วัดวันยาวบน


ละติจูด 12.4523243328 , ลองจิจูด 102.224280972

พิกัด

ตั้งอยู่เลขที่ ๓๕ ถนนเทศบาล ๑ ตำบลขลุง อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี ตำบลขลุง อำเภออำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี รหัสไปรษณีย์ 22110

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

วัด วัดร้าง ศาสนสถาน

ความสำคัญ/ลักษณะ

เป็นวัดที่สร้างเมื่อ พ.ศ. 2100 นับว่าเป็นวัดที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในจันทบุรีอยู่ในเขตเทศบาลต.ขลุงมีเจดีย์ทรงลังกายกลานประทักษิณสูง มีบันไดขึ้นทางด้านทิศตะวันตก

ความสำคัญ/ลักษณะ   

          วัดวันยาวบน ตั้งอยู่เลขที่ ๓๕ ถนนเทศบาล ๑ ตำบลขลุง อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี สังกัดคณะสงฆ์ มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๒๒ ไร่ ๓ งาน ๕๒ ตารางวา อณาเขต ทิศเหนือ จดที่นายเลิ่งวิ้น ทิศใต้ จดลำน้ำสาธารณะ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตกจดทางสาธาระ มีธรณีสงฆ์ จำนวน ๔ แปลง เนื้อที่ ๑๗.๕ ไร่ อาคารเสนาสนะประกอบด้วยอุโบสถ กว้าง ๑๐ เมตร ยาว ๒๐ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๐ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กศาลาการเปรียญ กว้าง ๒๔ เมตร ยาว ๔๒ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๙ เป็นอาคารคอนกรีตเหล็ก ๒ ชั้น กุฏิสงฆ์ จำนวน ๖ หลัง เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ ๒ หลัง และตึก ๔ หลัง ศาลาอเนกประสงค์ กว้าง ๒๔ เมตร ยาว ๔๒ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๙ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ๒ ชั้น ศาลบำเพ็ญกุศล จำนวน ๒ หลัง สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก

ปูชณียวัตถุ

  • มีพระเจดีย์ ๑ องค์ กว้างประมาณ ๔ เมตร สูง ๘ เมตร อายุประมาณ ๑๐๐ ปีเศษ
  • รอยพระพุทธบาทจำลอง
  • พระพุทธรูป ๑ องค์ ขนาดหน้าตักกว้าง ๑ เมตร อายุประมาณ ๒๐๐ ปี

 

วัดวันยาวบน ตั้งเมื่อ พ.ศ ๒๑๐๐ เดิมชื่อวัดมรรคาราม ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ.๒๕๐๑ การบริหารและการปกครอง มีเจ้าอาวาส เท่าที่ทราบนาม คือรูปที่ ๑ พระอธการเดื่อ รูปที่ ๒               พระอธิการเอื๋อง รูปที่ ๓ พระอธิการเบี้ยว รูปที่ ๔ พระครูบุรณสถานสังฆกิจ ถึง พ.ศ. ๒๔๙๓ รูปที่ ๕ พระอธิการธรรมเนียม วิสิโย พ.ศ. ๒๔๙๓-๒๔๙๔ รูปที่ ๖ พระครูจันทรบุราจารย์ พ.ศ. ๒๔๙๕-๒๕๑๘ รูปที่ ๗ พระครูบุราทร พ.ศ. ๒๕๑๘-ปัจจุบัน

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

ปัจจุบัน มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงไม่คงเหลือสภาพเดิมให้ศึกษาค้าคว้าด้านสถาปัตยกรรมโบราณสถานของวัดหลงเหลืออยู่เลย ทั้งด้าน อุโบสถหลังเก่า ศาลา กุฏิพระ เป็นต้น สาเหตุอาจเกิดจากสภาพที่ตั้งของวัดตั้งอยู่บริเวณใจกลางเมืองที่มีความเจริญทางวัตถุและการกระจายตัวของประชากรย่านตลาดเก่าเมืองขลุง  ส่วนหนึ่งเกิดจากชาวบ้านสมัยนั้นยังไม่เห็นคุณค่าแหล่งศิลปกรรมจึงเป็นปัจจัยที่สำคัญในการเกิดการรื้อถอนเพื่อพัฒนาวัดวันยาวบนให้มีความเจริญด้านสิ่งก่อสร้างทดแทนหลังเก่า

แก้ไขเมื่อ

2021-10-11

ข้อมูลสถิติ
หน่วยอนุรักษ์ฯ
ภาพประจำแหล่งศิลปกรรม
แผนงานและโครงการ
การเสนอแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ รายละเอียด งบประมาณ เอกสาร สถานะ
รายงานผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ งบประมาณ วันที่รายงาน เอกสาร