคาก่อเป็นชั้นจำลองอาคารลดหลั่น 4 ชั้น ยอดเป็นบัวกลุ่มหักหายไปบางส่วน ปราสาทนารายณ์เจงเวงมีทับหลังและหน้าบันครบเกือบทุกด้าน ส่วนใหญ่เป็นภาพสลักเกี่ยวกับเทพเจ้าในศาสนาฮินดู ได้แก่ ด้านทิศตะวันออก ประกอบด้วยทับหลังด้านหน้าสุดของมุข สลักภาพพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ เทพประจำทิศตะวันออก, ทับหลังเหนือกรอบประตูห้องครรภคฤหะสลักภาพพระกฤษณะปราบสิงห์, หน้าบันห้องครรภคฤหะ สลักภาพศิวะนาฏราช ด้านทิศใต้ทับหลังเหนือกรอบประตูหลอก สลักภาพขบวนแห่มีภาพคนนั่งอยู่บนหลังช้าง ด้านทิศตะวันตก ประกอบด้วยทับหลังเหนือกรอบประตูหลอก สลักภาพพระกฤษณะตอนปราบนาคกาลิยะ ด้านทิศเหนือ ประกอบด้วยทับหลังเหนือกรอบประตู สลักภาพพระกฤษณะปราบสิงห์,หน้าบันเหนือทับหลัง สลักภาพวิษณุอนันตศายินปัทมนาภิณ หรือเรียกกันว่านารายณ์บรรทมสินธุ์ จากหลักฐานทางโบราณคดีแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของศิลปะแบบบาปวนตอนปลายต่อนครวัดตอนต้นเกือบทั้งสิ้น ดังนั้นจึงสันนิษฐานว่าปราสาทแห่งนี้สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 16 – 17

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

-

แก้ไขเมื่อ

2019-09-16

ข้อมูลสถิติ
หน่วยอนุรักษ์ฯ
ภาพประจำแหล่งศิลปกรรม
- ไม่มีรูปภาพ -
แผนงานและโครงการ
การเสนอแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ รายละเอียด งบประมาณ เอกสาร สถานะ
รายงานผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ งบประมาณ วันที่รายงาน เอกสาร