สุสานบ้านดอนรัก


ละติจูด 14.0264666063 , ลองจิจูด 99.5316576824

พิกัด

ตำบลบ้านเหนือ อำเภออำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี รหัสไปรษณีย์ 71000

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

อนุสาวรีย์ อนุสรณ์สถาน สถาน หลักเมือง

ความสำคัญ/ลักษณะ

ที่แห่งหนึ่งที่ให้ความรู้สึกถึงความโหดร้ายของสงคราม ที่รำลึกแด่ทหารผู้เหนื่อยล้าและหลับไหลอย่างสงบในที่สวยงามแห่งนี้ …สุสานทหารสัมพันธมิตรดอนรัก” หรือ “สุสานทหารสหประชาชาติ” หรือที่ชาวจังหวัดกาญจนบุรีทั่วไปเรียกว่า “ป่าช้าอังกฤษ” เป็นสุสานขนาดใหญ่บนพื้นที่ 17 ไร่ บรรจุศพเชลยศึกที่เสียชีวิตระหว่างการสร้างทางรถไฟสายมรณะถึง 6,982 หลุม โดยเชลยศึก 300 คนเสียชีวิตด้วยอหิวาตกโรคและฝังไว้ที่ค่ายนิเกะ (ประมาณ 15 กิโลเมตร ก่อนถึงด่านเจดีย์สามองค์) ส่วนที่เหลือได้จากหลุมฝังศพเชลยศึกตามค่ายต่างๆและยังมีสุสานช่องไก่ ซึ่งรัฐบาลไทยและฝ่ายสัมพันธมิตรได้ตกลงกันเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2497 เพื่อสร้างสุสานสองแห่งนี้ขึ้น บรรยากาศในสุสานเงียบสงบและร่มรื่น พื้นที่ภายในได้รับการตกแต่งไว้อย่างเป็นระเบียบสวยงาม เหนือหลุมฝังศพทุกหลุมมีแผ่นทองเหลืองจารึก ชื่อ อายุ และประเทศของผู้เสียชีวิต บรรทัดสุดท้ายเป็นคำไว้อาลัยที่โศกเศร้า ทุกปีจะมีวันที่รำลึกถึงผู้เสียชีวิตเฉพาะของคนชาติต่างๆได้แก่

  • วัน Anzac Day 25 เมษายน ของชาวออสเตรเลียและนิวซีแลนด์
  • วัน Armistice Day 5 พฤษภาคม ของชาวเนเธอร์แลนด์
  • วัน Remembrance Day 11 พฤศจิกายน ของชาวอังกฤษ

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สงบลงเมื่อ พ.ศ. 2488 ฝ่ายสัมพันธมิตรผู้ชนะสงครามได้ดำเนินการจัดสร้างอนุสรณ์สถานแด่ผู้เสียชีวิตขึ้นหลายแห่งในทวีปเอเชียซึ่งเป็นสมรภูมิสำคัญ มีอนุสรณ์สถานตั้งอยู่ในหลายประเทศ คือ ในประเทศไทย 2 แห่ง พม่า 3 แห่ง อินเดีย 6 แห่ง บังกลาเทศ 5 แห่ง ปากีสถานและศรีลังกาอย่างละ 2 แห่ง

สำหรับในประเทศไทย รัฐบาลไทยและฝ่ายสัมพันธมิตรได้ตกลงกันเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2497 ในการสร้างสุสานสองแห่ง คือ สุสานทหารสัมพันธมิตรดอนรัก (สุสานดอนรัก) และสุสานทหารสัมพันธมิตรเขาปูน (หรือสุสานช่องไก่) อยู่ที่จังหวัดกาญจนบุรี

นอกจากนี้ที่กาญจนบุรียังมีอนุสรณ์สถานที่สร้างโดยทหารญี่ปุ่นเพื่อคาระวะแด่ดวงวิญญาณผู้เสียชีวิตในระหว่างสงคราม คือ อนุสาวรีย์ไทยานุสรณ์ ส่วนกรรมกรชาวเอเชียอีกจำนวนมากที่เสียชีวิตไปโดยไม่มีผู้ใดจดบันทึกไว้นั้น มีการสร้างอนุสาวรีย์กรรมกรและทหารนิรนามไว้ที่ป่าช้าวัดญวน และโครงกระดูกอีกส่วนหนึ่งของพวกเขาตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์สงครามโลกครั้งที่ 2

ข้อมูลจารึกภายในสุสานทหารสัมพันธมิตรดอนรัก

เมื่อเดือนธันวาคม ปี ค.ศ. 1941 หลังจากที่ญี่ปุ่นเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 2 แล้ว กองทัพญี่ปุ่นได้ยึดครองดินแดนส่วนใหญ่ในเอเชียอาคเนย์อย่างรวดเร็ว ต่อมาในปี ค.ศ. 1942  ญี่ปุ่นตัดสินใจใช้แรงงานเชลยศึกและพลเรือนสร้างทางรถไฟทางเดียวที่บ้านโป่งทางด้านตะวันออก เชื่อมกับสถานีรถไฟที่เมืองทันบูซายัดทางด้านตะวันตก เพื่อย่นระยะทางการเดินทาง และปกป้องเส้นทางการลำเลียงระหว่างประเทศสยาม(ประเทศไทยในปัจจุบันและประเทศพม่า (ปัจจุบันคือ เมียนม่า การสร้างรถไฟสายนี้เริ่มจากพม่า และประเทศไทยในเวลาเดียวกัน ซึ่งในที่สุดมาบรรจบกันที่ Konkuita  เมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ. 1943  การสร้างทางรถไฟดังกล่าว มีผู้เสียชีวิตที่เป็นเชลยศึกประมาณ 15,000 คน และพลเรือนอีก 100,000 คน เนื่องจากประสบโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ การขาดอาหาร ความเหน็ดเหนื่อยอ่อนเพลีย และการทารุณกรรม

สุสานแห่งนี้เป็นสุสานที่ใหญ่ที่สุดในจำนวนสามแห่งที่ตั้งอยู่ตลอดเส้นทางรถไฟพม่า-ไทย  ตั้งอยู่ใกล้สถานที่ตั้งค่ายกักกันเชลยศึก “กาญจนบุรี” ในอดีตซึ่งเป็นสถานที่ที่เชลยศึกส่วนใหญ่เดินทางผ่านไปที่ค่ายอื่น  Colin St Clair Oakes  เป็นผู้ออกแบบสุสานซึ่งหน่วยสุสานทหารบก ( The Army Graves Service) สร้างขึ้นหลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง  หน่วยงานดังกล่าวได้ดำเนินการย้ายศพจากที่ฝังศพของค่ายต่างๆ  และสถานที่อื่นๆ ตลอดเส้นทางรถไฟช่วงล่างในฝ่ายไทย รวมทั้งสถานที่อื่นๆ ในประเทศไทยด้วย

สุสานแห่งนี้สร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงผู้เสียชีวิตจากประเทศในเครือจักรภพมากกว่า 5,000 คน และจากฮอลันดา 1,800 คน และในจำนวนนี้มีผู้เสียชีวิตจากโรคภัยต่างๆ ที่ Nieke และ Changaraya ประมาณ 300 คน หลังจากดำเนินการเผาศพแล้วได้นำอังคารไปฝังที่หลุมฝังศพสองแห่ง สำหรับรายนามของผู้เสียชีวิตจารึกไว้ที่ศาลาของสุสาน นอกจากนั้นหลุมฝังศพทหารของกองทัพอินเดีย 11 คน ที่ฝังอยู่ตามสถานที่อื่นในประเทศไทยซึ่งไม่สามารถดูแลรักษาได้ รายนามเหล่านั้นถูกจารึกไว้ที่ผนังตึก ตรงบริเวณทางเข้าสุสาน

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

-

แก้ไขเมื่อ

2019-04-04

ข้อมูลสถิติ
หน่วยอนุรักษ์ฯ
ภาพประจำแหล่งศิลปกรรม
แผนงานและโครงการ
การเสนอแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ รายละเอียด งบประมาณ เอกสาร สถานะ
รายงานผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ งบประมาณ วันที่รายงาน เอกสาร