เจดีย์ (ร้าง) วัดฟ่อนสร้อย


ละติจูด 18.782222 , ลองจิจูด 98.988469

พิกัด

ตำบลพระสิงห์ อำเภออำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ รหัสไปรษณีย์ 50200

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

แหล่งโบราณคดีทั้งที่ขุดค้นแล้ว และยังไม่ได้ขุดค้น โบราณวัตถุ

ความสำคัญ/ลักษณะ

เจดีย์ (ร้าง) วัดฟ่อนสร้อย ตั้งอยู่ภายในเมืองเชียงใหม่บริเวณหลังตลาดประตูเชียงใหม่ติดถนนพระปกเกล้าซอย 2 หรือห่างจากวัดฟ่อนสร้อยปัจจุบันไปทางทิศใต้ ประมาณ 10 เมตร ปัจจุบันเป็นเจดีย์ร้างไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยใด แต่สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นวัดเก่าที่มีความสำคัญมาก่อนพุทธศตวรรษที่ 21   ชื่อของวัดฟ่อนสร้อยปรากฏในเอกสารโบราณหลายฉบับทั้งในโครงนิราศหริภุญชัย ตำนานพระธาตุจอมทอง ตำนานวัดบุบฝารามสวนดอกไม้ ตำนานพระธาตุดอนศรีคำ (ห้วยอ้อ) อำเภอลอง จังหวัดแพร่ เป็นต้น ในโครงนิราศหริภุญไชย (แต่งเมื่อประมาณ พ.ศ.2060) กล่าวว่าเป็นวัดที่สวยงามและประดิษฐานพระพุทธรูปองค์หนึ่ง ต่อมาชื่อวัดฟ่อนสร้อยปรากฏในตำนานวัดต่างๆในช่วง พ.ศ. 2105-2144ว่าเป็นวัดที่มีพระเถระผู้ใหญ่จำพรรษาอยู่โดยเป็นวัดที่ขึ้นอยู่กับวัดพันเตา  จากหลักฐานดังกล่าวจึงสันนิษฐานว่าวัดฟ่อนสร้อยมีมาก่อนพุทธศตวรรษที่ 21 และน่าจะถูกทิ้งร้างไปในช่วงสงครามขับไล่พม่าตอนต้นสมัยรัตนโกสินทร์ ต่อมาได้มีการสร้างวัดฟ่อนสร้อยขึ้นมาใหม่โดยสร้างห่างจากวัดฟ่อนสร้อยเดิม ไปทางทิศเหนือ ประมาณ 10 เมตรหลักฐานทางด้านโบราณสถานและโบราณวัตถุที่เกี่ยวกับวัดฟ่อนสร้อยเดิม (บริเวณเจดีย์ร้างวัดฟ่อนสร้อย) ปัจจุบันเหลือเพียงตัวเจดีย์ กรมศิลปากรได้มีโครงการขุดแต่งเจดีย์ (ร้าง) วัดฟ่อนสร้อยใน พ.ศ.2542 และมีการเสริมสร้างความมั่นคงของเจดีย์ ในปี พ.ศ.2545 และ 2546 พบหลักฐานทางโบราณคดีที่น่าสนใจ ดังนี้ (ธนธร เหลี่ยมวานิช 2546 : 1-14)  เจดีย์ เป็นเจดีย์ทรงล้านนา สร้างด้วยอิฐ ส่วนฐานมีขนาดกว้าง 8 x 8 เมตร ตัวเจดีย์สูงประมาณ 8.7 เมตร ลักษณะทางสถาปัตยกรรมฐานเป็นฐานบัวประดับลูกแก้วอกไก่ 2 ชั้นรองรับเรือนธาตุสูงประดับซุ้มพระ 4 ด้าน เหนือขึ้นไปเป็นชั้นมาลัยเถา มีองค์ระฆังขนาดเล็กตั้งอยู่ด้านบน ส่วนยอดพังทลาย จากการขุดค้นทางโบราณคดีทางบริเวณมุมฐานเจดีย์ทางด้านทิศใต้พบว่ามีการปรับพื้นการใช้งานมาแล้ว 2 สมัยโดยระดับแรกลึกลงไปประมาณ 80 เซนติเมตรจากระดับผิวดินและสมัยที่สองในระดับ 50 เซนติเมตรจากระดับผิวดิน ฐานอาคาร พบจากการขุดแต่งฐานเจดีย์ทางด้านทิศตะวันออกห่างจากตัวเจดีย์ประมาณ 1.20 เมตร มีลักษณะเป็นชุดฐานบัวคว่ำสันนิษฐานว่าเป็นวิหารของวัดฟอนสร้อยเดิม ปัจจุบันไม่เห็นร่องรอยของตัววิหารเนื่องจากมีตึกแถวสร้างคร่อมทับด้านบนโบราณวัตถุ จากการขุดแต่งพบโบราณวัตถุหลายอย่าง เช่น พระพุทธรูปสำริด พระพิมพ์ดินเผา ชิ้นส่วนพระพุทธรูปหินทราย เศียรพระพุทธรูปปูนปั้น เม็ดพระศก  เศษลายปูนปั้นประดับองค์เจดีย์และเศษแผ่นทองจังโก

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

-

แก้ไขเมื่อ

2019-04-30

ข้อมูลสถิติ
หน่วยอนุรักษ์ฯ
ภาพประจำแหล่งศิลปกรรม
- ไม่มีรูปภาพ -
แผนงานและโครงการ
การเสนอแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ รายละเอียด งบประมาณ เอกสาร สถานะ
รายงานผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
ปี แผนงาน ชื่อโครงการ งบประมาณ วันที่รายงาน เอกสาร