เมืองงิ้ว (วัดโนนบึงศิลาราม)


ละติจูด 15.759932 , ลองจิจูด 104.592375

พิกัด

ตำบลเค็งใหญ่ อำเภออำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ รหัสไปรษณีย์ 37240

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

ชุมชนโบราณ เมืองโบราณ อุทยานประวัติศาสตร์

ความสำคัญ/ลักษณะ

เมืองงิ้ว เป็นชุมชนโบราณในลุ่มน้ำลำเซบก อาจเริ่มมีการตั้งถิ่นฐานของชุมชนในระยะเริ่มแรก อยู่ในช่วงก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายสมัยสังคมเกษตรกรรม มีการถลุงโลหะขึ้นใช้เองภายในชุมชน ดังได้พบร่องรอยเตาถลุงบริเวณริมคูน้ำด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ และ เมื่อเข้าสู่สังคมประวัติศาสตร์วัฒนธรรมทวารวดีประมาณพุทธศตวรรษที่ 11 - 16 จึงขุดคูน้ำคันดินล้อมรอบเป็นรูปทรงกลมมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ประมาณ 370 เมตร สูง ราว 2 เมตร สภาพทั่วไปเป็นเนินดินค่อนข้างกลม ปัจจุบันถูกปรับไถเป็นพื้นที่ทางการเกษตร จากการสำรวจพบหลักฐานทางโบราณวัตถุ รายละเอียดดังนี้ 1. เศษภาชนะดินเผาเนื้อหยาบเผาด้วยอุณหภูมิต่ำส่วนมากเป็นแบบผิวเรียบมีการ ชุบน้ำโคลน การเขียนสี และลายขูดขีดบ้างเล็กน้อย 2. กลุ่มเสมาหินทรายสีชมพู ยอดเรียวแหลม สลักเป็นแนวเส้นนูนตรงกลางแผ่นเป็นลวดลายประดับ 3.เครื่องประดับสำริดได้แก่แหวน กำไล และ ขี้แร่(slag) ที่เกิดจากกระบวนการหลอมโลหะ ใบเสมาที่พบบริเวณชุมชนโบราณเมืองงิ้วแห่งนี้ ปัจจุบันพบใบเสมากระจายอยู่บนเนินจำนวน 4 กลุ่ม มีทั้งทำจากศิลาแลงและหินทราย ที่ทำจากศิลาแลงจะเป็นแผ่นหินขนาดเล็ก สลักลวดลายสันนูนแนวตั้งที่กลางใบ ใบเสมาบางส่วนถูกนำมากองไว้บริเวณกลางเนินดิน เนื่องจากมีรูปร่างและลักษณะที่ไม่ชัดเจน ใบเสมาที่ทำจากหินทรายมีทั้งขนาดใหญ่ที่ถูกฝังจมอยู่ใต้ดิน ส่วนฐานมีลายลูกปะคำแนวนอนอยู่ใต้กลีบบัวซ้อน ส่วนใบเสมาสลักเป็นแนวเส้นนูนตั้งตรงกลางแผ่น บางใบฐานบัวเป็นบัวคว่ำ-บัวหงาย มีเกสรประกอบ ใบเสมาที่สำคัญอีกใบหนึ่งพบว่า ด้านหนึ่งตรงกลางใบเสมาสลักเป็นรูปหม้อน้ำรองรับปลีที่เรียวขึ้นจนถึงส่วนยอด ลักษณะของหม้อน้ำเช่นเดียวกันกับที่พบนี้ปรากฎบนใบเสมาที่พบในที่อื่นๆอีกด้วย ซึ่งคงเป็นหม้อน้ำแห่งความอุดมสมบูรณ์ หรือที่เรียกกันว่า หม้อบูรณะฆฏะ นั่นเอง ส่วนอีกด้านหนึ่งของใบเสมานี้สลักเป็นรูปดอกไม้ในวงกลม ซึ่งอาจสันนิษฐานว่าเป็นธรรมจักร? ปัจจุบันใบเสมาใบนี้จัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี จากหลักฐานทางโบราณคดีที่พบจำนวนเล็กน้อยแสดงว่าแหล่งโบราณคดีแห่งนี้คงมีขนาดไม่ใหญ่นัก และคงจะเป็นศาสนสถานมากกว่าที่จะเป็นที่อยู่อาศัย โดยพิจารณาจากกลุ่มใบเสมาหินทราย จากรูปแบบของเสมานั้นทำให้เชื่อได้ว่ากลุ่มชนกลุ่มนี้ คงจะมีความเชื่อในพุทธศาสนาโดยได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมทวารวดีในช่วงพุทธศตวรรษที่ 12 – 16ขึ้นทะเบียนโบราณสถานเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2542 เล่ม 116 ตอนพิเศษ 17ง สิ่งสำคัญได้แก่ ชุมชนโบราณและใบเสมา

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

1. แหล่งโบราณคดีเมืองงิ้ว ขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116 ตอนพิเศษ 17ง ลงวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ.2542 เนื้อที่โบราณสถานประมาณ 99 ไร่ 77.06 ตารางวา

แก้ไขเมื่อ

2019-08-17

ข้อมูลสถิติ
หน่วยอนุรักษ์ฯ
ภาพประจำแหล่งศิลปกรรม
แผนงานและโครงการ
การเสนอแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ รายละเอียด งบประมาณ เอกสาร สถานะ
รายงานผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ งบประมาณ วันที่รายงาน เอกสาร