ชุมชนย่านถนนปากแพรกและพื้นที่ต่อเนื่อง


ละติจูด 14.0220475504 , ลองจิจูด 99.5281251715

พิกัด

ตำบลบ้านเหนือ อำเภออำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี รหัสไปรษณีย์ 71000

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

ย่านชุมชนเก่า

ความสำคัญ/ลักษณะ

ชุมชนถนนปากแพรก  ตั้งอยู่ริมกำแพงเมืองกาญจนบุรี ใกล้พระบรมราชานุสาวรีย์ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จากตัวเมืองกาญจนบุรี ตามถนนแสงชูโต เมื่อถึงสี่แยกสถานีตำรวจภูธรกาญจนบุรี ให้เลี้ยวซ้ายไปตามถนนหลักเมือง ผ่านประตูเมืองก็จะเจอถนนปากแพรก 

ชุมชนถนนปากแพรกหรือชุมชนบ้านเหนือ เป็นชุมชนเมืองที่เก่าแก่ที่สุดของกาญจนบุรี  ตั้งอยู่ริมกำแพงเมืองกาญจนบุรี ใกล้พระบรมราชานุสาวรีย์ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นชุมชนเก่าแก่กว่า 180 ปี เริ่มก่อตั้งขึ้นในยุคสร้างเมืองกาญจนบุรีใหม่ ในสมัยสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) เมื่อราวปี พ.ศ.2374 โดยมีชาวจีนและญวนได้มาตั้งรกราก เพื่อทำการค้าในครั้งนั้นชุมชนปากแพรกนี้ มีเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ครั้งสมัย สงครามโลกครั้งที่ 2 อีกทั้งยังเป็นสถานที่ๆเป็นภูมิหลังของบุคคลสำคัญ และเป็นถนนคอนกรีต สายแรกของเมืองกาญจนบุรีอีกด้วย อาคารบ้านเรือน ที่พักอาศัยก่อสร้างด้วยภูมิปัญญาของคนรุ่นก่อน โดยยังคงสภาพเดิมไว้ค่อนข้างมาก มีสถาปัตยกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ในรูปแบบตะวันออกผสม ตะวันตก ที่สร้างขึ้นในยุครัชกาลที่ 4 เป็นต้นมา

อิทธิพลด้านสถาปัตยกรรมของบ้านเรือน อาคารในชุมชนปากแพรกมีลักษณะเป็นสถาปัตยกรรมตะวันตกผสมจีน บ้านเดี่ยวบนถนนปากแพรกมักเป็น บ้านคหบดี โดยใช้ทั้งพักอาศัยและทำการค้าด้วยส่วนห้องแถวใช้เป็นร้านค้าบ้านเดี่ยวมักก่ออิฐถือปูน แปลนมักเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าเสมอกันทั้งชั้นล่าง ชั้นบนมักมีมุขด้านหน้า หลังคารูปหน้าจั่ว ทรงปั้นหยา ชายคายื่นออกมาเล็กน้อยประมาณ 1 เมตรบางหลังตกแต่งหน้าจั่วด้วยลวดลายปูนปั้นประตูมีทั้ง บานลูกฟักบานฟี้ยมแบบเรียบหน้าต่างสูงคล้ายประตู มีช่องลม บางแห่งฉลุลวดลาย หรือใช้บานเกล็ดไม้และกระจกสีห้องแถว อาจเป็นสองชั้นหรือ ชั้นเดียว ทำด้วยปูนซิเมนต์ โครงไม้รวก (ไผ่รวก) มีลักษณะทึบปูนซิเมนต์ที่ใช้ในสมัยนั้นสั่งมาจากต่างประเทศ (ปูนปอร์ตแลนด์)ช่างโดยส่วน ใหญ่เป็น ช่างชาวจีน หรือไม่ก็สร้างเองโดยใช้ลูกมือเป็นคนงานพื้นบ้าน สีส่วนใหญ่จะซื้อ บางแห่งทำสีเองคือนำดินจากทุ่งนาคราชมากรองแล้ว ผสมกับ น้ำข้าวเหนียวใช้ทา คงทนมาจนถึงปัจจุบัน อาคารบ้านเรือนมีอายุ 70 ปีเป็นอย่างน้อยและวัดใต้มีอายุประมาณ 200 ปี พอๆกับกรุงรัตนโกสินทร์

โครงการถนนคนเดิน 177 ปีปากแพรก ถนนเก่าเล่าเรื่องเมืองกาญจน์" จึงถือกำเนิดขึ้นมาด้วยแรงผลักดัน และขับเคลื่อนจากความภาคภูมิใจของคน ท้องถิ่นที่มีต่อถนนเก่าแก่สายนี้ ซึ่งมีบรรยากาศที่แตกต่างจากถนนสายอื่นๆของกาญจนบุรีอย่างสิ้นเชิง ความแตกต่างและลักษณะเฉพาะตัวนี้มีสาเหตุ มาจากปัจจัยหลายประการได้แก่สถาปัตยกรรมของอาคารบ้านเรือนที่เป็นเอกลักษณ์ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นที่เชื่อมโยงกับการก่อตั้งเมืองกาญจนบุรี ต้น กรุงรัตนโกสินทร์ ประวัติศาสตร์สากลที่ผูกพันใกล้ชิดกับสงครามโลกครั้งที่ 2 การกำเนิดของย่านการค้าเก่าแก่ที่เกี่ยวเนื่องกับแม่น้ำสายหลักของ เมืองกาญจนบุรี รวมทั้งภูมิหลังของบุคคลสำคัญๆ ระดับประเทศหลายต่อหลายคนทั้งหมดทั้งมวลเหล่านี้ได้กลายเป็นสายใยที่เหนียวแน่น ซึ่งได้เชื่อม โยงและร้อยรัดชุมชนแห่งนี้ไว้ด้วยกันเป็นเวลากว่า 177 ปี ที่ซึ่งเสน่ห์อันเก่าแก่อดีตในปัจจุบันที่มีมนต์ขลัง ความรุ่งเรืองของคืนวันเก่าๆ ยังคงปรากฏ ให้เห็นอย่างแจ่มชัดบนสองฟากฝั่งถนนในปัจจุบัน

อาคารบ้านเรือนที่น่าสนใจ
บ้านสิทธิสังข์
เป็นอาคาร 2 ชั้น 3 คูหา รูปแบบตะวันตกที่เรียกว่า ชิโน-โปตุกีส สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2463 อายุกว่า 91 ปี ในสมัยรัชกาลที่ 5 ชั้นบนเป็นระเบียงมีซุ้มโค้ง เหนือระเบียงทั้ง 3 คูหา หัวเสาประดับปูนปั้น ชั้นล่างมีประตูบานเฟี้ยม ส่วนบนเป็นช่องลม ฉลุลายเครือเถาว์ เหนือช่องลมประดับด้วยปูนปั้นลายก้านขด สีบ้านนั้นผลิตขึ้นเองด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยการนำดินจากทุ่งนาคราชมากรองแล้วผสมกับน้ำข้าวเหนียวจนเป็นสีที่ทา ปัจจุบันได้รับการตกแต่งเป็น ร้านกาแฟร่วมสมัยที่มีมนต์เสน่ห์ของชุมชนปากแพรกบริเวณด้านหน้า บ้านสิทธิสังข์ประตูแบบบานเฟี้ยม ช่องลมฉลุลายเครือเถาว์ ส่วนบนประดับ ด้วยปูนปั้นลายก้านขด

โรงแรมกาญจนบุรี 
โรงแรมเก่าแก่อีกแห่งที่สร้างขึ้นก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2  มีทั้งหมด 14 ห้อง โดยสร้างจากอาคารที่เห็นในประเทศจีน ซึ่งเป็นประเทศบ้านเกิดของ เจ้าของโรงแรม ลักษณะที่โดดเด่นสะดุดตาที่สุด คือ การประดับกระจกสีบนกรอบหน้าต่าง โดยเฉพาะหน้าต่างกระจกสีบนชั้น 3 ของอาคารที่ขนาบข้าง ด้วยระเบียง 2 ฝั่ง ค่าเช้าห้องในสมัยนั้น คิดคืนละ 2-4 บาท  ลูกค้าส่วนมาdจะเป็นพ่อค้าไม้จาอำเภอทองผาภูมิและสังขละบุรี ข้าราชการที่มาประชุม รวมถึงชนกลุ่มน้อยที่อยู่ตามชายแดน

บ้านบุญผ่อง แอนด์ บราเดอร์
เป็นตึกแถว 3 ชั้น 3 คูหา แห่งเดียวของชุมชนปากแพรกยุคนั้น เจ้าของเดิมคือ ขุนสิริเวชภัณฑ์ บิดา นายบุญผ่อง สิริเวชภัณฑ์ สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2460 อายุกว่า 94 ปี ลักษณะอาคารชั้นบนมีระเบียง ทั้ง 2 ชั้นกันสาดประดับด้วยกรจกสี ประตูหน้าต่างแบบลูกฟัก มีช่องแสงเป็นกระจกสี ส่วนบนสุดเป็นชั้น ดาดฟ้า บ้านบุญผ่อง แอนด์ บราเดอร์ นี้ มีความเกี่ยวข้องทางประวัติศาสตร์สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 คือ เป็นร้านค้าที่จำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค ให้กับทหารญี่ปุ่น โดยมีนายบุญผ่อง สิริเวชภัณฑ์ เป็นเจ้าของร้าน ซึ่งเป็นหนึ่งในเสรีไทยที่ได้แอบช่วยฝ่ายพันธมิตรและเชลยศึก จนไปสู่การทิ้งระเบิด บริเวณสะพานข้ามแม่น้ำแควเพื่อยับยั้งทหารญี่ปุ่นภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้ยุติลง รัฐบาลออสเตรเลีย และอังกฤษได้มอบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และประดับยศเป็นพันโทในกองทัพอังกฤษ โดยได้ถูกยกย่องให้เป็นวีรบุรุษสงครามของทางรถไฟสายมรณะ
โรงแรมสุมิตราคาร
โรงแรมแห่งแรกของเมืองกาญจนบุรี เป็นตึกแถว 2 ชั้น ครึ่งตึกครึ่งไม้ 5 คูหา เจ้าของเดิมคือ หลวงไกรสร สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2480 อายุกว่า 74 ปี เดิมเป็นห้องแถวให้เช่า ภายหลังดัดแปลงกั้นห้องชั้นบนทำเป็นโรงแรม โดยมีชั้นล่างเป็นร้านอาหาร เป็นสถานที่แวะพักของพ่อค้าไม้จากอำเภอ ทองผาภูมิและสังขละบุรี ต่อมาในยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้มีทหารญี่ปุ่นมาเช่านอนปัจจุบันชั้นล่างเปิดเป็นร้านขายอาหารและอุปกรณ์สัตว์เลี้ยง

 

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

-

แก้ไขเมื่อ

2021-08-16

ข้อมูลสถิติ
หน่วยอนุรักษ์ฯ
ภาพประจำแหล่งศิลปกรรม
แผนงานและโครงการ
การเสนอแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ รายละเอียด งบประมาณ เอกสาร สถานะ
รายงานผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ งบประมาณ วันที่รายงาน เอกสาร