วัดพระธาตุดอยตุง (วัดมหาชินธาตุเจ้า)


ละติจูด 20.324141017 , ลองจิจูด 99.8328640231

พิกัด

ตำบลห้วยไคร้ อำเภออำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

วัด วัดร้าง ศาสนสถาน

ความสำคัญ/ลักษณะ

พระธาตุดอยตุงสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอชุตราช กษัตริย์ผู้ครองเมืองโยนกนาคพันธุ์ พระมหากัสสปะได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุlส่วนพระรากขวัญเบื้องซ้าย(กระดูกไหปลาร้า) แล้วมอบให้แก่ พระเจ้าอชุตราช ได้สร้างเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุนั้นไว้บนดอยแห่งนี้ รูปแบบการก่อสร้างก่อเป็นศิลปะเชียงแสนย่อมุมไม้สิบสองคล้ายกับพระธาตุดอยสุเทพ ต่อมาในสมัยเจ้ามังรายนราชแห่งราชวงศ์สิงหนวัติ พระมหาวชิรโพธิเถระได้นำพระบรมสารีริกธาตุมาถวาย 50 องค์ เจ้ามังรายนราชจึงให้สร้างพระเจดีย์อีกองค์ใกล้กับเจดีย์องค์เดิม นับจากนั้นเป็นต้นมาพระธาตุดอยตุงจึงได้มีเจดีย์สององค์มาจนถึงทุกวันนี้ พระธาตุดอยตุง อยู่บนดอยสูงแวดล้อมด้วยป่ารกครึ้ม เรียกว่า สวนเทพารักษ์ เชื่อกันว่า เป็นที่สถิตของเทพารักษ์และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2470 พระธาตุดอยตุงทรุดโทรมมาก ครูบาศรีวิชัยกับประชาชนชาวเมืองเชียงรายได้บูรณะองค์พระธาตุขึ้นใหม่ โดยสร้างเป็นเจดีย์องค์ระฆังขนาดเล็กสององค์บนฐานแปดเหลี่ยม ตามศิลปะแบบล้านนา การบูรณะครั้งหลังสุด มีขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2516 โดยกระทรวงมหาดไทย ได้สร้างพระธาตุองค์ใหม่ขึ้นครอบพระเจดีย์เดิมไว้ องค์พระธาตุเป็นสีทองขนาดเล็กสององค์ สูงประมาณ 5 เมตร บนฐานสี่เหลี่ยมย่อมุม มีซุ้มจระนำสี่ทิศ องค์ระฆังและปลียอดมีขนาดเล็ก ใช้วิธีหล่อคอนกรีตมาประกอบครอบเจดีย์คู่ทั้งสององค์ เพื่อให้การเปลี่ยนแปลงแบบขององค์พระธาตุสามารถอนุรักษ์สถาปัตยกรรมแบบดั้งเดิมไว้ภายในได้ ในปี พ.ศ. 2549 กรมศิลปากรมีโครงการรื้อถอน องค์พระธาตุองค์เดิม และส่งต่อมายังสำนักโบราณคดีเชียงใหม่ ให้ช่วยฟื้นฟูพระสถูปในสมัยครูบาศรีวิชัยตามภาพถ่ายที่ปรากฏอยู่ในวิหารพระธาตุดอยตุง

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

-

แก้ไขเมื่อ

2018-09-10

ข้อมูลสถิติ
หน่วยอนุรักษ์ฯ
ภาพประจำแหล่งศิลปกรรม
- ไม่มีรูปภาพ -
แผนงานและโครงการ
- ไม่มีเอกสาร -