เจดีย์ยุทธหัตถี


ละติจูด 14.0519683881 , ลองจิจูด 99.6881584626

พิกัด

ตำบลดอนเจดีย์ อำเภออำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี รหัสไปรษณีย์ 71140

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

อนุสาวรีย์ อนุสรณ์สถาน สถาน หลักเมือง

ความสำคัญ/ลักษณะ

เจดีย์ยุทธหัตถี ตั้งอยู่ที่บ้านดอนเจดีย์ หมู่ที่ 2 ตำบล ดอนเจดีย์ อำเภอ พนมทวน จังหวัด กาญจนบุรี ปัจจุบันเชื่อกันว่าเป็นเจดีย์ยุทธหัตถี ที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงสร้างขึ้นหลังจากที่พระองค์ ทรงกระทำยุทธหัตถีชนะสมเด็จพระมหาอุปราชา กษัตริย์แห่งพม่า ภายในมี อาคารนิทรรศการสมเด็จพระนเรศวร ซึ่งจัดแสดงประวัติและแผนที่ ที่เกี่ยวกับการรบในครั้งนั้น องค์เจดีย์เป็นศิลปะแบบอยุธยา เป็นเจดีย์ทรงกลม ก่ออิฐฉาบปูน ส่วนยอดหักพังไปตามกาลเวลา จนปัจจุบันมีความสูงราว 3 เมตร เจดีย์องค์นี้ตั้งอยู่ในที่ดอน ล้อมรอบด้วยป่าละเมาะเป็นบริเวณกว้าง มีแม่น้ำทวนไหลผ่านในบริเวณ ปัจจุบันสร้างเป็นรูปวงเวียน มีถนนภายในแบ่งเป็น 8 ด้าน มีพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรขณะกำลังประทับบนหลังช้างศึกอยู่ด้านหน้าองค์เจดีย์ ได้รับการขึ้นทะเบียนรับรองเป็นโบราณสถาน[1] เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539

หลักฐาน 10 ประการที่สรุปว่าเป็นเจดีย์ยุทธหัตถีองค์จริง

  1. ในพื้นที่บริเวณเจดีย์ยุทธหัตถี และ บริเวณใกล้เคียง ชาวบ้านพบ กระดูกช้าง กระดูกม้า กรามช้าง กะโหลกช้าง และกระดูกคน มากมาย ซึ่งแสดงว่า สถานที่แห่งนี้ จะด้องเป็นสถานที่กระทำสงครามครั้งยิ่งใหญ่ หากไม่เป็นเช่นนั้นแล้วคงไม่มีกระดูกมากมายเช่นนี้
  2. ชาวบ้านดอนเจดีย์ พบ เครื่องศาสตรวุธ เครื่องม้า เครื่องช้าง ซึ่งประกอบด้วย หอก ดาบ ยอดฉัตรโกลนม้า ขอสับช้าง โซ่ล่ามช้าง แป้นครุฑจับนาค ปัจจุบันสิ่งของเหล่านี้แสดงไว้ที่ ศูนย์วัฒนธรรมสถาบันราชภัฏกาญจนบุรี
  3. ชาวบ้านดอนเจีย์ส่วนใหญ่ ใช้นามสกุล คชายุทธ มาลาพงษ์ และ ดอนเจดีย์ นามสกุลเหล่านี้มีความหมายเกี่ยวข้องกับองค์เจดีย์แห่งนี้ และการตั้งนามสกุลได้ตั้งในสมัยรัชกาลที่ 6 ซึ่งเป็นช่วงเริ่มในการค้นหาเจดีย์ยุทธหัตถี
  4. ชื่อตำบล ตะพังตรุ หนองสาหร่าย ที่ระบุใน พระราชพงศาวดารเป็นสถานที่ ที่มีอยู่ใน อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งแต่เดิมขึ้นอยู่กับแขวง เมืองสุพรรณบุรี ต่อมาภายหลังได้มีการแบ่งเขตการปกครอง โดย อำเภอพนมทวน มาขึ้นอยู่กับ จังหวัดกาญจนบุรี เมื่อสมัยรัชกาลที่ 3
  5. เส้นทางการเดินทัพของ พม่า-ไทย โดยทัพ พม่า จะข้ามมาทางด่านเจดีย์สามองค์ ผ่านทุ่งลาดหญ้า ผ่านเขาชนไก่ผ่านเมืองกาญจนบุรีเก่า ผ่านปากแพรก ผ่านบ้านทวน ผ่านอู่ทอง สุพรรณบุรี ผ่านป่าโมก เข้า อยุธยา จะเห็นได้ว่า เจดีย์ยุทธหัตองค์นี้ตั้งอยู่ในเส้นทางการเดินทัพ คือ ที่อำเภอ พนมทวน
  6. เจดีย์ยุทธหัตถีองค์นี้ มีลักษณะคล้ายกับเจดีย์วัดช้าง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นที่เชื่อถือได้ว่า เจดีย์องค์นี่น่าจะสร้างในสมัย อยุธยา
  7. ในพงศาวดาร ได้กล่าวไว้ว่าช้างศึกตกมัน ตลบปะปนกันเป็นอลหม่านพลพม่า ก็โทรมยิงธนู หน้าไม้ ปืนไฟระดมเอาพระคชสารสมเด็จพระเจ้าอยุ่หัวทั้งสองพระองค์ และ ธุมาการตลบมืด เป็นหมอกมัวไป แสดงว่าที่ทรงกระทำยุทธหัตถีพื้นที่จะต้องเป็น ดินปนทราย จึงมีฝุ่นคลุ้งไปทั่ว จากพงศาวดารที่กล่าวมาทำให้สอดคล้องกับพื้นที่บริเวณเจดีย์ยุทธหัตถีแห่งนี้ เนื่องจากบริเวณรอบองค์เจดีย์ เป็นที่ดอน และดินปนทราย ซึ่งมีหลักฐานประจักษ์คือ หมู่บ้านที่ติดกับองค์พระเจดีย์ ชื่อว่า หมู่บ้านหลุมทราย แสดงว่าพื้นทีแถบนั้นต้องมีทรายมาก
  8. ที่ดอนเจดีย์แห่งนี้มีต้นข่อย ขนาดใหญ่ ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นต้นข่อยที่สำคัญทางประวัติศาสตร์อยู่ห่างจากเจดีย์ประมาณ 100 เมตร ดังพระราชพงศาวดาร กล่าวไว้ว่าครั้งเหลือบไป ฝ่ายทิศขวาของพระหัตถ์ ก็เห็นช้างเศวตฉัตรหนึ่งยืนอยู่ ณ ฉายาข่อย มีเครื่องสูงและทหารหน้าช้างมากก็เข้าพระทัยถนัดว่า ช้างมหาอุปราชา พระเจ้าอยู่หัวทั้งสอง ก็ขับพระคชสารตรงเข้าไป ทหารหน้าข้าศึกก็วางปืนจ่ารงคมณฑกนกสับตระแบงแก้ว ระดมยิง มิได้ต้องพระองค์และคชสาร สมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้า ตรัสร้องเรียกด้วยพระสุรเสียงอันดังว่า ”พรเจ้าพี่ เราจะยืนอยู่ในร่มเล่า เชิญออกมาทำยุทธหัตถีด้วยกัน ให้เป็น เกียรติยศไว้ในแผ่นดินเถิดภายหน้าไป ไม่มีกษัตริย์ที่จะได้ยุทธหัตถีแล้ว” พระมหาอุปราชา ได้ฟังดังนั้น มีขัตติยราชมานะก็ป้ายพระคชสารออกรบ
  9. เมื่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ฟันพระมหาอุปราชา ขาดคาคอช้างแล้ว ทัพไทยได้ไปทันพอดี จึงไล่ฆ่าฟันทหารพม่าอย่างหนัก จาก ตะพังตรุ ถึง กาญจนบุรี คาดว่า ทหารไทยฆ่าทหารพม่า ประมาณ 20,000 คนจับช้างใหญ่สูง 6 ศอก ได้ 300 เชือก ช้างพลายพัง 500 เชือก ม้าอีก 2,000 เศษจะเห็นได้ว่า จากเจดีย์ยุทธหัตถี บ้านดอนเจดีย์ไปกาญจนบุรี มีระระทางประมาณ 20กิโลเมตรจึงเป็นไปได้ที่ทหารไทยจะไล่ฆ่าฟันทหารพม่าในวันเดียวถึงเมืองกาญจนบุรีซึ่งระยะทางห่างกันไม่มากนัก
  10. ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับ วันวลิต ได้กล่าวไว้ว่า ในการกระทำยุทธหัตถี ระหว่างสมเด็จพระนเรศวรมหาราชกับพระมหาอุปราชาได้ กระทำใกล้กับวัดร้างแห่งหนึ่ง ซึ่งจะตรงกับสภาพพื้นที่เจดีย์ยุทธหัตถี บ้านดอนเจดีย์แห่งนี้ยังมีวัดร้าง อยู่ทางทิศใต้ของเจดีย์ระยะทางประมาณ 1.5 กิโลเมตร ปัจจุบันคือ วัดบ้านน้อย และยังมีเจดีย์ โบสถ์เก่าแก่ให้เห็นตราบเท่าทุกวันนี้จากหลักฐานดังที่ได้กล่าวอ้างมานี้ น่าจะเป็นที่ยืนยันได้ว่า เจดีย์ยุทธหัตถีบ้านดอนเจดีย์ อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี เป็นเจดีย์องค์ที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงสร้างขึ้นหลังจากที่พระองค์ ทรงกระทำยุทธหัตถี ชนะสมเด็จพระมหาอุปราชาเมื่อปี พ.ศ. 2135

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

-

แก้ไขเมื่อ

2019-04-17

ข้อมูลสถิติ
หน่วยอนุรักษ์ฯ
ภาพประจำแหล่งศิลปกรรม
แผนงานและโครงการ
การเสนอแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ รายละเอียด งบประมาณ เอกสาร สถานะ
รายงานผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ งบประมาณ วันที่รายงาน เอกสาร