เมืองเก่าเชียงราย


ละติจูด 19.910988 , ลองจิจูด 99.832433

พิกัด

ตำบลเวียง อำเภออำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย รหัสไปรษณีย์ 57000

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

เมืองเก่า เมืองประวัติศาสตร์

ความสำคัญ/ลักษณะ

ในช่วงก่อนประวัติศาสตร์บริเวณจังหวัดเชียงรายปรากฏร่องรอยการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ มีการตั้งถิ่นฐานที่อยู่อาศัยกระจายอยู่ทั่วไปโดยมีการพบร่องรอยคูน้ำและคันดินแสดงถึงการเป็นชุมชนโบราณ และมีการพบหลักฐานทางโบราณคดีในหลายบริเวณ หลักฐานทางโบราณคดีที่ขุดพบ ได้แก่ เครื่องมือหินกะเทาะที่มีอายุราว 15,000-7,000 ปีมาแล้ว บริเวณถ้ำพระ ริมฝั่ง แม่น้ำกก ในเขตอําเภอเมืองจังหวัดเชียงราย ต่อมาในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 19 ปีพ.ศ. 1802 พญามังรายได้ ขึ้นครองราชสมบัติที่เมืองหิรัญนครเงินยาง และโปรดให้สร้างเมืองขึ้นโดยย้ายราชธานีจากเมืองหิรัญนครเงินยางมาสู่ราชธานีแห่งใหม่ในบริเวณเวียงชัยนารายณ์ดอยจอมทอง ริมฝั่งแม่น้ำกกโดยก่อปราการโอบเอาดอยจอมทองไว้กลางเมือง และได้ขนานนามเมืองแห่งนี้ว่า “เชียงราย” ภายหลังสมัยของพระเจ้าติโลกราช อาณาจักรล้านนาเริ่มเสื่อมถอยลง ซึ่งเป็นช่วงเวลา เดียวกันกับพระเจ้าบุเรงนองกยอดินนรธากษัตริย์พม่าได้ขยายพระราชอํานาจเข้ามายังดินแดนในแถบนี้ อาณาจักรล้านนาจึงตกอยู่ภายใต้การปกครองของพม่าในปีพ.ศ. 2101 ถือเป็นการสิ้นสุดอาณาจักรล้านนา ที่มีอายุถึง 262 ปีและสิ้นสุดราชวงศ์มังรายที่สืบเนื่องมา 283 ปีในปีพ.ศ. 2121 อาณาจักรล้านนาและเมืองเชียงรายตกอยู่ภายใต้การปกครองของพม่าเป็น เวลานานถึงกว่า 200 ปี ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าว อาณาจักรล้านนาได้ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่าและกรุงศรี อยุธยาสลับกันไปมา ในปีพ.ศ. 2445 เกิดกบฏเงี้ยวขึ้น พวกเงี้ยวยกกําลังเข้าโจมตีเมืองแพร่ เมืองพะเยา และเมืองเชียงราย แต่รัฐบาลกลางได้ดําเนินการปราบปรามอย่างเด็ดขาด ส่งผลให้พวกกบฏหมดสิ้นไป และทําให้บรรดาเจ้านายฝ่ายเหนือต้องยอมรับในอํานาจของรัฐบาลกลางมากขึ้น จนกระทั่งถึง ปีพ.ศ.2453 เป็นปีสุดท้ายในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 พระองค์จึงได้ มีพระบรมราชโองการยกเมืองเชียงรายเป็นเมืองจัตวา รวมอยู่ในมณฑลพายัพ ส่งผลให้เชียงรายกลายเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรสยามอย่างสมบูรณ์และขึ้นกับรัฐบาลกลางโดยตรง ต่อมารัชกาลที่ 7 รัฐบาล กลางได้ปรับปรุงระเบียบการปกครองส่วนภูมิภาค โดยยกเลิกการบริหารแบบมณฑลมาเป็นจังหวัด เมืองเชียงรายจึงอยู่ในจังหวัดเชียงรายมาจนถึงปัจจุบัน ในเมืองเก่าเชียงรายมีสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นประเภท บ้านเรือนที่อยู่อาศัยเก่าแก่หลายแห่ง อาทิบ้านพักแพทย์ของโรงพยาบาลโอเวอร์บรุ๊ค และอาคาร สถาปัตยกรรมอาณานิคม ที่ได้รับอิทธิพลโรแมนติค ได้แก่อาคารที่ว่าการอําเภอเมือง เชียงราย จวนผู้ว่าราชการจังหวัดศาลากลางจังหวัดเชียงราย (หลังเก่า) โบสถ์คริสตจักรที่ 1 เวียงเชียงราย และอาคารโรงพยาบาลโอเวอร์บรุ๊ค นอกจากนี้ยังมีอาคารซึ่งได้รับอิทธิพลสถาปัตยกรรมโมเดิร์น ได้แก่ บ้านพักจอมพล ป.พิบูลสงคราม อาคารแบคเทลของโรงเรียนเชียงรายวิทยาคม และ อาคารโรงเรียนสามัคคีวิทยาคม โบราณสถานที่สำคัญ ได้แก่ วัดพระแก้ว วัดดอยงําเมือง และวัดพระสิงห์

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

1. ประกาศเขตพื้นที่เมืองเก่าเชียงราย เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2558

แก้ไขเมื่อ

2018-11-08

ข้อมูลสถิติ
หน่วยอนุรักษ์ฯ
ภาพประจำแหล่งศิลปกรรม
แผนงานและโครงการ
การเสนอแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ รายละเอียด งบประมาณ เอกสาร สถานะ
รายงานผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ งบประมาณ วันที่รายงาน เอกสาร